Feb.20, 2013
Continued…
The Pancreas in Diabetes
ตับอ่อนของคนเรามีสองส่วน...
ส่วนหนึ่ง (endocrime part) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (glucagon &insulin)
ทำหน้าที่ควบคุมอาหารที่เป็นแป้ง (carbohydrate etabolism)
ส่วนที่สอง (exocrime part)
มีหน้าที่ในการสร้างน้ำย่อยอาหาร
มีหน้าที่ในการสร้างน้ำย่อยอาหาร
ในคนที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1D) จะมีความผิดปกติในตับส่วนที่ทำหน้าที
ในผลิตน้ำย่อยอาหารได้ถึง 80 % แต่โอกาสทำให้เกิดอาการทางคลินิก ได้น้อยมาก
ทั้งนี้เป็นเพราะตับอ่อนมีพลังสำรอง (reserve) สูงมาก
และการมีเอ็นไซม์ของตับอ่อนลดลงเพียงเล็กน้อยจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการดูด
ซับเอาอาหารประเภท คาร์โบฮัยเดรต, ไขมัน หรือโปรตีนเลย
สำหรับคนเป็นเบาหวานประเภทสอง (T2D)
จะเกิดปัญหากับตับอ่อนส่วนที่ทำหน้าที่ในการสร้างน้ำย่อย
ได้น้อยมาก ส่วนในกรณีที่ตับอ่อนถูกทำลายอย่างรุนแรง
หรือภายหลังการตัดเอาตับอ่อนออกทิ้ง มักจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องการขาดน้ำย่อย
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการให้สิ่งที่ขาดไป
The Liver in Diabetes
ในการตรวจเลือดดูการทำงานของตับ (Liver function tests)
ของคนที่เป็นโรคเบาหวานมักจะมีค่าผิดปกติ โดยเราไม่แน่ใจว่า
ผลของความผิดปกติสะท้อนให้เห็นถึงความอ้วน (obesity) ของคนไข้
ซึ่งมักจะเกิดร่วมกับคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง
หรือสะท้อนถึงความเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาล?
ภาวะไขมันสะสมในตับ (fatty infiltration)…
อีกชื่อเรียก nonalcoholic steatohepatitis จะพบเห็นในคนอ้วนได้ถึง 90 %
และในคนเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง พบได้ถึง 75 %
ในคนที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง ซึ่งควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
อาจเกิดภาวะดังกล่าวได้ แต่พบได้ไม่มากนัก
การเกิดมีไขมันสะสมในตับ (Fatty infiltration)…
อาจนำไปสู่การทำให้เกิดภาวะตับโต (hepatomegaly) และกดเจ็บได้
หากตรวจเลือดจะพบว่า Liver enzyme tests จะสูง
และมีอาการปวดท้อง (abdominal pain syndrome) ได้
ซึ่งมีบางครั้ง ที่ตับมีไขมันดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงสู่การเกิดตับแข็งได้
(fibrosis & cirrhosis of liver)
เราจะทำการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว (fatty liver) เมื่อเกิดความสงสัย ?
โดยที่คนไข้เกิดมีอาการต่าง ๆ ตามที่กล่าว ซึ่งสามารถยืนยันได้ด้วยการ
ตรวจ “อูลตร้าซาวด์” ของช่องท้อง และหากจำเป็นอาจต้องทำการเจาะ
เอาเนื้อตับ (liver biopsy) ออกมาตรวจ
ในการวินิจฉัยเราจำเป็นต้องตรวจแยกโรคต่อไปนี้
เช่น metabolic abnormalities เช่น hemochromatosis และการอักเสบ
จากเชื้อไวรัส (viral hepatitis)
ในการรักษาคนไข้มีไขมันสะสมในตับในคนเป็นโรคเบาหวาน...
