Feb. 10, 2013
เป็นที่ทราบกันว่า...
ไตของคนเรามีบทบาทสำคัญต่อการทำให้กระดูกของเราอยู่ในสภาพที่ดี
โดยการทำงานร่วมกันต่อม “พาราไทรอยด์”
(ถูกตั้งชื่อเช่นนั้นเพราะมันอยู่ใกล้ชิดกับต่อมไทรอยด์)
ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมธาตุ “แคลเซี่ยม” และ “ฟอสฟอรัส” ...
ปกติ...
เราจะได้รับ Vitamin D จากแสงอาทิตย์ และจากอาหารที่เรารับประทาน
โดย Vitamin D จะช่วยทำให้ธาตุ “แคลเซี่ยม” จากอาหารที่ถูกดูดซึม
เข้าสู่กระแสโลหิต จากนั้นมันจะถูกกระตุ้น (activated) ที่ตับก่อน
และตามด้วยการกระตุ้นที่ไตทั้งสอง
ถ้า...
ไตของท่านไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ย่อมทำให้ไตของท่านไม่สามรถกระตุ้น vitamin D ได้
เป็นเหตุธาตุแคลเซี่ยม ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ตามปกติ
ทำให้ระดับของ “แคลเซี่ยม”ในกระแสเลือดลดต่ำลง
เมื่อระดับของ “แคลเซี่ยม” ในกระแสเลือดลดลง...
ต่อม “พาราไทรอยด์” จะตื่นตัวเพื่อจัดการดึงเอาธาตุ “แคลเซี่ยม” จากกระดูก
สู่กระแสโลหิต เพื่อทำให้ระดับแคลเซี่ยมในกระแสเลือดอยู่ภาวะสมดุล
เป็นเหตุให้กระดูกสูญเสีย “แคลเซี่ยม” ไป
ปัจจัยที่สองที่กระทบต่อการทำงานของต่อม “พาราไทรอยดื”
ได้แก่ตัวของไตเอง...
เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ไม่สามารถกำจัดเอา phosphorous
ซึ่งได้จากอาหารออกทิ้งไปได้ เป็นเหตุให้ระดับของสารดังกล่าว
ในกระแสเลือดขึ้นสูงซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อม “พาราไทรอยด์” แผลงฤทธิ์อีก
ครั้งด้วยการถึงเอา “แคลเซี่ยม” ออกจากกระดูก
นอกจากนั้นยังพบอีกว่า...
ระดับฟอสฟอรัสที่สูงขึ้นยิ่งทำให้ไตเสื่อม หรือถูกทำลายเร็วขึ้น
จากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น...
จะทำให้คุณภาพของกระดูกเลวลง เกิดเป็นโรคมีชื่อเรียกว่า
renal bone disease หรือ renal osteodystrophy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น