วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โลหิตจาง (anemia) 2


โรคโลหิตจาง (Types) ที่พบได้บ่อยได้แก่:

โรคโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก

(Iron-deficiency anemia) 

เป็นโรคโลหิตจางที่พบมากที่สุดในกลุ่มโลหิตจางทั้งหลาย
โดยมีสาเหตุจากการขาดธาตุเหล็ก  ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือด
แดงได้  เกิดเป็นโรคโลหิตจางขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็ก  คือการเสียเลือด
และบางครั้งอาจเป็นผลมาจากความบกพร่องการดูดซึมจากอาหารก็ได้
หรืออาจเป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร  ซึ่งทั้งสองกรณีมีการ
ใช้ธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก  เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

 สาเหตุของการขาดธาตุเหล็กมักเป็นมาจากการเสียเลือด
แต่บางครั้งอาจเป็นผลเนื่องมาจากความบกพร่องในการดูดซึมของธาตุเหล็กเสีย
ไป  หรือบางทีอาจเกิดจากการตั้งครรภ์ และคลอดบุตร
ซึ่งจำเป็นต้องใช้ธาตุเหล็กเป็นอย่างมาก  จึงทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้

นอกเหนือจากนั้น  เรายังพบว่า  ในคนไข้ที่ทำการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
เพื่อลดน้ำหนัก (gastric bypass surgery) หรือเหตุผลอย่างอื่น ๆ
อาจทำให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก  โดยทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กเสียไป

โรคโลหิตจางจากการขาดไวตามิน
(Vitamin-deficiency anemia)

เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดสาร vitamin B12 หรือ folate
ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการขาดอาหาร
คนเป็นโรคโลหิตจางที่มีชื่อ “pernicious anemia” เป็นผลมาจากร่างกาย
ไม่สามารถดูดซึมเอา vitamin B12 จากทางเดินอาหารได้

Aplastic anemia
 เป็นโรคโลหิตจางที่พบได้น้อยมาก  จะเกิดขึ้นเมื่อร่ากายหยุดการสร้าง
เม็ดเลือดแดงให้ได้เพียงพอ  โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบติดเชื้อไวรัส,
หรือเกิดจากการสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษ (toxic chemicals), ยา (drugs)
และโรคของภูมิต้านทานจากความพบพร่อง

Idiopathic aplastic anemia…
เป็นชื่อของโรคโลหิตจาง  ซึ่งไม่ทราบว่า 
อะไรเป็นต้นเหตุทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย

โรคลิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกสลาย
(Hemolytic anemia)

เป็นโรคโลหิตจางที่เกิดขึ้น  เมื่อเม็ดเลือดแดงเกิดการแตกสลายตัวใน
กระแสเลือด  หรือในม้าม  โดยสาเหตุทำให้เกิดภาวะเช่นนั้น 
อาจเป็นผลมาจากเม็ดเลือดแดงถูกแรงกระแทก
ซึ่งอาจพบในกรณีที่มีการรั่ว (leak) ของเลือดผ่านลิ้นหัวใจ  หรือผ่าน
หลอดเลือดที่โป่งพอง  หรือพบในการอักเสบติดเชื้อต่างๆ,
หรือความผิดปกติทางระบบภูมคุ้มกัน

ความผิดปกติทางพันธุกรรม  อาจมีผลกระทบต่อโครงร่าง และการทำงาน
ของเม็ดเลือดแดง  ที่พบเห็นได้แก่ inherited hemolytic anemia
รวมถึงโรค thalassemia บางชนิด และในรายที่มีระดับเอ็นไซม์
Glucose-6-phospate dehdrogenase deficiency
ซึ่งการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค

Sickle cell anemia
เป็นโรคโลหิตจากเม็ดเลือดแตกสลาย (hemolysis) ชนิดหนึ่ง 
ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมีความผิดปกติในโปรตีน “hemoglobin
ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งกระด้าง  และทำให้เกิดการอุดตันของกระแสไหลเวียนของเลือดขึ้น 
 ยังผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนผ่านเส้นเลือดขนาดเล็กได้

สาเหตุอย่างอื่น ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
มีโรคหลายอย่างสามารถกระทบกับร่างกาย...
ไม่ให้ร่างกายสามารสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นได้  ยกตัวอย่าง  คนเป็นโรค
ไตบางคนเกิดเป็นโรคโลหิตจางขึ้นมา เพราะไตไม่สามารถสร้างฮอร์โมน
ที่มีชื่อว่า “hemopoietin”  ได้มากพอ ที่จะส่งสัญญาณให้ไขกระดูกทำการ
สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่ได้

นอกเหนือจากนั้น  การรักษามะเร็งด้วย “เคมีรักษา” ก็เป็นเหตุให้ร่าง
กายสูญเสียสมรรถนะในการสร้างเม็ดเลือดได้เช่นกัน
เป็นเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้น


เขาทำการรักษาโรคโลหิตจางกันอย่างไร ?

