วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Don't Underestimate Anemia


Feb. 23, 2013

โรคโลหิตจาง


Go to link.. www.cocos-ceo.blogspot.com

กระทาชายนายหนึ่งเดินมาพบแพทย์  พร้อมกับกล่าวว่า...
“ผมออกจากบ้านตั้งแต่เช้าตรู่...
กว่าจะพบแพทย์ได้ต้องเสียเวลาไปหลายชั่วโมง”
“มีปัญหาอะไร...?”
คุณหมอผู้รับผิดชอบถาม
“ผมอยากได้เลือดสักกระปุก  ครับ” 
แพทย์มองหน้าคนไข้ด้วยความตกใจ...ถึงกับสอดแทรกคำถามขึ้นก่อนที่คนไข้จะพูดจบ...
“ทำไมถึงอยากได้เลือดละ ?”
“เมื่อปีที่แล้ว  ผมได้เลือดไปสองขวด  อาการของผมจึงดีขึ้น....
วันนี้  ผมรู้สึกเหนื่อยเพลียเหลือเกิน 
ผมจึงอยากได้เลือดอีกสักกระปุก....”
คนไข้รายนั้นก็ตอบทันทีโดยไม่คิด

ถ้าไม่ใช่โรงพยาบาลรักษาคนไข้...ได้ยินแต่เสียงของการสนทนา.... 
คงคิดว่า  นั่นเป็นเสียงของตัวละครเกี่ยวกับผีดูดเลือดอย่างแน่นอน...
แต่ไม่ใช่...

มันเป็นเสียงของการสนทนาของแพทย์ผู้รักษา กับชาวบ้าน
ซึ่งคิดว่า  ถ้าได้รับเลือดจะทำให้เขาหายจากความเหนื่อยล้าได้ 
โดยไม่เข้าใจว่า  การที่แพทย์จะให้เลือดใคร หรือไม่  จะต้องผ่านกระบวน
การหลายอย่าง เป็นต้นว่า  เขาเป็นโรคอะไร ? 
จากนั้น  แพทย์เขาจะพิจารณาว่า   
คนไข้ควรได้รับการรักษาอย่างไร ?   

นี้คือตัวอย่างของคนเป็นโรคโลหิตจาง  (anemia)
ซึ่งไม่จำเป็นต้องได้รับเลือดจากห้องเลือด  เพื่อการรักษา....

โรคเลือดจาง (Anemia)
เนื่องจากโรคโลหิตจางสามารถทำลายคุณภาพของชีวิตได้อย่างมากมาย
ซึ่งมันอาจบอกให้เราทราบถึงโรคที่ซ่อนตัวภายในร่างกายของเราได้
โดยแพทย์จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลต่างๆ จากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์
ดังนี้

Hemoglobin (Hb)…
คือโปรตีนที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง  ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับ และนำส่งออกซิเจน
ให้แก่ส่วนต่างๆ ภายในร่างกายของมนุษย์เรา
และเมื่อใดที่ร่างกายของเรามี Hemoglobin น้อยลง  หรือสูญเสียความสามารถ
ในการรับ และส่งออกซิเจนให้แก่ส่วนอื่น ๆ ของเร่ากาย  เราเรียกภาวะดัง
กล่าวว่า โรคโลหิตจาง (anemia)

อันตรายของโรคโลหิตจางจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่ม (แก่) ขึ้น  แต่คนไข้อาจไม่รู้ตัวว่า 
ตนเองเป็นโรคโลหิตจาง   อาการต่างๆ ของคนที่เป็นโรคโลหิตจาง ได้แก่
อาการอ่อนแรง, เหนื่อยเพลีย,ขาดสมาธิ, มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์,
หายใจไม่เต็มปอด และรู้สึกวิงเวียน

การตรวจวินิจฉัยโรคโลหิตจางได้ถูกต้อง ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการรักษา
ว่า  คนไข้ควรได้รับการรักษาในรูปแบบใด ?

จากการศึกษาพบว่า  โรคโลหิตจางเอง  สามารถทำให้อาการของโรค
ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในร่างกายเลวลงได้  โดยที่เจ้าตัวไม่รู้
และอาจมีอันตรายถึงกับทำให้คนไข้  ถึงกับต้องล้มหมอนนอนเสื่อได้...

