ในการรักษาคนเป็นเบาหวานประเภท 2 (T2D)...
เรามีทั้งยาเม็ดรับประทาน (OADs) และยาฉีดเพื่อลดระดับระดับน้ำตาล
ยาฉีด insulin มีหลายชนิด นอกจากมีทั้งออกฤทธิ์เร็ว (fast-acting)
และออกฤทธิ์ได้ในระยะยาวแล้ว เรายังมียาสองชนิดอยู่ในขวดเดียวกัน เป็นยา
ออกฤทธิ์เร็ว และออกฤทธิ์ช้า เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลใน
ออกฤทธิ์เร็ว และออกฤทธิ์ช้า เพื่อใช้จัดการกับน้ำตาลใน
กระแสเลือดที่เกิดจากตับ และได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป
เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการเสื่อมลงด้วยการดำเนินอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง
โดยเกิดจากร่างกายต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน (insulin resistance) จนกระ
ทั้งถึงขั้นเซลล์ของของตับอ่อน (beta-cell) มีการเสื่อมสลายลงไปจนเป็นเหตุ
ให้ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน (insulin deficiency)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว การรักษาคนที่เป็นโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องมีการ
ปรับเปลี่ยน....เพื่อจัดการควบคุมระดับน้ำตาลที่สูงให้ลดลงสู่ระดับปกติให้ได้
ในการปรับเปลี่ยน หรือรักษาโรคเบาหวานให้เป็นไปตามที่ต้องการ...
มีวิธีการรักษาเรียก Basal-bolus insulin therapy
ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ใช้สารอินซูลินต่างชนิดรวมกัน
โดยปกติ...
น้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดมาจากสองแหล่งด้วยกัน
หนึ่งนั้นมาจากสาร “คาร์โบฮัยเดรต” ที่ได้จากอาหารที่คนเรารับประทานเข้า
และสอง เป็นน้ำตาล “กลูโกส” ที่สร้างของตับ (Liver) เอง
ตับจะทำหน้าที่จัดหาน้ำตาล “กลูโกส” ให้แก่ร่างกายในระหว่างที่คนเรา
ไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งกระทำได้โดยทำให้น้ำตาลที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน
(complex sugar) ในรูปของ glycogen ให้เกิดการแตกตัวเป็น “กลูโกส”
และยังได้จากการสร้างน้ำตาลขึ้นมาใหม่จาก protein และ fats ด้วยกระบวนการ
ที่เรารียกว่า gluconeogenesis
ที่เรารียกว่า gluconeogenesis
น้ำตาลที่ได้จากการรับประทานอาหาร และน้ำตาลที่ได้จากการสร้างของตับ
จะทำให้ร่างกายมีน้ำตาลไหลเวียนในกระแสเลือดตลอด 24 ชั่วโมง
และเป็นหน้าที่ของ “อินซูลิน” ที่สร้างจาก"เบต้าเซลล์" ของตับอ่อน (pancreas)
ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานต่อไป ซึ่งนั่นหมายความว่า...
เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานต่อไป ซึ่งนั่นหมายความว่า...
ร่างกายจะต้องมี “อินซูลิน” ไหลเวียนในกระแสเลือดตลอด 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน
แม้ว่าร่างกายของเรา สามารถสร้างน้ำตาลได้อย่างต่อเนื่องก็ตาม
แต่ปริมาณของน้ำตาลในเลือดจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงของวัน
หลังการรับประทานอาหาร...
ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นตามชนิดของอาหารที่มีน้ำตาล
ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นตามชนิดของอาหารที่มีน้ำตาล
และอาหารทีมี “คาร์โบฮัยเดรต” ชนิดต่าง ๆ
และน้ำตาลในกระแสเลือด ส่วนน้อยจะเป็นน้ำตาลที่ผลิตจากตับ
ซึ่งมีการสร้างตลอดเวลา ในปริมาณคงที่
เบต้าเซลล์ของตับอ่อน จะทำหน้าที่ผลิต insulin ในรูปแบบที่เหมือนเดิม...
ซึ่งหมายความว่า ตับอ่อนจะผลิต “อินซูลิน” ออกมาในปริมาณไม่มากนัก
แต่มีปริมาณเพียงพอที่จะจัดการกับน้ำตาลที่ตับที่สร้างขึ้นได้เท่านั้น
อินซูลินชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็น basal insulin
ปริมาณของอินซูลินจะถูกสร้างเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อระดับน้ำตาล
ที่ได้จากรับประทานอาหาร และ จะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนอาหารที่มี
คาร์โบฮัยเดรต และน้ำตาลเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลที่กล่าวมา จะเห็นว่า...
สำหรับบทบาท “bolus role”…
เป็นปฏิบัติการณ์ของ “อินซูลิน” ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
โดยตับอ่อน (pancreas) จะเป็นตัวสร้าง “อินซูลิน” ขึ้นมาเพื่อจัดการกับ
น้ำตาลที่เพิ่มจากอาหารที่คนเรารับประทานเข้าไป
Bolus insulin อาจเรียกอีกชื่อว่า mealtime insulin
และ basal insulin เป็น all-day background insulin
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น