Feb.20, 2013
Continued…
Ulcer disease
โรคแผลในทางเดินของกระเพาะลำไส้...
จัดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั้งในคนที่เป็นเบาหวาน และคนไม่เป็น... โดยพบได้ประมาณ 10 %
ผลจากการละคายเคืองจากกรดของท่ออาหาร และการะเพาะอาหาร
จะทำให้เกิดอาการแสบหน้าอก (heart burn), อาหารไม่ย่อย (indigestion)
Helicobacter pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียที่รับผิดชอบต่อการทำให้เกิดมีแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcers) และลำไส้ส่วนต้น (duodenal ulcers)
ซึ่งสามารถพบเห็นในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้
โดยไม่มีความแตกต่างจากคนทั่วไปในด้านอุบัติการณ์
โดยไม่มีความแตกต่างจากคนทั่วไปในด้านอุบัติการณ์
โรคเบาหวานไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินของกระเพาะ
และลำไส้เลย และการรักษาคนเป็นโรคดังกล่าวจึงเหมือนกัน
ไม่พบความแตกต่างระหว่างคนที่เป็น และไม่เป็นเบาหวาน
ในการรักษาโรคแผลในทางเดินของกระเพาะลำไส้...
จะมุ่งไปที่ทำการยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะด้วยยาต้านการหลั่งสารดัง
กล่าว (antisecretory medications) ซึ่งอาจเป็น H2 receptor antagonists
หรือ proton pump inhibitors
ถ้าตรวจพบว่า มีเชื้อ H. pylori อยู่ในกระเพาะด้วย...
การรักษาย่อมประกอบด้วยการใช้ “ปฏิชีวนะ” ร่วมกับยาต้านการสร้างกรด
การรักษาย่อมประกอบด้วยการใช้ “ปฏิชีวนะ” ร่วมกับยาต้านการสร้างกรด
ในกระเพาะอาหาร (antibiotics plus antisecretory medications)
โดยมียาปฏิชีวินะให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น amoxicillin/
Claritromycin, metronidazole (Flagyl)/clarithromycin),
Metronidazole/tetracycline, หรือ metronidazole/amoxicillin.
ในคนไข้ที่มาด้วยภาวะกรดไหลย้อน (gastro-esophageal reflux)…
การกำจัด (eradication) H. pylori อาจทำให้อาการเลวลงได้
เพราะการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารจะเพิ่มขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียถูกกำจัดไป
มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่มีอาการกรดไหลย้อน (reflux)…
สามารถควบคุมอาการด้วยยาในกลุ่ม proton pump inhibitors ได้มากว่า 80 %
ซึ่งได้ผลดีกว่าการใช้ H2 receptor antagonist (ได้ผลประมาณ 50 %)
Candida infections
ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน...
อาจมีโรคติดเชื้อรา (yeast infection) เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารได้
ตัวอย่างที่พบเห็น คือ โรคติดเชื้อราของช่องปาก ซึ่งเราจะพบรอยโรคเป็น
แผ่นสีขาว (white coating) ที่บริเวณลิ้น และลำคอ ทำให้คนไข้ที่ติดโรคดังกล่าว
มีอาการปวดแสบปวดร้อนในบริเวณดังกล่าว
มีอาการปวดแสบปวดร้อนในบริเวณดังกล่าว
หากไม่ได้รับการรักษา โรคอาจแพร่ไปยังท่ออาหาร (candida esophagitis)
ซึ่งอาจทำให้เกิดมีเลือดตกภายใน (internal bleeding),
มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณยอดอก (heartburn)
และทำให้มีอาการกลืนลำบากได้
มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณยอดอก (heartburn)
และทำให้มีอาการกลืนลำบากได้
ในการวินิจฉัยโรคติดเชื้อรา ไม่ใช้เรื่องยาก....
แค่การตรวจร่างกาย ก็สามารถบอกได้แล้ว
แต่ในกรณีของการโรคเชื้อราในท่ออาหาร ( candida esophaditis)
ซึ่งเป็นการอักเสบที่อยู่ลึกลงไปในท่ออาหาร จำเป็นต้องใช้กล้อง endoscope
ส่องตรวจจึงจะพบร่องรอยของโรคได้
ซึ่งเป็นการอักเสบที่อยู่ลึกลงไปในท่ออาหาร จำเป็นต้องใช้กล้อง endoscope
ส่องตรวจจึงจะพบร่องรอยของโรคได้
ในการรักษาก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด...
