Continued…
Starting doses
เมื่อเราได้ตกลงตัดสินใจว่า จะดำเนินกลยุทธิ์แบบใด
เพื่อให้ร่างกายได้รับ basal insulin แล้ว ก้าวต่อไปที่เราจะต้องพิจารณา
คือ ขนาดของยาที่เหมาะสม (proper dose)
โดยหลักการที่ถูกต้อง จะต้องกระทำภายใต้ความร่วมมือของแพทย์เจ้าของ
คนไข้ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ในการกำหนดขนาดของยา และสามารถปรับ
ขนาดของยาได้ตามความเหมาะสม
ในคนไข้ส่วนใหญ่ จะพบว่า ขนาดของยา basal insulin จะไม่แตกต่างจาก
ขนาดจำนวนรวม ของ bolus insulin ที่คนไข้จะได้รับในแต่ละวัน
(total daily does of bolus insulin)
ความต้องการของ basal insulin ที่คนไข้ต้องการในแต่ละวัน...
โดยทั่วไปแล้ว เราจะพบว่า ขนาดของยาอินซูลินจะขึ้นกับน้ำหนักของร่างกาย
และความไว (sensitivity) ของคนที่มีต่ออินซูลิน
ซึ่งจะถูกกระทบอย่างมากจากการออกแรงของคนไข้เอง ตลอดรวมไปถึงระดับ
ของฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายอีกด้วย
สำหรับคนไข้เป็นเบาหวานประเภทสอง (T2D)….
เราจะพบว่า ความต้องการของอินซูลินต่อวัน จะมีตวามแตกต่างกันอย่างมาก
โดยที่คนไข้บางราย ยังสามารถสร้างอินซูลินได้เอง
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ จำนวนอินซูลิน (basal insulin) ที่ควรจะได้จากภายนอกจะต่ำ
ส่วนคนอ้วน (obese) และร่างกายต่อต้านอินซูลิน (insulin resistance)
อาจจำเป็นต้องได้รับ basal insulin จำนวนเป็นร้อยยูนิต ต่อวันก็ได้
ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย
รวมทั้งคนที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (T1D) ...
ในคนไข้พวกนี้ เราจะพบว่า ความต้องการอินซูลิน (basal insulin)
สามารถคาดการณ์ได้โดยไม่ยากนัก
Fine-tuning basal insulin:
การปรับเปลี่ยนขนาดของยา basal insulin เพื่อให้ได้รับผลดีที่สุด
ในกรณีที่คนไข้ไม่ได้รับประทานอาหาร และออกกำลังกาย
เราจะพบว่า ระดับ basal insulin ที่ให้แก่คนไข้ควรจะทำให้ระดับน้ำตาลคงทีได้
ที่กล่าวเช่นนั้น เป็นเพราะระดับ basal insulin
ควรใกล้เคียงกับระดับ “อินซูลิน”ที่สามารถจัดการกับน้ำตาล
ที่ตับปล่อยออกสู่กระแสโลหิตได้ตลอดวัน และตลอดคืน (24 ชั่วโมง)
น่าจะเป็นเรื่องที่ดี...
ถ้าเราสามารถปรับขนาดของ basal insulin ได้ก่อนที่จะกำหนดขนาดของ
Bolus insulin ที่ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลที่ได้จากการรับประทานอาหาร
หาไม่แล้ว หารเกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำ
จะทำให้การปรับขนาดของ bolus insulin กระทำได้ด้วยความลำบาก
สำหรับคนไข้ที่ได้รับยาฉีด NPH, glargine, หรือ detemir…
เราจะต้องกำหนดเป้าหมายเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ในช่วงของ
การนอนหลับ (sleeping hours) โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ
หรือ ระดับน้ำตาลสูงในช่วงกลางวัน (hypoglycemia & hyperglycemia)
โดยหลักการ ระดับของน้ำตาลในเลือดไม่ควรมีเปลี่ยนแปลงมากกว่า 30 mg/d
เป็นที่เข้าใจว่าในขณะนอนหลับ เราไม่ได้รับประทานอาหาร,
ไม่มีการออกกำลังกาย และไม่มีการออกกำลังกายหนัก ก่อนนอน
หากปรากฏว่า ระดับของน้ำตาลมีเพิ่ม หรือลดมากว่า 30 mg/dL อย่างคงที่
เราจำเป็นต้องทำการปรับขนาด (dose) ของ babal insulin
เราสามารถพิจารณาได้ว่า...
