continued...
การรักษาโรคโลหิตจาง...?
EPO
ถ้าไม่สามารถพบต้นเหตุอื่นๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดจาง...
คนไข้สามารถได้รับการรักษาด้วยยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง (EPO)
ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาทิตย์ละสอง หรือสามครั้ง
ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาทิตย์ละสอง หรือสามครั้ง
ส่วนคนที่ทำการฟอกไต (hemodialysis) ซึ่งไม่สามารถทนการใช้ยาดังกล่าวได้
เขาอาจได้รับยาด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ในขณะทำการฟอกเลือด
ซึ่งนอกจากจะราคาค่อนแพงแล้ว ผลที่ได้อาจไม่ดีนัก
ซึ่งนอกจากจะราคาค่อนแพงแล้ว ผลที่ได้อาจไม่ดีนัก
ตามคำแนะนำของ FDA….
คนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วย EPO ควรให้ Hb มีระดับระหว่าง 10 – 12 gm/dL
และจากรายงานกล่าวว่า หากค่าของ Hb สูงกว่า 12 g//dL…
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ heart attack, heart failure และ stroke
ดังนั้น คนไข้รายใดที่ได้รับการรักษาด้วย EPOจะต้องทำการตรวจระดับ Hb
อย่างม่ำเสมอ หากพบว่า ค่าของ Hb ม่ค่าสูงกว่า 12 g/dL
แพทย์จะลดขนาดของยากระต้นการสร้างเมดเลือดแดง EPO ลง
Iron
คนไข้โรคไตจำนวนไม่น้อย จำเป็นต้องไดรับทั้ง EPO และอาหารเสริม
ของธาตุเหล็ก (iron supplements) เพื่อเพิ่มระดับ hematocrit (Hct)
ระดับที่ต้องต้องการ ถ้าระดับของธาตุเหล็กต่ำเกินไป จะทำให้ EPO
ไม่สามารถช่วยคนไข้ โดยคนไข้ยังคงมีอาการของโรคโลหิตจางต่อไป
มีคนไข้บางรายสามารถรับยาเม็ดของธาตุเหล็ก...
แต่จากการศึกษาจำนวนมากรายงานว่า ยาเม็ด iron pills จะไม่ค่อยได้
ผลในคนที่เป็นโรคไตวาย....จำเป็นต้องให้ทางเส้นเลือดจะดีกว่า
โดยอาจให้ทางเส้นเลือดดำ หรือให้ทางท่อให้เลือดระหว่างการฟอกเลือด
อย่างไรก็ตาม ก่อนให้ธาตุเหล็กทางเส้นเลือด...
พยาบาลจะต้องทำการตรวจ test dose ก่อนเสมอ เพราะมีประมาณ 1 %
จะเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรง ทำให้หายใจลำบาก
ซึ่งแพทย์จะต้องเตรียมพร้อม....มียา epinephrine หรือ corticosteroids
เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
นอกเหนือจากการตรวจ hematocrit (Hct) และ hemoglobin (Hb)…
ยังมีการตรวจอีกสองอย่าง ซึ่งสามารถบอกให้ทราบว่า คนไข้มีธาตุเหล็กใน
ระดับเพียงพอหรือไม่:
§ Ferritin level. จะบ่งบอกให้ทราบถึงปริมาณของธาตุเหล็ก ที่ถูกสะสม
ในร่างกาย โดยค่าปกติควรมีค่าไม่ต่ำกว่า 100 micrograms per liter
(mcg/L) และไม่ควรเกิน 800 mcg/dL
§ Transferrin saturation (TSAT) เป็นค่าที่บ่งบอกให้ทราบว่า
มีธาตุเหล็กมากน้อยเท่าใด เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดง
และค่าของ TSAT ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 50 %
สาเหตุอื่นๆ ของโรคโลหิตจาง...?
นอกเหนือจาก EPO และ iron …
มีคนไข้บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับ vitamin B12 และ folic acid
เป็นอาหารเสริมด้วย
ถ้าการรักษาด้วย EPO, iron, vitamin B12 และ folic acid ยังไม่
สามารถช่วยเหลือคนไข้ให้หายจากโรคโลหิตจาง
แพทย์จะต้องมองหาสาเหตุอื่น ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโลหิตจาง
เช่น sickle cell disease หรือ inflammation problems
ข้อพึงระวัง:
ซึ่งได้รับสารดังกล่าวจากยาลดกรดซึ่งมี aluminum เป็นส่วนประกอบ
ดังนั้น เมื่อทำการรักษาคนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) หรือไตวาย
ควรระวังยาที่เป็น phosphate binders ที่ไม่ใช้ aluminum
ที่ควรจำ:
§ คนเป็นโรคเลือดจาง จะพบว่า เม็ดเลือดแดงจะลดน้อยลง
และมักมักจะพบในคนที่เป็นโรคไต
§ ไตปกติจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ชื่อ erythropoietin หรือ
EPO ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกให้ผลิตเม็ดเลือดแดง
§ ให้ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
§ คนที่เป็นโรคไต ส่วนใหญ่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน EPO ได้
เพียงพอ
§ การตรวจเลือดทุกอย่าง รวมทั้งตรวจดูระดับ hematocrit
ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงของเลือด
§ ถ้าไม่พบสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางนอกเหนือจาก
การมีระดับ EPO ลดต่ำ จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการฉีด
ยา EPO เข้าใต้ผิวหนังอาทิตย์ละสอง ถึงสามครั้ง
§ U.S. FDA แนะนำให้คนไข้รักษาด้วย EPD โดยทำให้ระดับ
Hb เพิ่มขึ้นถึง 10 – 12 g/dL
§ คนที่ได้รับ EPO จะต้องตรวจระดับ Hb อย่างสม่ำเสมออย่า
ให้สูงกว่า 12 g/dL (ถ้าสูงจะต้องลดขนาดของยา EPO ลง)
§ คนไข้โลหิตจางจากโรคไต จะได้ต้องได้รับทั้ง EPO และธาตุ
เหล็ก จึงจะสามารถเพิ่มระดับ Hematocrit (Hct)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น