วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Neuropathy : Diagnosis 4

continued...
การวินิจฉัยโรค (Diagnosis of Neuropathy)
เมื่อเกิดมีความสงสัยว่า...
คนไข้อาจเป็นโรคเส้นประสาทเกิดอักเสบ-ถูกทำลาย (neuropathy) หรือไม่
แพทย์ผู้รับผิดชอบในการรักษาจะทำหน้าที่หาข้อมูล  ที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทถูกทำลาย 
ซึ่งก็หนีไม่พ้นจากการซักประวัติการเกิดโรค  และการตรวจร่างกาย 
และจากข้อมูลที่ได้  ทำให้แพทย์สามารถระบุได้ว่า  อะไรคือสาเหตุ 
ตลอดรวมถึงความรุนแรงของเส้นประสาทที่ถูกทำลายไป

ในการตรวจทางระบบประสาท...
ประกอบด้วย  การตรวจสอบการตอบสนองของเส้นประสาทที่มีต่อการกระตุ้น
และการทำงานของเส้นประสาท  เช่น ความรู้สึก และการเคลื่อนไหว
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการตรวจสอบหาความจริง

สำหรับการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์  
แม้ว่าจะไม่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการวินิจฉัยภาวะเส้นประสาทถูกทำลายก็ตาม
แต่การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์  จะมีประโยชน์ในด้านการแยกโรคอื่น ๆ
ที่ซ่อนเร้นในตัวคนไข้  โดยที่ "เจ้าตัว"  ไม่รู้มาก่อน
เช่น โรคเบาหวาน, ขาดไวตามิน
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดเส้นประสาทถูกทำลายได้

การตรวจด้วยภาพเอกซเรย์ (X-rays), CT scans, และ MRI scans
อาจถูกนำมาใช้ในการตรวจหาตำแหน่งการกดทับเส้นประสาท
หรือเส้นประสาทถูกทำลายได้

การตรวจเฉพาะสำหรับการทำงานของเส้นประสาท
ได้แก่:

Electomography (EMG):
เป็นการตรวจการทำงานของเส้นประสาท...
โดยการใช้เข็มเล็ก ๆ แทงผ่านผิวหนังเข้าสู่กล้ามเนื้อ  ซึ่งเป็นขั้วไฟฟ้า 
ใช้การตรวจดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อมัดที่ตรวจ
Nerve conduction velocity test (NCV):
เป็นการตรวจดูคลื่นสัญญาณประสาทว่า คลื่น...วิ่งผ่านเส้นประสาทรวดเร็วแค่ใด
เป็นการตรวจด้วย EMG ....   กระทำได้ด้วยการวางแผ่น (pathes) ซึ่งมีขั้วไฟฟ้า
ให้สัมผัสผิวหนังตรงบริเวณเส้นประสาทที่ต้องการตรวจ 
โดยจำมีการปล่อยคลื่นกระแสไฟฟ้าออกมาด้วยขนาดน้อย  เพื่อกระตุ้นเส้นประสาท 
และคลื่นประสาท (กระแสไฟฟ้า) ที่วัดระหว่างขั้วถูกนำมาคำนวณหาค่าต่อไป...

Nerve biopsy:

ในคนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องตัดเอาชิ้นเนื้อของเส้นประสาทไปตรวจ
ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่เกิดขึ้น
เส้นประสาทที่ถูกตัดเอาเนื้อเยื่อไปทำการตรวจบ่อยที่สุด  คือ เส้นประสาท sural nerve
และ superficial radial nerve

 << BACK       NECK  >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น