วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Diabetes and Gastrointestinal disorders (1)

Feb.20, 2013


โรคกระเพาะ-ลำไส้จัดเป็นโรคกลุ่มหนึ่ง....
ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในทุกๆ คน  รวมถึงคนที่
เป็นโรคเบาหวานด้วย

ในช่วงหนึ่งของชีวิตของใครก็ตาม  
ต่างมีโอกาสเกิดมีปัญหาในระบบกระเพาะ และไส้ได้กันทุกคน 
ไม่มียกเว้นแม้แต่คนเดียว
โดยอาจเป็น “เป็นแผลในกระเพาะอาหาร, นิ้วในถุงน้ำดี,
โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome),
อาหารเป็นพิษ, และโรคอื่น ๆ

มีรายงานว่า  ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน  มีโอกาสเป็นโรคในระบบย่อยอาหารถึง 75 %
โดยพบได้ตั้งแต่ช่องปาก และท่ออาหาร  จนกระทั้งถึงลำไส้ใหญ่  และทวารหนัก 
ดังนั้น  จึงพบว่าคนที่เป็นเบาหวานที่มีปัญหาในทางเดินของกระเพาะ และลำไส้ 
จะมีอาการได้แตกต่างกันอย่างมากมาย

อาการที่พบบ่อยไดแก่  กลืนอาหารลำบาก, รับประทานอาหาร...อิ่มเร็ว,
กรดไหลย้อนกลับ, ปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, และท้องร่วง...

มีคนไข้เบาหวานเป็นจำนวนไม่น้อย เกิดมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบกระเพาะ-ลำไส้ 
ซึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัย และได้รับการรักษาได้ไม่เหมาะสม
หรือไม่ได้รับการรักษาเลย...

ภายใต้ภาวะมีน้ำตาลในเลือดสูงชนิด “ฉับพลัน” หรือชนิด “เรื้อรัง” ของคน
ที่เป็นโรคเบาหวาน  ซึ่งต่างมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน
ทางระบบกระเพาะ-ลำไส้ได้คล้าย ๆ กัน

โรคเบาหวานสามารถกระทบกับทุกระบบในร่างกาย 
และที่เกิดกับระบบทางเดินอาหาร  ก็สามารถกระทบระบบต่างๆ ในร่างกายได้เช่นกัน 
นอกจากนั้น  เรายังพบว่า  ความรุนแรงของโรคในระบบดังกล่าว
ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด
และระยะเวลาที่เกิดปัญหา  ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานด้วยเหตุผลใดก็ตาม   
โอกาสที่จะมีอาการรุนแรงยิ่งมีมากขึ้น

คนเป็นเบาหวาน  ซึ่งมีปัญหาทางระบบทางเดินอาหาร 
จะมีความสัมพันธ์กับเซลล์ประสาท  ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ 
มีชื่อเรียกว่า enteric nervous system  ซึ่งสามารถถูกทำลายได้
คล้ายกับเส้นประสาทของขา (peripheral neuropathy)

เมื่อประสาทของลำไส้ถูกทำลาย ถูกเรียกว่า “enteric neuropathy”
เป็นระบบประสาทที่อยู่ในระบบอัตโนมัติ  ซึ่งไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้
เมื่อมันถูกทำลาย  จะก่อให้ความผิดปกติหลายอย่างเกิดขึ้น
เช่น ความผิดปกติในการเคลื่อนไหว (motility)ของลำไส้,
ความรู้สึกตัว (sensation), การขับน้ำ... (secretion), 
และการดูดซึมสารอาหาร (absorption)

ความผิดปกติที่เกิดขึ้น  ย่อมขึ้นกับใยของเส้นประสาทที่เกิดการอักเสบ
และถูกทำลาย  บางชนิดถูกกระตุ้น,  บางชนิดจะถูกยับยั้ง 
เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหว และการทำงานทำงานของลำไส้แตกต่างกันไป
(ช้าลง & เร็วขึ้น)  ซึ่งทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง


ท่ออาหาร และกระเพาะอาหารในคนเป็นเบาหวาน
(The Oesophagus & Stomach in Diabetes)
Gastroparesis 
Diabetic gastroparesis เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งมีลักษณะ
อ่อนแอ  หรือจะเรียกว่าการะเพาะอาหารเป็นอัมพาติก็คงไม่ผิด 
ไม่สามารถขับอาหารที่รับประทานเข้าไปให้ผ่านไปออกไปยังลำไส้ส่วนทีอยู่ถัดไปได้
เป็นเหตุให้เกิดมีอาการเรอเปี้ยว (bloating), รับประทานอาหารได้น้อย
รู้สึกอิ่มเร็ว (early satiety), แน่นท้อง (distention), คลื่นไส้ (nausea),
อาเจียน (vomiting) และปวดท้อง (abdominal pain)


การมีอาหารเหลือตกค้างในกระเพาะอาหาร  อาจทำให้เกิดมีกรดย้อนกลับ
เลวลง  ร่วมกับมีอาการต่างๆ เช่น  แสบท้อง (heartburn)