คือการมุ่งไปที่การควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด, รับประทานอาหาร
น้อยลง, ไขมันในอาหารต่ำ
การควบคุมอาหารให้ระดับ “คาลอรี่” ต่ำลง ซึ่งจะนำไปสู่การลดน้ำหนักตัว,
ควบคุมระดับน้ำในเลือดได้ดีขึ้น, ลดระดับไขมันทั้ง triglyceride และไขมัน
Cholesterol และทำให้การสะสมไขมันในตับดีขึ้น
มีการใช้ยาบางตัว (Ursodiol) อาจทำให้ภาวะไขมันสะสมในตับดีขึ้น
คนไข้เป็นโรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มการเกิดนิ้วในถุงน้ำดี
และก่อให้เกิดปัญหาในถุงน้ำดีได้ การเกิดภาวะดังกล่าว
จะมีลักษณะคล้ายกับการสะสมไขมันในตับนั้นเอง ซึ่งหมายความว่า
ทั้งสองกรณีจะเกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากความอ้วน (obesity)
ที่เกิดร่วมกับคนเป็นเบาหวานประเภทสอง ไม่ใช้โรคเบาหวานโดยตรง และ...
ในน้ำดี (bile) ซึ่งถูกสร้างโดยตับของคนอ้วนจะมีไขมัน cholesterol ด้วยความ
เข็มข้นสูง จึงมีโอกาสทำให้เกิดการตกผลึก และเกิดเป็นนิ้วในถุงน้ำดีขึ้น
และทำให้เกิดมีอาการปวดท้องเป็นพัก ๆ (intermittent abdominal pain),
ตัวเหลือง (jaundice) และเกิดตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) ได้
ในสมัยก่อนโน้น....
เมื่อแพทย์พบคนไข้เป็นเบาหวานมีนิ้วในถุงน้ำดีไม่มีอาการ (asymptomatic)
แพทย์เขาจะแนะนำให้ทำการผ่าตัด เพราะกลัวจะเกิดภาวะแทรกซ้อน
เช่น ถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อ (infection), ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) หรือ
ถุงน้ำดีแตก (rupture of gallbladder)
แต่มาในยุคปัจจุบัน เนื่องผลจากการดูแลรักษาคนไข้ดีขึ้น...
คำแนะนำให้ผ่าตัดในคนไข้ดังกล่าวดูเหมือนจะไม่ใช่วิธีที่ดีเสียแล้ว
สิ่งที่ควรกระทำ คือให้ปฏิบัติกับคนไข้เบาหวานที่มี “นิ้วในถุงน้ำดี” เหมือน
กับคนที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน โดยจะทำการผ่าตัดเฉพาะในกรณี
ที่นิ้วในถุงน้ำดีทำให้เกิดมีอาการเท่านั้น
โดยสรุป...
ปัญหาของระบบทางเดินอาหารในคนเป็นเบาหวาน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก
แต่ในด้านเวชปฏิบัติจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเท่าใดนัก
แต่ในด้านเวชปฏิบัติจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงเท่าใดนัก
ระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน และดีกรีของการควบคุมระดับน้ำ
ตาลจะเป็นตัวกำหนดให้เราได้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร รวม
ถึงทั้งความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ตลอดทางเดินขอระบบกรเพาะ-ลำไส้สามารถเกิดปัญหาได้
ซึ่งได้แก่ปัญหาของปาก, ท่ออาหาร, กระเพาะอาหาร, ลำไส้เล็ก, ลำไส้ใหญ่,
ตับ, ตับอ่อน...ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้มากมาย
การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์...
จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติอย่างละเอียด และการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์
ที่เหมาะสม, การตรวจทางเอกซเรย์ และการตรวจระบบทางเดินอาหาร
นอกจากจากการรักษาปัญหาที่เกิดในระบบย่อยอาหารด้วยยาแล้ว การควบ
คุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด รวมถึงการจัดการเรื่องอาหารได้อย่าง
เหมาะสม ต่างมีความสำคัญต่อการรักษาโรคในระบบย่อยอาหารใน
คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานได้
http://journal.diabetes.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น