วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

BASAL INSULIN 2

Continued…


คำถามมีว่า....
หากเราไม่มี basal insulin ละ....อะไรจะเกิดขึ้น ?

ตามปกติแล้ว  ตับจะทำหน้าที่ปล่อยน้ำตาลออกสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง
หากร่างกายของคนเราไม่มี insulin   เอาแค่สองสามชั่วโมงเท่านั้นแหละ!
จะทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของเราพุ่งสูงขึ้นทันที

การที่ร่างกายของคนเรามี basal insulin  โดยตับอ่อนเป็นตัวรับผิดชอบต่อ
การผลิตได้อย่างเพียงพอนั้น  จะทำหน้าที่ช่วยเผาผลาญน้ำตาล
ภายในเซลล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกายได้เป็นปกติ

ในกรณีที่ร่างกายไม่มี basal insulin….
เซลล์ของร่างกายจำนวนไม่น้อยจะขาดพลังงาน (อาหาร) หรืออาจตายไป ?
เซลล์บางตัวจะหาพลังงานจากที่อื่น  ด้วยการเผาผลาญแหล่งพลังงานจากที่อื่น
เช่น  ไขมัน (fat)  ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (ketones)
(ผลิตผลของการเผาผลาญไขมัน)

ผลรวมระหว่างสารที่ทำให้เลือดเป็นกรด (acidic waste) กับภาวการณ์ขาดน้ำ
(dehydration) สามารถทำให้เกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
ซึ่งเรียกว่า  diabeticketoacidosis (DKA)

จากข้อมูลที่กล่าวมา...
พอจะกล่าวได้ว่า  basal insulin เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย
เพื่อคงสภาพระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ 
เพื่อให้ร่างกายของเรามีชีวิตสามารถดำเนินต่อไปได้

คำถามต่อไป...
เราได้ basal insulin จากไหน?,  ร่างกายต้องใช้ในปริมาณแค่ใด ?
และ จำเป็นต้องมีได้เมื่อใด ?

Basal options
ทางเลือก...
คนเราแต่ละคนต่างต้องการอินซูลินชนิด Basal insulin แตกต่างกัน
โดยมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง

เช่น ขนาดของร่างกาย (body size),  ระดับการออกแรง (activity level),
ระยะของการเจริญเติบโต (stage of growth), ปริมาณของอินซูลินที่ร่าง
กายผลิตขึ้นได้จากตับอ่อน

ในระหว่างมีการเจริญเติบโต (จากเกิดถึงอายุ 21)
เราจะพบว่า  basal insulin จะมีระดับสูงขึ้นตลอดช่วงกลางคืน 
ทั้งนี้เป็นเพราะ เป็นผลมาจากฮอร์โมน (growth hormone & cortisol) 
ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุนตับ (liver) ให้ปล่อยน้ำตาลสู่กระแสเลือด

พอมาถึงช่วงที่เป็นคนหลังเจริญวัย (after 21) จะพบว่า
ระดับของ growth hormone & cortisol จะลดลง
และจะจำกัดในช่วงเวลา “ก่อนฟ้าสาง”  (predawn) เท่านั้น
ทำให้ตับปล่อยน้ำตาลสู่เลือดลดลง  และระดับของ basal insulin ก็ลดลงเช่นกัน



ปรากฏการณ์ “ฟ้าสาง”  (dawn phenomenon)
ซึ่งเป็นผลมาจากตับ (Liver) ปล่อยน้ำตาลสูกระแสเลือดในช่วงเช้า ๆ
หรือช่วงฟ้าสาง (dawn) เพิ่มขึ้น (early morning)
เป็นเหตุให้ระดับ basal insulin ในช่วงดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น

เพื่อให้ร่างกายของคนเราได้รับ basal insulin ตามความต้องการของร่างกาย
ที่มีระดับของน้ำตาลที่ถูกสร้างโดยตับที่ถูกควบคุมของฮอร์โมนตามกล่าว
เราสามารถให้ basal insulin ได้หลายรูปแบบ  ดังนี้:
 
Intermediate-acting insulin (NPH):
การให้อินซูลินชนิดให้แก่คนไข้  ด้วยการให้วันละครั้ง
สามารถทำให้ร่างกายมี  basal insulin ในร่างกายในระดับคงที่ตลอดวัน
และตลอดคืน (24 ชั่วโมง)

ถึงแม้ว่า  หลังการฉีดยาตัวดังกล่าว จะทำให้อินซูลินมีระดับสูงสุดใน
ช่วง 4-8 ชั่วโมงก็ตาม แต่มันจะลดต่ำลงในระยะเวลา  16 – 24 ชั่วโมง

Insulin glargine (Lantus) และ Insulin detemir (Levemir):
อินซูลินชนิดนี้ หลังฉีดจะทำให้ระดับของสารในเลือดอยู่ในระดับ
คงที่ตลอด 24 ชั่วโมง  แม้ว่าในคนไข้บางราย  จะพบว่าระดับของ
อินซูลินอาจลดต่ำลงในช่วงแรกๆ ได้

Insulin pumps:


การอินซูลินแก่คนไข้ด้วยรูปแบบนี้  สามารถให้ basal insulin แก่
คนไข้ในขนาดน้อย   ด้วยการให้อินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็ว-สั้น
โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดสอง-สามนาทีตลอดวัน  และตลอดคืน


ด้วยการฉีดในช่วงสั้นตลอดวัน ตลอดคืน (24 ชั่วโมง) นั้น 
เราสามารถปรับขนาดของอินซูลินได้  โดยให้สัมพันธ์กับรระดับของ
น้ำตาลที่ตับ (Liver) ปล่อยสู่กระแสโลหิตได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น