ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน..
ภาวะแทรกซ้อนอันยาวนานชนิดหนึ่ง
คือโรคไต (renal disease)
อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า diabetic nephropathy โดยเป็นผลจากความผิดปกติ
คือโรคไต (renal disease)
อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า diabetic nephropathy โดยเป็นผลจากความผิดปกติ
ที่เกิดขึ้นในเส้นเลือดที่เกิดพร้อมกับการเป็นโรคเบาหวาน
นอกเหนือไปจากนี้...
เรายังพบอีกว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไตวายขั้นสุดท้าย (ESRD)
คือโรคเบาหวานอีกนั้นเอง
Stages of Chronic Kidney Disease (CKD)
โรคไตเรื้อรังเป็นโรคที่มีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง:
1. Chronic renal insufficiency
แม้ว่า มันจะอยู่ในระยะแรกของการเกิดโรคไตก็ตาม ทั้งๆ ที่ไต
ถูกทำลายไป แต่ก็มีผลต่อร่างกายโดยรวมน้อย
2. Chronic renal failure
ในระยะสองของโรค เราจะพบว่า
ไตได้ถูกทำลายถึงขั้นก่อให้เกิดปัญหาแก่ร่างกายตลอดทั้งร่าง
ปัญหาอย่างหนึ่ง คือ มีปริมาณของเสียสะสมในกระแสเลือดเพิ่ม
ขึ้น เช่น urea, creatinine และ phosphate
ในขณะที่ร่างกายของคนเราอยู่ในสภาพปกติ
ไตสามารถขับของเสียดังกล่าวออกทิ้งได้
นอกจากนั้น การเกิดภาวะโรคไตเรื้อรังยังทำให้เกิดโรคเลือดจาง,
โรคกระดูก, เลือดเป็นกรด, มีการเก็บกัก (retention) เกลือ
และน้ำในร่างกาย
ในคนไข้ทุกรายที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะดำเนินอย่างต่อเนื่องถึงระยะ
สุดท้ายของการเป็นโรคไตเรื้อรัง
3. End-stage renal disease (ESRD)
เมื่อโรคไตได้ดำเนินถึงระยะสุดท้าย
ไตที่ถูกทำลายไปไม่สามารถทำให้ฟื้นตัวสู่สภาพเดิมได้อีกต่อไป
ตลอดรวมถึงผลที่เกิดขึ้นก็เป็นเช่นเดียวกัน (irreversible)
และการที่คนไข้จะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด
เปลี่ยนไต ซึ่งรวมไปถึงการล้างเลือด (dialysis) ด้วย
ปัญหา...
เบาหวานเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคไตได้อย่างไร ?
การมีน้ำตาลในกระแสเลือดในระดับสูง
สามารถทำให้ไตทำงานมากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไป
น้ำตาลที่สูงขึ้นสามารถทำลายไตได้
สามารถทำให้ไตทำงานมากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไป
น้ำตาลที่สูงขึ้นสามารถทำลายไตได้
เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปี จะเริ่มมีโปรตีน (albumin)
รั่วออกทางไตในปริมาณไม่มาก
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า ไตถูกทำลายไปแล้ว
รั่วออกทางไตในปริมาณไม่มาก
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า ไตถูกทำลายไปแล้ว
คนเป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคไตเรื้อรังเสมอไป...
และมีปัจจัยหลายอย่าง สามารถมีอิทธิพลต่อ
การเกิดโรคไตได้
และมีปัจจัยหลายอย่าง สามารถมีอิทธิพลต่อ
การเกิดโรคไตได้
เช่น การควบคุมระดับน้ำในเลือด, ความดันโลหิต
และพันธุกรรม
และพันธุกรรม
ใครก็ตามที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล, ความดันโลหิตสูงได้ดี
เขาสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้
How are cardiovascular disease (CVD) and kidney disease related?
โรคไตเรื่อรังสามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือด (CVD)
ได้ และในทางกลับกัน โรคทางระบบเส้นเลือดและหัวใจ (CVD)
สามารถทำให้เกิดโรคไตได้เช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่า โรคทั้งสอง
จะเกิดร่วมกันจนแยกกันไม่ออกเลย
ผลจากการศึกษาจำนวนไม่น้อย พบว่า โรคของหัวใจและเส้นเลือด
(CVD) เริ่มจะมีผลกระทบต่อร่างกายตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของการเกิด
โรคไตในระยะแรก (first stage of kidney disease) แล้ว
และ คนไข้ที่เป็นไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) มักเป็นผลมาจาก
ภาวะแทรกซ้อนของโรคทางหัวใจและเสนเลือดกันเป็นส่วนใหญ่
และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดร่วมกับโรคไต จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ทำให้เกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดได้
ถ้าท่านได้รับการปลูกถ่ายไต (kidney transplant)…
เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ท่านอาจจำเป็นต้องเพิ่มระดับอินซูลินสูงขึ้น
หลังจากการปลูกถ่ายไต ท่านจะรู้สึกอยากรับประทานอาหารดีขึ้น
และไตใหม่ที่ท่านได้รับจะทำลายอินซูลินได้ดีกว่าเก่า
หลังการปลูกถ่ายไต...
ท่านจะต้องได้รับสาร steroid เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างายต่อต้านไตที่ท่านได้รับ
และหากการผ่าตัดปลูกถ่ายตเกิดการล้มเหลว
การล้างเลือด…dialysis สามารถนำมาใช้ในขณะที่ท่านรอการปลูกถ่ายไตใหม่
ในบางครั้ง ในขณะที่คนไข้ได้รับการปลูกถ่ายไต (kidney transplant)
เขาอาจจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายตับอ่อนได้ในขณะเดียวกัน
ผลจากการวิจัยได้แนะนำว่า การรับประทานอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำ
ย่อมสามารถชะลอไม่ให้ไตดำเนินสูงระยะสุดท้ายได้
สิ่งที่คาดหวังสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน:
ในขณะนี้ได้มีการใช้จ่ายอย่างมากถูกใช้ไปเพื่อการวิจัยในเองเบาหวาน
โดยหวังว่า เราจะสามารถป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาให้หายได้
และในระหว่างรอผลของการวิจัย เราสามารถจัดการกับโรคเบาหวาน
ได้ดีกว่าเดิม โดย:
§ ทำการตรวจดูระดับน้ำตาลของตัวเองได้ (home monitoring)
§ ควบคุมระดับความดันโลหิต และสามารถวัดระดับความได้ที่บ้าน
ของตนเอง และ
§ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น