นอกจากนั้น  อาหารประเภทไขมัน  และอาหารประเภทสมบูรณ์ด้วยสารใยอาหาร 
สามารถทำให้อาหารในกระเพาะอาหารไม่ค่อยเคลื่อนที่  และตกค้างในกระเพาะมากขึ้น 
อาจเป็นเหตุให้คนไข้ไม่สามารถทนภาวะดังกล่าวได้

การวินิจฉัย gastroparesis  ส่วนใหญ่เกิดจากความสงสัย และอาการของ
คนไข้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

การตรวจ Upper GI endoscopy จะช่วยแยกโรคโรคอื่นๆ ออกไปเท่านั้น
แต่ไม่สามารถวินิจฉัยภาวะกระเพาะอ่อนแรง (gastroparesis) เลย
ส่วนการทำ  Upper GI barium studies อาจยืนยันการตกค้างของสารในกระเพาะอาหารได้ 

การตรวจด้วย nuclear medicine เพื่อตรวจดูการทำงานของกระเพาะอาหาร(emptying)
จะเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรค gastroparesis ได้

ในการรักษาภาวะ gastroparesis  มีวิธีการมากมาย 
ซึ่งอาจให้ประโยชน์ต่อการรักษาภาวะ diabetic gastroparesis เช่น:
แนะนำให้รับประทานอาหารด้วยปริมาณน้อย  และบ่อยครั้ง 
อาจช่วยบรรเทาอาการลงได้บ้าง  ส่วนอาหารควรเป็นประเภทน้ำ 
จะทำให้อาหารไหลผ่านกระเพาะได้ง่ายขึ้น

ในรายที่มีอาการรุนแรง  อาจจำเป็นต้องใช้ท่อยาง (naso-gastric tube) ดูด
เอาของที่ตกค้างออก  ซึ่งจะมีประโยชน์ในรายที่มีอาการรุนแรง
สามารถช่วยบรรเทาอาการลงได้

มียาหลายขนานถูกนำมาใช้รักษาภาวะ diabetic gastroparesis
เช่น  Dopaminergic antagonist : Metclopromide (Reglan) จะช่วยทำ
ให้กระเพาะเคลื่อนตัวได้ดี  และมีฤทธิ์ต่อต้านการอาเจียน (antiemetic…)

เนื่องจากยาตัวนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมองได้... 
จึงทำให้เกิดอาการทางประสาท  เช่น  เกิดอาการง่วงนอน, สั่น (tremor),
เกิดอาการสับสน (confusion),เกิดมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณคอ
บางรายมีลิ้นแข็ง (dystonia)  และก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวผิดปกติที่บริเวณใบหน้า
แม้ว่าจะหยุดยาแล้วก็ตาม  อาการยังคงปรากฏให้เห็น

ยาอีกกลุ่มเป็นพวก prokinetic agent ที่นำมาใช้รักษาคนไข้ คือ cisapride…
เป็นยาที่ทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้อาหารผ่านได้เร็วขึ้น
ไม่มีปัญหาเหมือนกับยา metclopromamice (dompamine antagonist)

ในการใช้ยา cisapride จะต้องระวัง  เพราะมันทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ
โดยเฉพาะในคนไขที่มี prolong QT interval และในคนไขที่รับประทานยา
พวก erythromycin, clarithromycin, fluconazole, ininavir  และยาตัวอื่นๆ
ที่ไปยังยั้ง cytochromeP3A4


มียาอีกตัว ชื่อ Domperidone (Motilium)
เป็นยาในกลุ่ม dopaminergic antagonist เหมือนกับ metclopropamide 
แต่มันไม่สามารถผ่านเข้าสู่สมอง  จะออกฤทธิ์ช่วยทำให้กระเพาะทำงานได้ดีขึ้น 
มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยมาก

Erythromycin มีคุณสมบัติพิเศษ...
ซึ่งกระตุ้นให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหว (gastric motility) ได้ดีขึ้น
อาจมีประโยชน์ในคนไข้บางราย  ทำให้อาหารไม่เหลือค้างในกระเพาะแต่มีผลข้างเคียง 
ซึ่งทำให้คนไข้ไม่สามารถทนต่อการใช้ยาดังกล่าว  รวมทั้งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้

ยาแก้อาเจียน (antiemetic agents) เช่น prochloerazine (Compazine)
และ promethazine (Phenergan) สามารถช่วยบรรเทาอาการให้แก่คนไขได้

เมื่อไม่นานมานี้  ได้มีวิธีการรักษาสำหรับรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ด้วยผ่าตัดใส่ implantable gastric pacemaker ไว้ที่กระเพาะอาหาร  กระตุ้น
ให้กระเพาะมีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น  แต่ผลจากการทดลงยังน้อยมาก
ต้องรอดูผลกันต่อไป

ในการรักษาภาวะ  diabetic gastroparesis…
นอกเหนือจากการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ  จะมีผลกระทบต่อ
ภาวะ  gastroparesis  ควรควบคุมเรื่องอาหารด้วยการประทานอาหารจำนวน
ไม่มาก  แต่บ่อยครั้ง  หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นมัน 
และมีใยอาหารมากจะทำให้กระเพาะทำงานได้ดีขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น