วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Understanding Diabetes: 1



มีคนสูงอายุมาพบแพทย์ด้วยโรคเบาหวาน...
จะพบว่า  คนเหล่านั้นไม่เพียงแต่เป็นโรคเบาหวานอย่างเดียวเท่านั้น 
แตะจะมีปัญหาอย่างอื่นนอกเหนือจากการเป็นโรคเบาหวาน
บางคนมีอาการวิงเวียน (dizziness) หรือหน้ามืดเป็นลม (fainting) 
บางคนมีปัญหาเรื่องอาหารไม่ย่อย ท้องอืด
บางคนมีปัญหาเรื่องปลายประสาทอักเสบ...เท้าชาหรือปวดและอื่น ๆ
อาการทั้งหลายที่กล่าวมา  ต่างเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
กับคนที่เป็นโรคเบาหวานทั้งนั้น  การเข้าใจเข้าโรคเบาหวานก็เป็นหนทางหนึ่ง 
ที่ทำให้เราสามารถป้องกันภาวะดังกล่าวได้
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (Blood sugar control)
เบาหวาน (diabetes) เป็นโรคเรื้อรัง
เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ 
โดยเป็นผลเนื่องมาจากร่างกายมี “อินซูลิน” ต่ำกว่าปกติ
หากทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา 
จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง   เช่น
ตาบอด (retinopathy), ไตวาย (kidney failure)
จำเป็นต้องทำการฟอกเลือด (dialysis) เพื่อให้มีชีวิตรอด,
บางรายอาจมีปัญหาที่เท้าถึงขั้นต้องตัดขา(amputation)
ที่กล่าวมา  นับเป็นเรื่อที่น่ากลัวก็จริง 
แต่เป็นเรื่องที่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้...
มันอยู่ที่ว่า  เราพร้อมจะปกิบัติหรือไม่เท่านั้นเอง ? 

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิด...
สามารถกระทำได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติ 
ซึ่งนอกจากจะรับประทานยาตามแพทย์สั่งแล้ว  ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม-
รับประทานอาหารตามที่นักโภชนากร หรือแพทญ์แนะนำ รวมไปถึงการออกกำลังกายทุกวัน....

โดยมีรายงานว่า  แค่เดินวันละ 20 นาที ห้าวันต่อหนึ่งอาทิตย์ 
ก็เพียงพอต่การทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้
การรับประทานอาหารสุขภาพมีความสำคัญต่อร่างกายจริง
แต่ต้องจำกัดจำนวน “คาลอรี่” ที่ท่านรับประทานต่อวันด้วยวิธีการง่าย ๆ
ด้วยการ “ตัก” อาหารใส่ภาชนะสำหรับรับประทานด้วยจำนวนน้อย
จากนั้น  ให้รับประทานอาหารอย่างช้าๆ  เพื่อให้ร่างกายได้ทราบว่า 
“ท่านได้รับประทานอาหาร” ได้มากพอ
การจำกัดพวกไขมันอิ่มตัวในอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญ...
ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการตัดอาหารต่อไปนี้ออกไป
เช่น:Whole milk, Cheese, ice cream, fast food, butter, bacon, Sausage,
beef, chicken with skin, doughnuts, cookies,  Chocolate.
ในการควบคุมเบาหวาน...
ส่วนใหญ่  การพึ่งพาเรื่องอาหาร และการออกกำลังเท่านั้น ปรากฏว่าไม่เพียงพอ
ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้
จำเป็นต้องใช้ยา (medicine) เพื่อทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงตามที่ต้องการ
ในการรักษาด้วยยา  ส่วนใหญ่เพียงใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลก็เพียงพอ
แก่การลดระดับน้ำตาลแล้ว แต่มีบางรายอาจจำเป็นต้องฉีดยา “อินซูลิน”  เสริม
ยาเม็ดลดน้ำตาล  จึงจะสามารถลดน้ำตาลสู่เป้าหมายได้
มีคนไข้เป็นเบาหวานหลายราย...
เข้าใจผิดคิดว่า  การรักษาโรคเบาหวาน  เพียงอาศัยยาอย่างเดียก็พอแล้ว...
เลิกกินยาเม็ดลดน้ำตาลเสียเอง  โดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา
นั่นเป็นความเข้าใจผิดถนัด
นอกจากการใช้ยารักษา (ยาเม็ด หรือยาฉีด) สำหรับโรคเบาหวาน 
และติดตามการรักษาตามกำหนด  ท่านยังต้องรับประทานอาหารสุขภาพ
ตามที่แพทย์แนะนำและออกกำลังกายให้สม่ำเสมออีกด้วย

ติดตามตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด (Keeping Track of Blood Sugar)
การตรวจเลือดจากปลายนิ้วมือ  ก็เพียงพอแก่การควบคุมโรคเบาหวานด้วยยาแล้ว 
ซึ่งท่านสามารถเจาะเลือดตรวจก่อนอาหารทั้งสามมือ และตรวจก่อนนอน 
และบันทึกข้อมูลเอาไว้  ให้แพทย์ได้ทราบข้อมูล 
เพื่อการปรับเปลี่ยนการรักษาต่อไป (ถ้าจำเป็น)
ความหมายของค่าระดับน้ำตาลในเลือด (ก่อนอาหาร)
ความหมายของค่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (วัดก่อนอาหาร)


ระดับน้ำตาลช่วงก่อนอาหาร                 หมายความว่า

       0 -70                                อันตราย  เพราะตำ่เกิน  ควรได้รับน้ำตาลอย่าง
                                                รีบด่วน
      70 - 90                              อาจมีค่าต่ำ  ควรให้น้ำตาลหากรู้สึกหิว
                                                 รู้ึกอ่อนเพลีย  หรือหงุดหงิด
     90 - 160                             ปกติ  เป็นระดับที่เหมาะสมอ
   160 - 240                             มีค่าสูงมาก  ต้องพยายามทำให้ลดลง
   240 - 300                              เป็นระดับที่สูงมาก  บ่งบอกให้ทราบว่า  เรา
                                                  ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
   300 ข- up                               เป็นระดับอันตราย  ควรพบแพทย์ด่วน



The Hemoglobin A1c Test
อีกวิธีหนึ่งที่สามารถติดตามผลของการรักษาเบาหวาน 
คือการตรวจค่า Hemoglobin A1C test (Hb A1C)  ซึ่งเป็นการตรวจค่าของน้ำตาล
โดยเฉลี่ยว่า  ในระยะสามเดือนที่ผ่านมามีระดับน้ำตาลสูงเท่าใด
เป็นวิธีที่สามารถบอกให้ทราบว่า  การรักษาเบาหวานควบคุมได้ดีหรือไม่
และการตรวจวิธีดังกล่าวถูกแนะนำให้ทำการตรวจ 2 - 4 ครั้งต่อปี


                ระดับน้ำตาล HbA1c                                  หมายความว่า

                         6% - 7%                      เป็นระดับที่ดี  ไม่มีอันตรายจากภาวะฃ                                                                         แทรกซ้อน

                              7% - 85                              เป็นระดับที่ยอมรับได้กับคนทั่วไป  อัน
                                                                        ตรายจากภาวะวแทรกซ้อนต่ำมาก

                              8% - 10%                            เป็นระดัลที่สูง   มีโอกาสเกิดภาวะแทรก
                                                                        ซ้อนได้

                             10% - up                               เป็นระดับที่สูงมาก  และมีโอกาสเกิด
                                                                          ภาวะแทรกซ้อนได้แน่นอน

ข้อสำคัญ

§  ควบคุมระดับน้ำตาลของท่าให้ต่ำเอาไว้ สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตา,
  ไต, และเส้นประสาท
§  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำลงได้
§  Hb A1C เป็นค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา


NEXT  >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น