เราสามารถรักษาได้ผลดีด้วยการกำจัดเชื้อราให้สิ้นซาก ด้วยการใช้ยาต่อต้านเชื้อรา
ซึ่งมีให้เลือก เช่น nystatin (Mycostatin), ketocanazole (Nizoral),
หรือ flucanazole (Diflucan)
ซึ่งมีให้เลือก เช่น nystatin (Mycostatin), ketocanazole (Nizoral),
หรือ flucanazole (Diflucan)
The Small Intestine in Diabetes
ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานบางรายที่เป็นมานาน...
เส้นประสาทของลำไส้เล็ก ชื่อ enteric nerves อาจถูกทำลายลง
เป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไว (motility), การสร้าง
น้ำย่อย (secretion), หรือการดูดซับสารอาหาร (absorption) เป็นเหตุให้เกิด
อาการต่าง ๆ ได้ เช่น มีอาการปวดท้องรอบๆ สะดือ, เรอ (bloating),
และท้องร่วง (diarrhea)
และท้องร่วง (diarrhea)
อาหารที่ตกค้างในลำไส้เล็ก สารอาหารไม่มีการเคลื่อนที่ รวมถึงการมีน้ำกักขังในลำไส้เล็ก
อาจนำไปสู่การแพร่ขยายตัวของเชื้อแบคทีเรีย (bacterial overgrowth syndrome)
เป็นเหตุให้เกิดท้องร่วง และมีอาการปวดท้องได้
อาจนำไปสู่การแพร่ขยายตัวของเชื้อแบคทีเรีย (bacterial overgrowth syndrome)
เป็นเหตุให้เกิดท้องร่วง และมีอาการปวดท้องได้
ในการรักษาภาวะดังกล่าว กระทำได้ด้วยการใช้ยา Metclopromamide
และ Cisapride อาจช่วยทำให้น้ำในลำไส้เคลื่อนผ่านลำไส้เล็กไปได้
ส่วนยาปฏิชีวนะจะช่วยลดระดับของเชื้อแบคทีเรียลง
(การใช้ยาทั้งสอง...ต้องระวัง !)
ในการวินิจฉัยความผิดปกติในลำไสเล็ก รู้สึกว่าจะยากหน่อย
ซึ่งอาจใส่สายเข้าไปในลำไส้เล็ก เพื่อทำการตรวจจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย
(quantitative small-bowel bacterial cultures) และมีวิธีการอื่นๆ
อีกหลายอย่าง เช่น Breath hydrogen testing และ [14C]-D-xylose test
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุงยาก ไม่เหมาะกับการปฏิบัติเท่าใดนัก แต่ก็มีประโยชน์ในแง่
ของการวินิจฉัย และการรักษา
ในการรักษาภาวะดังกล่าว....
มียา antibiotics หลายตัวถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้แก่ tetracycline, ciprofloxin, amoxicillin
ซึ่งปรากฏว่า การให้ยาในระยะสั้น อาจให้อาการดีขึ้นได้เป็นเวลานานได้ แต่
การให้ยาเพิ่มอีกครั้งอาจจำเป็นเมื่อคนไข้มีอาการเกิดขึ้นอีก
บางครั้งเส้นประสาทของลำไส้เกิดการอักเสบ (enteric neuropathy)
อาจทำให้คนไข้เกิดอาหารปวดท้องเรื้อรัง (chronic abdominal pain…)
เหมือนอาการปวดประสาทใน peripheral neuropathy ของฝ่าเท้า
อาการปวดท้องจาก enteric neuropathy มักจะยากต่อการรักษา
แต่มีบางรายตอบสนองต่อยาแก้ปวด(pain medication) และ ยารักษาต้าน
อาการซึมเศร้า (antidepressants) เช่น Amitriptylline
นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว...
ยังพบอีกว่า คนเป็นเบาหวานมักจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด celiac sprue
ในกรณีดังกล่าว คนไข้จะแพ้ (allergy) พวก wheat gluten
(เป็นส่วนผสมที่ใส่เพื่อเสริมให้ขนมปังขึ้นฟู.....)
ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในลำไส้
เป้นเหตุทำให้เกิดผนังของลำไส้บางลง
ซึ่งจะนำไปสู่การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในลำไส้
เป้นเหตุทำให้เกิดผนังของลำไส้บางลง
ทำไมคนเป็นโรคเบาหวานจึงเกิดโรค celiac sprue ไม่มีใครทราบได้
แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว (sprue) อาจนำไปสู่การเกิดภาวะท้องร่วง, น้ำหนักลด
และการดูดซับเอาสารอาหารของลำไส้เสียไปได้
The Colon in Diabetes
ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และลำไส้ใหญ่ยังมีน้อยมาก
แต่เราทราบว่า โรค enteric neuropathy ซึ่งเกิดในโรคเบาหวาน
สามารถกระทบกับเส้นประสาทของลำไส้ใหญ่ (colon) ได้เช่นกัน
เป็นเหตุให้การเคลื่อนตัวของลำไสใหญ่ลดลง
และทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
ในการวินิจฉัยโรค enteric neuropathy ของลำไส้ใหญ่ จำเป็นต้อง
แยกโรคอย่างอื่นออกไป เช่น tumor, diverticulitis
ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการตรวจ barium enema หรือตรวจด้วย
กล้อง (colonoscope)
วิธีการรักษากระทำได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่สมบูรณ์ด้วย
ใยอาหาร รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช ดื่มน้ำให้มากวันละ
ไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว การรับประทานยาละบายอ่อน ๆ (mild laxatives)
อาจช่วยได้ นอกเหนือจากนั้น การใช้ยาในกลุ่ม prokinetic
เช่น cisapride จะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว (colonic movement) ได้ดีขึ้น
เช่น cisapride จะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว (colonic movement) ได้ดีขึ้น
Diabetic Diarrhea
ในคนเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานาน อาจมีปัญหาเรื่องท้องร่วงเกิดขึ้นได้บ่อย
โดยมีรายงานว่า พบได้ประมาณ 22 % ของคนเป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งอาจสัมพันธ์กับโรคของลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่
นอกจากการความผิดปกติในการเคลื่อนตัวของน้ำในลำไส้ใหญ่แล้ว
ยังพบว่า มีความผิดปกติในด้านการดูดซึม และมีการขับน้ำออกจากลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น
ยังพบว่า มีความผิดปกติในด้านการดูดซึม และมีการขับน้ำออกจากลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้มีปริมาณของอุจจาระเพิ่มขึ้น ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ บ่อยขึ้น
ทำไมคนเป็นโรคเบาหวาน มีปัญหาเรื่องท้องร่วงเป็นประจำไม่มีใคร
สามารถอธิบายได้ชัดแจ้ง เพียงแต่กล่าวว่า อาจเป็นผลเนื่องมาจาก
เส้นประสารทอัตโนมัติถูกทำลาย (autonomic neuropathy)
ในการตรวจวินิจฉัย และการรักษาร้องท้องร่วง ไม่ว่าจะเป็นเบา
หวาน หรือไม่เป็นโรคเบาหวานต่างกระทำเหมือนกัน
การรักษาส่วนใหญ่จะมุงตรงไปทำการรักษาอาการ
ด้วยการใช้ยาต้านอาการท้องร่วง (anti-diarrheal agents)
เช่น diphenoxylate (Lomotil) หรือ loperamide (Immodium)
ด้วยการใช้ยาต้านอาการท้องร่วง (anti-diarrheal agents)
เช่น diphenoxylate (Lomotil) หรือ loperamide (Immodium)
การให้อาหารที่สมบูรณ์ด้วยใยอาหาร สามารถเพิ่มปริมาณของอุจจาระ
เป็นการลดการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำได้
นอกเหนือจากนั้น ยาลดอาการหดเกร็ง (antispasmodic medicines)
เช่น hyosmine (Levin), dicyclomine (Bentyle)
และ chordiazepoxide ( Librax) อาจลดอาการถ่ายบ่อยได้
ในบางครั้ง การให้ยาปฏิชีวนะ (จากประสบการณ์) และเอ็นไซม์ของตับอ่อน
ได้รับการยอมรับว่าใช้ได้ผลดี เพราะในคนคนไข้ดังกล่าว
ได้รับการยอมรับว่าใช้ได้ผลดี เพราะในคนคนไข้ดังกล่าว
มักจะมีปัญหาเรื่อง bacterial overgrowth และ pancreatic exocrine insufficiency
เกิดร่วมกันด้วยเสมอ
สุดท้าย ในรายที่เป็นมาก หรือรุนแรง...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น