ขนาดของ Basal insulin ที่ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในตอนกลางคืน
ถูกกำหนดได้ถูกต้องหรือไม่ ลองพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้:
1. รับประทานอาหารสุขภาพ ซึ่งมีระดับไขมันน้อย หลีกเลี่ยงอาหาร
ร้านภัตตาคารก่อนทำการตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล
อาหารที่มีระดับไขมันสูงจะทำให้ระดับน้ำตาลขึ้นสูง กว่าจะลดลง
และให้ฉีดอินซูลินก่อนนอนตามปกติ และยาอินซูลินในตอนกลาง
คืน
2. ถ้าท่านออกกำลังกายตามปกติในตอนเย็น ให้ทำต่อไป
แต่ให้ออกกำลังกายพอประมาณ ระยะเวลาแต่เพียงเล็กน้อย
หากออกกำลังกานหนักไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้
และทำให้ผลการตรวจเลือดผิดไป
3. อย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนรับประทานอาหารเย็น
ให้เจาะเลือดตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด
ถ้าผลการตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลมีค่าเหนือกว่าสูง 80 mg/dL
และต่ำกว่า 250 mg/dL อย่ารับประทานอาหารใด ๆ หรือฉีดยา
Rapid-acting insulin
ถ้าระดับน้ำตาลมีค่าต่ำกว่า 80 mg/dL ให้รับประทานอาหารว่างก่อนนอน
แล้วให้ตรวจดูระดับน้ำตาลในตอนกลางคืนอีกครั้ง ถ้าระดับน้ำตาลสูงกว่า
250 mg/dL ให้ปรับขนาดของอินซูลิน จากนั้นให้ตรวจดูระดับน้ำตาลใน
ตอนกลางคืนอีกครั้ง
4. ถ้าหากตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลมีระดับสูงกว่า 80 mg/dL และต่ำกว่า
250 mg/dL และท่านต้องการตรวจเพื่อหารปริมาณของ basal insulin
ให้ทำการตรวจนำตางในตอนเที่ยงคืน และตรวจอีกครั้งตอนตื่นเช้าของ
วันถัดไปด้วยจุดประสงค์ที่จะแยกปรากฏการณ์ Somogyi phenomenon
ปรากฏการณ์ Somogyi เกิดขึ้นโดยระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำ
ในตอนกลางคืน และมีระดับน้ำตาลในตอนเช้าสูงขึ้น
ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะในระหว่างนอนหลับระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง
เป็นเหตุให้มีฮอร์โมนถูกหลั่งออกมา
ซึ่งจะกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำตาลสู่กระแสเลือด...
เป็นเหตุให้น้ำตาลในกระแสเลือดในตอนเช้าเพิ่มสูงขึ้น
ในช่วงเวลาระหว่างเวลาก่อนนอน (bedtime) จนกระทั้งถึงเวลาตื่นนอน
ถ้าระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดอยู่ในระดับ 30 mg/dL
แสดงให้เห็นว่า basal insulin ที่ให้ฉีดให้แก่คนไข้เป็นขนาดที่พอเหมาะ
แต่หากระดับน้ำตาลสูงกว่า 30 mg/dL …
เราควรเพิ่มขนาดของ basal insulin อีก 10 %
แล้วทำการตรวจดูระดับน้ำตาลซ้ำอีกครั้ง
ถ้าระดับน้ำตาลลดต่ำมากกว่า 30 mg/dL…
ให้ลดขนาดของ basal insulin ลงอีก 10 %
แล้วทำการตรวจระดับน้ำตาลซ้ำอีกครั้ง และทำการปรับขนาดของอินซูลิน
และตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง
จนกกว่าเราสามารถทำให้ระดับน้ำตาลอยู่ในระดับที่คงที่ตลอดคืน
ยกตัวอย่าง...ถ้าผลการตรวจน้ำตาลก่อนนอน (bedtime) และในช่วงตื่นนอน
อ่านได้ 185 mg/dL และ 122 mg/dL ตามลำดับ
พบว่า ระดับน้ำตาลในขณะนอนหลับจะลดลง 185 – 122 = 63 mg/dL
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ขนาดของ basal insulin ที่คนไข้ได้รับมากไป
ถ้าตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลในช่วงของก่อนนอน (bedtime)
มีค่าใกล้ค่าปกติจะทำให้คนไข้เกิดมีอาการของ hypoglycemia ได้
ในกรณีเช่นนี้ จะต้องลดขนาด (dose) ของ basal insulin ลงอีก 10 %
แล้วติดตามผลการรักษาด้วยการตรวจเลือดซ้ำในคืนถัดไป
ถ้าระดับของน้ำตาลที่เจาะได้ตอนก่อนนอนมีค่าใกล้กับค่าปกติ...
คนเป็นเบาหวานจะมีปัญหา เกิดมีระดับน้ำตาลลดต่ำ hypoglycemia
ในตอนกลางคืน ให้ลดขนาดของ basal insulin ลง 10 %
และให้ตรวจดูน้ำตาลในคืนถัดไปอีกครั้ง
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นจาก 87 mg/dL เป็น 160 mg/dL
เป็นการเพิ่มของระดับน้ำตาล 160 – 87 = 73 mg/dL
ในกรณีเช่นนี้ จะต้องเพิ่มขนาดของ basal insulin
แต่ถ้า ผลการตรวจระดับน้ำตาลตอนก่อนนอน (bedtime) วัดได้ 95 mg/dL
ในตอนตื่นนอน วัดได้ 87 mg/dL
ในกรณีเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องทำการปรับขนาด (dose) ของ basal insulin
www.diabetesselfmanagemnt.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น