ในการวินิจฉัยโรคโลหิตจาง...
ขั้นตอนแรกของการวินิจฉัย  คือการตรวจดูระดับของ  Ferritin ในเลือด
ซึ่งเป็นการตรวจดูระดับของธาตุเหล็ก (iron)

Hemoglobin ในเม็ดเลือดแดงจำเป็นต้องได้ธาตุเหล็ก (iron) เพื่อทำหน้าที่
จับออกซิเจน  และการมีปฏิกิริยาเคมีระหว่างออกซิเจนกับ hemoglobin จะทำ
เม็ดเลือดมีสีแดงขึ้น

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia)
สามารถเกิดจากความผิดปกติในการดูดซับ (absorption) เอาสารอาหารจากลำไส้
ซึ่งเราจะพบไดบ่อยในคนที่มีอายมากกว่า 50
นอกจากนั้น ยังสามารถได้ในรายที่ขาดอาหาร (malnutrition), พวกรับประทาน
แต่ผัก (vegetarian diet) แต่เพียงอย่างเดียว  โดยไม่รับประทานเนื้อเลย
(เราจะได้รับธาตุเหล็กอาหารประเภทเนื้อ- meat เป็นส่วนใหญ่)

ผลจากการตรวจดูระดับ ferritin ในเลือด ปรากกว่าต่ำ...
แพทย์จะเป็นผู้สั่งยาที่มีธาติเหล็กเสริมให้แก่ท่าน อย่าซื้อหารับปทานเองเป็น
อันขาด  เพราะการได้รับธาตุเหล็กมากไป  อาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า
Hemochromatosis  เป็นภาวะที่มีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากไป 
เช่น มีการสะสมในตับอ่อน และตับถึงขั้นเป็นพิษต่ออวัยวะทั้งสองได้...

นอกจากนั้น...การรักษาตัวเองโดยไม่ผ่านการวินิจฉัยก่อน
อาจทำให้อาการเหนื่อยเพลียของท่านดีขึ้น  แต่พลาดโอกาสที่จะได้รู้ว่า
ตนเองเป็นโรคมะเร็งของลำไส้ (CA colon)   ไป
ถือว่า  ได้ไม่คุ้มเสีย

การเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency)…
ส่วนมากจะเกิดจากการสูญเสียเม็ดเลือดแดงไปในระหว่างเป็นโรคเรื้อรัง
เช่น  การเสียเลือดในกระเพาะ-ลำไส้ทีละน้อย ๆ (low-level GI bleeding)

การสูญเสียเลือดภายใน (internal bleeding)…
อาจเกิดจากการรับประทาน aspirin  หรือ NSAIDS มาเป็นเวลานาน
หรือเกิดจาก โรคต่าง ๆ เช่น  colon polyps, แผลในกระเพาะอาหาร, และ
มะเร็งในกระเพาะ-ลำไส้  ซึ่งแพทย์สามารถตรวจรู้ไดว่า  มีการเสียเลือดหรือ
ไม้  กระทำได้ด้วยการตรวจว่า  มีเลือดในอุจจาระหรือไม่ 
โดยเฉพาะชนิดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  เรียก occult blood 

หากแพทย์ตรวจพบ  occult blood ในอุจจาระ...
แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจดูภายในลำไส้ด้วยกล้อง
(endoscopy)
เพื่อตรวจดูให้รู้ว่า...คนไข้ไม่มีโรคร้าย (cancer) ซ่อนตัวอยู่ภายในลำไส้

ท่านอาจเป็นโรคโลหิตจาง (anemia) ได้โดยไม่พบว่า  ท่านขาดธาตุเหล็ก
ซึ่งเราจะพบเห็นในคนสูงอายุตั้งแต่ 50 ขึ้นไป โดยเกิดจากโรคเรื้อรัง
เช่น โรคอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) จากโรคที่อยู่ภายในร่างกาย 
ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารต้านการอักเสบออกมา
และสารตัวนี้เองจะไปทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงเสียไป  
เป็นเหตุให้มีโลหิตจางเกิดขึ้น

การอักเสบติดเชื้ออย่างเรื้อรัง, โรครูมาตอยด์, โรคไต, และโรคมะเร็งบางอย่าง
อาจนำไปสู่การเกิดโรคโลหิตจางชนิดที่ไม่มีการสูญเสียธาตุเหล็กได้
ดังนั้น  การให้ธาตุเหล็กแก่คนไข้เหล่านี้จะไม่มีประโยชน์เลย 
เพราะต้นเหตุหลักของโรค  คือ การอักเสบ (inflammation)

แพทย์อาจสั่งให้ฉีดยา erythropoietin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากไต 
สามารถส่งเสริมให้มีการสร้าง Hemoglobin เพิ่มขึ้น...แต่ส่วนใหญ่แล้ว  เราจะพบว่า 
คนที่เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากโรคเรื้อรังสามารถรักษาให้หายได้
ด้วยการรักษาต้นเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ...
หรือรักษาการอักเสบนั่นเอง....



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น