วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Diabetic neuropathy: Diagnosis 3

Feb. 17,2013

การวินิจฉัย :
How are diabetic neuropathies diagnosed?

ในการวินิจฉัยเส้นประสาทประสาทอักเสบถูกลาย...
กระทำได้โดยอาศัยข้อมูลจากประวัติการเกิดอาการยืน และการตรวจร่างกาย
ระหว่างการตรวจร่างกาย  แพทย์จะทำการตรวจความดันโลหิต (BP),
อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate), ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
(muscle strength), การตอบสนองต่อการกระตุ้น (reflexes),
ความไว (sensitivity) ต่อการเปลี่ยนตำแหน่งท่าทางของร่างกาย,
การสั่น (vibration), อุณหภูมิ (temperature) หรือสัมผัส (touch)

Foot Exams

ในการตรวจภาวะเส้นประสาทอักเสบถูกทำลาย....
แพทย์เขาแนะนำให้ทำการตรวจเท้าทุกปี 
เพื่อตรวจสอบดูว่า  มีการอักเสบของเส้นประสาท
ส่วนปลาย (peripheral neuropathy) หรือไม่ ?

ในการตรวจเท้าของคนไข้...
แพทย์จะทำการตรวจดูผิวหนัง, กล้ามเนื้อ, กระดูก, การไหลเวียนของเลือด  และความรู้สึกของเท้าว่าเป็นอย่างไร ?

โดยทำการตรวจดูความรู้สึกที่มีหน้าที่ปกป้อง (protective sensation) ของเท้า   หรือดูความรู้สึกของเท้าว่า 
คนไข้มีความรู้สึกอย่างไร  เมื่อถูกสัมผัสด้วย “ไนลอน” หรือสัมผัสด้วยขนสัตว์ที่มีความแข็งหน่อย 

ในรายที่ไม่มีความรู้สึกต่อแรงกดจาก “ปลายเข็ม” หรือจาก “ไนลอน”
หรือ “ขนสัตว์” แสดงให้ทราบว่า  คนไข้สูญเสียความรูสึกปกป้องตนเองไป
ทำให้เขามีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย
 
และหากมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าเมื่อใด  ขอให้รู้ด้วยว่า แผลที่เกิดมีโอกาสหายได้ช้า...
หากไม่ระมัดระวังให้ดี  มีโอกาสรุกรามเป็นเรื่องใหญ่โต อาจถูกตัดขาได้ 

การตรวจอย่างอื่น

แพทย์อาจทำการตรวจอย่างอื่นๆ  โดยเป็นส่วนหนึ่งของการวินิจฉัยโรค
ซึ่งเราในฐานะของคนไข้ควรรู้เอาไว้  ได้แก่:

Nerve conduction studies or electromyography
เป็นการตรวจที่บางครั้งถูกนำมาใช้ตรวจดูประสาทที่ถูกทำลาย
ซึ่งสามารถทำการตรจได้ทั้งชนิด และดีกรีของการทำลายเส้นประสาท   ว่ามีมากน้อยแค่ใด?

การตรวจ nerve conduction
เป็นการตรวจดูคลื่นกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านเส้นประสาท
Electromyography เป็นการตรวจดูว่า การตอบสนองของกล้ามเนื้อที่มีต่อ
คลื่นกระแสไฟฟ้าที่วิ่งผ่านจากเส้นประสาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียง...
การตรวจเหล่านี้  ไม่ค่อยจะนำมาใช้ในการวินิจฉัยภาวะ
เส้นประสาทถูกทำลายเท่าใดนัก


 A check of heart rate variability…
เป็นการตรวจดูความผิดปกติ (ความผันแปร) ของกล้ามเนื้อหัวใจ
ที่เกิดขึ้นต่อการหายใจลึก ๆ (deep breath)
หรือ จากการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต 

Ultrasound
ถูกนำมาใช้ตรวจดูภาพ  (imaging) ของอวัยวะภายในร่างกาย
เช่น  ดูภาพของกระเพาะปัสสาวะ  และส่วนอื่นของระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ซึ่งสามารถตรวจดูว่า  หลังการถ่ายปัสสาวะแล้ว กระเพาะปัสสาวะขับปัสสาวะไปแล้ว
ยังมีปัสสาวะเหลืออยู่มากน้อยแค่ใด 


  << Back          Neck>>


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น