วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Practical Guideline for Diabetes (T2D) 1

ALGORITHM FOR MANAGEMENT OF DIABETES

ในการรักษาโรค...
ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร  หมอที่สามารถรักษาโรคได้ดีที่สุด
เห็นจะไม่ใช่ใครอื่น  เขาคนนั้นคือตัวคนไข้นั่นเอง
และการที่คนไข้จะทำเช่นนั้นได้  จำเป็นต้องเรียนรู้โรคของเขาเป็นอย่างดี

โดยหลักการแล้ว...
โรคทุกชนิดต่างมีธรรมชาติของมันเอง นั่นคือหัวใจของการักษาโรค
โดยการนำมาประยุกต์ใช้กับการรักษาโรคของเขา
ซึ่งผู้ทำการรักษาโรคจำเป็นต้องเรียนรู้ธรรมชาติของโรคที่เขาเป็นอยู่ให้ดีที่สุด
จากนั้นเขาเป็นแต่เพียงปฏิบัติการณ์ให้คล้อยตามธรรมชาติของโรค
มันก็แค่นั้นเอง
โรคเบาหวานก็คงเป็นเช่นเดียวกัน ?

Diabetes mellitus…
เป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถใช้น้ำตาลที่อยู่ใน
กระแสเลือได้ตามปกติ  เป็นเหตุให้เกิดอาการ  และภาวะแทรกซ้อนขึ้น

น้ำตาลที่ว่านั้น  คือ กลูโกส (glucose)…
เป็นสารที่สำคัญ และจำเป็นต่อสุขภาพของคนเรา 
เพราะมันเป็นแหล่งให้พลังแก่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
ซึ่งประกอบเป็นกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่น ๆ และเป็นแหล่งพลังสำคัญของสมอง

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน...
ไม่ว่าจะเป็นชนิด (type) ใด  มันหมายความว่า
ท่านมีน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านสูงกว่าปกติ  และจะทำให้เกิดปัญหาต่อ
สุขภาพของท่าน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง
ซึ่งอาจเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 (T1D) หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (T2D)
มีอีกภาวะหนึ่งของการมีน้ำตาลในเลือดสูง
ซึ่งสามารถทำให้เปลี่ยนกลับ (reversible) สู่สภาพปกติได้ เรียกว่า
ในภาวะprediabetes 

น้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติในภาวะ prdiabetes
เป็นภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจรอง   แต่สูงไม่พอที่จะเป็นโรคเบาหวาน

เห็นยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน:
ปรากฏว่า  มียาจำนวนมากมายไม่แพ้จำนวนไม่ “ตีกอล์ฟ”
ซึ่งอยู่ในถุงกอล์ฟของคนเล่นกอล์ฟแม้แต่น้อย  ทำให้เกิดความรู้สึกว่า...
แพทย์ ที่ใช้ยารักษา  จำเป็นต้องรู้วิธีการใช้ยาแต่ละตัวอย่างแม่นยำ
หาไม่แล้ว  ผลที่เกิดคงไม่ดีอย่างแน่นอน

ยาที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรเบาหวาน
มียาเม็ดรับประทานเพื่อลดระดับน้ำตาล(oral hypoglycemic agents) 
และยาฉีดอินซูลิน (insulin)




ยาเม็ดลดน้ำตาล (oral hypoglycemic agents) ได้แก่: 
o   Biguanides: Metformin & Metformin XR (Glucophage)

ให้เริ่มใช้ยาวันละครั้ง ด้วยขนาด 500 mg โดยให้พร้อมอาหาร 
และในแต่ละอาทิตย์  ไม่ควรให้มากกว่า 500 mg ต่อหนึ่งอาทิตย์
ถ้าไม่ปรากฏว่ามีอาการทางประเพาะลำไส้  ให้ค่อยๆเพิ่มขนาดของยา

Maximum dose: Regular release tablets 2500 mg แบ่งให้เช้า
เย็น (BID) หรือสามเวลา (TID)

Metformin สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ 
และไม่ควรใช้ในคนที่มีระดับคน creatinine  สูงกว่าปกติ
(  meles < 1.5, females <1.4 mg/dL)

ห้ามใช้ในคนที่โรคตับ (ควรทำการตรวจเอ็นไซม์ alanine aminotransferase 
หรือในคนที่ใช้ ETOH มาก) ก่อนทำการผ่าตัด 
หรือทำการตรวจด้วยการฉีดสารทึบแสงะต้องหยุดการให้ metformin ทันที

o   Sulfonylureas: Glyburide (Micronase®)
and Glipizide (Glucotrol®)