การรักษาโรคโลหิตจางส่วนใหญ่จะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

ในคนที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency)…
ส่วนใหญ่จะมีต้นเหตุจากการเสียเลือด 
ถ้าท่านเป็นโลหิตจากการขาดธาตุเหล็ก  แพทย์จะทำการตรวจดูว่า 
การสูญเสียเลือดมีต้นเหตุที่กระเพาะอาหาร  หรือลำไส้

สำหรับโรคโลหิตจางจากการขาดอาหาร  เช่น vitamin B-12 deficiency
หรือ Folate deficiency  ซึ่งนอกจากจะมีต้นเหตุมาจากการรับประทานอา
หารที่ไม่มีคุณภาพแล้ว  ยังอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติในการดูดซึม
ของสาร vitamins ทางลำไส้ได้อีกทางหนึ่ง
และในการรักษาจะมีแตกต่างกันตั้งแต่การปรับเปลี่ยนอาหาร
จนกระทั้งให้อาหารเสริมในสิ่งที่ขาดไป

ถ้าต้นเหตุของโลหิตจาง  เป็นผลจากโรคเรื้อรัง (chronic disease)…
การรักษาจะมุ่งตรงไปที่ตัวโรคเรื้อรัง  ซึ่งเป็นต้นตอทำให้เกิดโลหิตจาง
เมื่อโรคดังกล่าวหาย...ภาวะโลหิตจางจะดีขึ้นได้เอง

ภายใต้สถานการณ์บางอบ่าง  เช่น  โรคไตเรื้องรัง (CKD)…
แพทย์รักษาภาวะโลหิตจาง  อาจให้การรักษาคนไข้ด้วยการให้ฉีดสาร
Erythropoietin เพื่อกระตุ้นไขกระดูกให้ทำการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้น

สำหรับ Aplastic anemia…
ถ้าไขกระดูกหยุดการสร้างเม็ดเลือดแดง  ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากตัวไขกระ
ดูกเกิดความล้มเหลว  ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้เอง
หรืออาจเป็นเพราะไขกระดูกสร่างเม็ดเลือดแดงที่ไม่เจริญเหมือนปกติ
ซึ่งมีชื่อเรียก myeodysplasia  หรือเป็นผลมาจากการใช้ยาบางชนิด

และถ้าคนไข้เป็นโรค Aplastic anemia….
แพทย์ประจำของท่านอาจปรึกษา หรือส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ให้เป็นผู้รับผิดชอบต่อไป  ซึ่งเขาอาจทำการเจาะเอาไขกระดูกมาทำการ
ตรวจ  เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว

การรักษาคนไข้ที่เป็นโรคโลหิตจางชนิด Aplastic anemia…
แพทย์อาจให้ยา  และให้เลือด (blood transfusions)

การเป็นโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายในกระแสเลือด
(hemolytic anemia) ซึ่งมีต้นเหตุทาง mechanical factors 
เช่น มีเลือดรั่วทางลิ้นหัวใจ,  หรือจากการอักเสบติดเชื้อ  หรือเกิดจาก
ความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน  การวินิจฉัยโรคสามารถกระทำได้ด้วยการ
ตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษ  และดูรูปร่างของเม็ดเลือดทางกล้องจุลทรรศน์

ในการรักษาโลหิตจางชนิดนี้  แพทย์เขาอาจให้ยาปฏิชีวนะ  หรือให้ยา
ยับยั้งการทำงานของระบบภูมคุ้มกัน (suppress the immune system)

เราสามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้หรือไม่ ? 

ในขณะที่เราไม่สามารถป้องกันโรคโลหิตจางได้นั้น  การรับประทาน

อาหารสุขภาพ  ย่อมสามารถทำให้คนเราหลีกเลี่ยงทั้งโรคโลหิตจาง

ชนิด Iron-deficiency anemia และ vitamin-deficiency anemia ได้

 

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ เนื้อวัว (beef), ผักสีเขียวเข็ม, ผลไม้แห้ง

และพวกตระกูลถั่ว  ส่วนพวก vitamin B-12 ได้แก่พวกเนื้อสัตว์ (meat)

และนม  และ พวก folic acid จะพบในพวกส้ม,  ผักสีเขียวเข็ม, ถั่ว

 

นอกจากนั้น  การให้รับประทาน multivitamin สามารถป้องกันไม่ให้เกิด

โลหิตจางชนิด nutitional anemia

 

สำหรับคนสูงอายุทุกราย  ไม่ควรได้รับธาตุเหล็ก  นอกเสียจากแพทย์จะ

เป็นผู้แนะนำให้รับประทาน

 



http://www.hematology.org

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น