Feb. 22,2013
ในระหว่างหวดลูกกอล์ฟ...
กระทาชายหนึ่งตั้งประเด็นการสนทนาด้วยคำถามสั้นๆ ว่า
“ผมรักษาเบาหวานมาหลายปี จะรู้ได้อย่างไรว่า ผมเป็นโรคไต ?”
โรคไต (kidney disease)
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคไตขึ้นได้
โรคเบาหวานก็เป็นโรคหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคไตขึ้น โดยเราจะพบว่า
การมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง มักจะมี่ความดันโลหิตสูงเกิดร่วมด้วย
เสมอ ซึ่งทั้งสองปัจจัยจะทำลายเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงไตทั้งสองได้
เหมือนกับที่มันสามารถทำลายเส้นเลือดได้ตลอดทั้งร่างกายของคนเรา
ตามเป็นจริง...
เราจะพบเห็นวงจรที่ไม่ดีดังต่อไปนี้:
“เมื่อไตอ่อนแอลง ความดันโลหิตมักจะสูงขึ้น และตัวความดันที่สูงขึ้น
จะทำลายไตให้เสื่อมลงไปอีอ..”
โรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน...
มีชื่อเรียก diabetic nephropathy หรือ kidney disease ซึ่งมันจะเกิดขึ้น
และเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาหลายปี โดย
และเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาหลายปี โดย
ไม่มีอาการใดประกฎให้เห็นได้ทั้งๆ ที่มีโรคไตได้เกิดขึ้นนานแล้ว
แต่การเกิดโรคไต จะมีเงื่อนงำให้แพทย์สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ
นั้นคือ microalbuminuria หรือมีปริมาณของโปรตีนรั่วออกมาทาง
นั้นคือ microalbuminuria หรือมีปริมาณของโปรตีนรั่วออกมาทาง
ปัสสาวะในปริมาณไม่มาก
เมื่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ร่วมกับความดันโลหิตสูง...
มันจะทำลายส่วนที่ทำหน้าที่กรองของเสียของไต (kidney filter)
นั่นคือต้นเหตุทำให้โปรตีน รั่วออกมาทางไต
ในระยะแรก: การรั่วของโปรตีนมีจำนวนน้อยมาก เช่น “albumin” และ
เมื่อเวลาผ่านไปไตถูกทำลายสู่ระยะสุดท้าย เราจะบพปริมาณของโปรตีน
ที่รั่วออกทางปัสสาวะจะเพิ่มมากขึ้น
Screening for microalbuminuria.
ในกรณีที่ท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง (T2D)...
ท่านควรตรวจปัสสาวะดู microalbuminuria ทุก ๆ ปี
หรือถ้าเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง ควรตรวจทุก 5 ปี ด้วยการตรวจอย่างง่าย ๆ
จะทำการตรวจเมื่อใดก็ได้ (spot urine test)
ด้วยการวัดระดับอัตราส่วนระหว่าง albumin กับ creatinine ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
จะทำการตรวจเมื่อใดก็ได้ (spot urine test)
ด้วยการวัดระดับอัตราส่วนระหว่าง albumin กับ creatinine ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
ระดับปกติ Albumin/creatinine จะมีค่าน้อยกว่า 20- 30 mg/g
ถ้าระดับของ Albumin/creatinine มีค่ามากกว่า 30 mg/g เมื่อใด
ควรทำการตรวจซ้ำเพื่อเป็นการยืนยัน
เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้ค่าดังกล่าวสูงได้ เป็นต้นว่า
มีการเกิดอักเสบติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ, การมีประจำเดือน หรือแม้
กระทั้งการออกกำลังกาย สามารถทำให้ได้ค่าสูงกว่าผิดปกติได้
แล้วการตรวจเลือดละ ?
ความจริงมีว่า...
คนเป็นเบาหวาน แม้ว่าจะมีโรคไตเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
แต่การตรวจเลือดจะไม่แสดงความผิดปกติใดๆ ให้ปรากฏ
จนกว่าโรคไตจะได้เปลี่ยนแปลงถึงขั้นเป็นมากกว่า “microaluminuria”
จนกว่าโรคไตจะได้เปลี่ยนแปลงถึงขั้นเป็นมากกว่า “microaluminuria”
เมื่อท่านถูกตรวจพบว่า ปัสสาวะของท่านมี albumin (microalbuminuria)
ท่านจะต้องตรวจเลือดวัดดูระดับของ creatinine อย่างน้อยปีละครั้ง
Creatinine เป็นของเสีย (waste product) ที่เกิดจากการเผาผลาญภายใน
ร่างกาย และระดับของสารดังกล่าวที่ปรากฏในกระแสเลือด สามารถบ่งบอก
ให้ทราบว่า ส่วนของไต (glomeruli) ทำการกรองเอาของเสียได้ดีแค่ใด?
การมีระดับของ creatinine ในเลือดสูง ย่อมหมายถึงการกรองของไต เรียก
ว่า glomerlar filtration rate (GFR) ต่ำลง
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า โรคไตมีความเสื่อมลงตามปริมาณของเสียที่ปรากฏ
หรือตามความสามารถของการกรองเอาของเสียออก (GFR):
เราสามารถตรวจหาค่า eGFR จากสูตรต่อไปนี้:
eGFR = (140 minus Age) x body weight) X 0.89 for female
Divided by 72 x serum creatinine
Ø GFR มีค่าระหว่าง 60 – 89 mL/min บ่งบอกใหท้ทราบว่า เป็นโรคไต
ที่มีความรุนแรงน้อย (mild kidney disease)
Ø GFR มีค่าระหว่าง 30 – 59 mL/ min. ถือว่าเป็นโรคไต...มีความรุนแรง
พอประมาณ (moderate kidney disease)
Ø GFR มีค่าระหว่าง 15 – 29 mL/min. ถือว่าเป็นโรคไต...มีความรุนแรง
(sever Kidney disease)
Ø GFR มีค่าน้อยกว่า 15 mL/min ถือว่าเป็นโรคไตวาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น