ยาชนิดนี้จะเริ่มต้นด้วยขนาด (dose) 2.5 – 5 mg/day
ขนาดสูงสุด (Maximum)  10 mg BID
ยาชนิดนี้สามารถทำให้คนไข้เบาหวานมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
และสามารถทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)

o   Thiazolidinediones: Pioglitazone (Actos®)
การให้ยาตัวนี้  ให้เริ่มต้นด้วย 15 mg/day
และอาจเพิ่มเป็น 30 mg/day

ถ้าหากให้มากกว่า 30 mg จะได้ประโยชน์น้อยมากไม่คุ้ม
ยาตัวนี้สามารถออกฤทธิ์ได้สูงสุดเมื่อเวลาผ่านไปได้ 12 อาทิตย์

ข้อควรระวัง:
ห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคตับ หรือใช้ในคนที่ใช้ ETOH มาก

นอกจากนั้น  ยาในกลุ่มนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรค
หัวใจวาย (heart failure) หรือทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย

แต่อาจใช้ในคนที่เป็นโรคไต (renal insufficiency)
และอาจทำให้เพิ่มน้ำหนักตัวได้

o   DPP- 4 Inhibitors :
สารชนิดนี้  อาจลดน้ำหนักของคนไข้ได้ และทำให้ระดับของ A1C
ลดลงได้พอประมาณ (จาก mild to moderate)

o   Sitagliptan (Januvia®):
ขนาดของยาที่ใช้ คือ 100 mg PO daily
ถ้าคนไข้เป็นโรคไตวาย (CKD) ระยะที่ 3 ควรลดขนาดของยาลง

o   Saxagliptan (Onglyza®):
ขนาดของยาที่ใช้  2.5  -  5  mg PO daily
ถ้าคนไข้รายนั้นจำเป็นต้องรับประทานยา P4503A/4 inhibitors 
หรือบังเอิญเป็นโรค (renal impairment)
จะต้องลดขนาดของยาลงเหลือ 2.5 mg

o   GLP1 mimetic:
ยาในกลุ่มนี้สามารถลดน้ำหนักตัว   แลสามารถทำให้ระดับน้ำใน
กระแสเลือดลดลง (A1C) ได้พอประมาณ (mild to moderate)
การให้ยาตัวนี้  อาจทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis)

ในขณะที่คนไข้ได้รับยาตัวนี้  หากคนไข้เกิดมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย (? Pancreatitis)...
ท่านต้องบอกให้แพทย์ทราบทันที

o   Exenatide (Byetta®):
เป็นยาสำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (SC)
โดยเริ่มด้วยขนาด 5 mcg  BID ที่บริเวณต้นขา, หน้าท้อง
หรือต้นแขน   อาจเพิ่มขนาดของยาเป็น 10 mcg BID
เมื่อได้ใช้ยาไปนานถึ่งหนึ่งเดือน   

ควรฉีดก่อนรับประทานอาหารประมาณ 60 นาที
และห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) stage 4 ขึ้นไป

o   Liraglutide (Victoza®):
เป็นยาฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (SC)…
ควรเริ่มต้นด้วย 0.6 mg daily
โดยฉีดเข้าต้นขา, หน้าท้อง และต้นแขน-
สามารถเพิ่มขนาดของยาเป็น 1.2 mg daily ภายในหนึ่งอาทิตย์
และอาจเพิ่มขนาดของยาเป็ 1.8 mg ต่อวันได้

o   Pramlintide (Symlin®) - Amylin mimetic
ผลจาการใช้ยาตัวนี้ สามารถลดระดับ A1C ลงได้พอประมาณ (mild)
และสามารถลดน้ำหนักได้เล็กน้อย
ขนาดของยา  ให้เริ่มด้วย 60 mcg ต่อวัน  โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (SC)
ให้ฉีดก่อนรับประทานอาหารมื้อหนักทันที
ก่อนให้จงลดขนาดของ short-acting insulin ลง 50 %

ยาตัวนี้สามารถใช้ในเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1D)ด้วยขนาดน้อย ๆ
และสามารถเพิ่มขนาดของยาเป็น 120 mcg เมื่อคนไข้ไม่มีอาการคลื่น
ไส้เป็นเวลา 3 – 7 วัน

ยา “ฉีด” ที่ถูกนำมาใช้เพื่อลดน้ำตาล:

กลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว  เพื่อใช้จัดการกับระดับน้ำตาลหลังอาหาร
มีชื่อเรียกว่Bolus insulin ได้แก่:
  • Aspart (Novolog®)
  • Glulisine (Apidra®)
  • Lispro (Humalog®)
  • Regular
กลุ่มยาอินซูลินที่ออกฤทธิ์ช้า และนาน  เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลที่ถูกสร้างโดยตับ 
บางที่เขาเรียกอินซูลินชนิดนี้ว่า Basal insulins
ที่ควรรู้ได้แก่:
  • Detemir (Levemir®)
  • Glargine (Lantus®)
  • NPH

NEXT >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น