วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Protect Your Kidneys: Control Diabetes, Blood Pressure


ได้กล่าวมาแล้วว่า....
คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไต 
และคนที่รู้ว่าเป็นโรคไตแล้ว  ก็ไม่ค่อยจะระมัดระวังตัวเท่าใดนัก ?
จนเป็นเหตุให้สมรรถภาพไตของตนเองต้องลงเอยด้วยการเป็นไตวาย

อย่างไรก็ตาม  เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน 
อย่าลืมปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำงานของไตของท่าน 
และพยายามทำให้ไตของท่านอยู่ในสภาพที่ด้อยู่เสมอด้วยการควบคุมระดับ
น้ำตาลในกระแสเลือด  และควบคุมระดับความดันของท่านให้อยู
ในระดับปกติให้ได้

วันที่ 8 มีนาคม เขาถือเป็นวันไตโลก...
เป็นวันที่ที่สำหรับทำให้คนเราตระนักรู้ถึงโรคไต  และความสำคัญของ
การป้องกัน  และการวินิจฉัยโรคภาวะเป็นโรคไตให้ได้ตั้งแต่มันเริ่มเกิด

เมื่อโรคไตที่เกิดขึ้นจะทำลายไตของท่าน...
การปกป้องไตไม่ให้ทำงานด้วยการทำความสะอาดของเลือดให้ดีที่สุด
เท่าที่ทำเราสามารถกระทำได้

ไตเมื่อถูกทำลายจะทำให้ของเสียถูกสะสมภายในร่างกาย  และทำให้
เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพเกิดขึ้นหลายอย่าง 
เป็นต้นว่า โรคหัวใจ, โรคโลหิตจาง  และโรคกระดูก

ในคนเป็นโรคไตเรื้อรัง  หากไม่ได้รับการรักษา 
ในที่สุดจะลงเอยด้วยการเกิดโรคไตวาย

อย่างที่ได้กล่าว...
เมื่อท่านเป็นโรคไต  การวินิจโรคให้ได้ตั้งแต่เริ่มแรก  ไม่ใช่วินิจฉัย
ได้เมื่อสายเสียแล้ว  เพราะการรักษาสามารถชะลอโรคไม่ให้เสื่อมลง
สามารถป้องกัน  และชะลอไม่ให้เกิดไตวายได้

เนื่องจากโรคไตเรื้อรังมักจะเสื่อมลงอย่างช้า ๆ และมีอาการน้อยมาก
จึงทำให้คนเป็นโรคดังกล่าวไม่รู้ว่า 
โรคไตได้ด้ำเนินอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นต้องได้รับการฟอกเลือด
ดังนั้น  การตรวจเลือด  และตรวจปัสสาวะจึงจะสามารถบอกได้ว่า
ท่านเป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)

คำแนะนำสำหรับทำให้ไตของท่านอยู่ในสภาพสมบูรณ์

ขั้นตอนสำหรับทำให้ไตอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มีดังนี้:
§  ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 mm Hg
§  ทำให้ระดับของไขมันในเลือดอยู่ในระดับปกติ
§  จำกัดความเค็ม (salt) ของอาหาร
§  รับประทานอาหารสุขภาพ
§  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ
§  รับประทานยารักษาตามแพทย์สั่งอย่าได้ขาด
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานด้วย  มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
§  ควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดต่ำสู่ระดับปกติให้ได้

§  ทำการตรวจ A1C ของเลือดอย่างน้อยปีละสองครั้ง
       ถ้าจะให้ดีควรตรวจทุกสามเดือน

§  การตรวจดูค่า A1C เป็นการตรวจดูระดับของน้ำตาลในกระแส
เลือดย้อนหลังได้สามเดือน
ถ้าผลจากการวัดความดันโลหิตพบว่า  ความดันของท่านมีระดับสูง
ท่านจำเป็นต้องตรวจวัดความดันของท่านอย่างสม่ำเสมอ
และจัดการควบคุมให้อยู่ในระดับปกติ  และจงแน่ใจด้วยว่า
ไตของท่านอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เป็นปกติอยู่เสมอ ซึ่งท่านจำเป็น
ต้องปรึกษาแพทย์ของท่าน เพื่อควบคุมความดันโลหิตของท่านให้
อยู่ในระดับปกติ...นั่นคือวีการป้องกันไม่ให้ท่านเป็นโรคไตละ!

ในการป้องกันไม่ให้เป็นโรเบาหวานประเภทสอง...
ก็จัดเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งสำหรับป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตได้
ผลจากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้  บอกให้ทราบว่า
การปล่อยให้น้ำหนักตัวสูง  จะทำให้เกิดความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทสองได้สูงขึ้น

การลดน้ำหนักตัว  5 – 7 % ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 10 – 14
ปอนด์ของคนน้ำหนัก 200 ปอนด์  สามารถป้องกัน หรือชะลอการ
โรคไตได้  ซึ่งท่านสามารถกระทำได้โดยไม่ยากด้วยการรับประทาน
อาหารสุขภาพ  และออกกำลังกายทุกวัน 
(อย่างน้อย 150 นาที ต่อหนึ่งอาทิตย์)

เราทราบได้อย่างไรว่า...
ใครมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคไตละ ?

นอกเหนือจากโรความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานแล้ว...
ยังมีปัจจัยอย่างอื่นอีกหลายอย่าง  ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคได้ เช่น  โรคหัวใจ, ความอ้วน,  สูงอายุ,
ไขมันในเลือดสูง,  และมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต 
และบาดเจ็บสามารถทำให้เกิดโรคไตได้

มีรายงานว่า  ในคนเป็นเบาหวานเกิดเป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรังได้ถึง
35 % และการมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับการมีระดับน้ำตาล
ในเลือดสูง  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง  ซึ่งจะนำ
ไปสู่การเกิดโรคไตวายในที่สุด

ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน...
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาโรคความดันให้เป็นปกติ
ให้ได้  จะทำให้สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต
และอาจชะลอความเสื่อมของโรคไต (ถ้ามี) ได้

การอักเสบติดเชื้อ และบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไต
สามารถทำลายไตได้

การอักเสบติดเชื้อ  เช่น การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และ
อักเสบของไต  สามารถทำลายไตได้เช่นกัน
ซึ่งท่านต้องให้แพทย์ทราบเมื่อท่านพบอาการดังนี้

§  ปัสสาวะขุ่น หรือปัสสาวะเป็นเลือด
§  เจ็บแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ
§  อยากถ่ายปัสสาวะโดยกลั้นไม่อยู่

นอกจากนั้น  การอักเสบของไตยังมีอาการอย่างอื่นอีก เช่น
§  ปวดเอว
§  หนาวสั่น
§  เป็นไข้
ระยะสุดท้ายของโรคไตเรื้อรัง:
ระยะสุดทายของโรคไต  คือไตวาย ซึ่งมีการรักษาได้สองทาง
เท่านั้น  หนึ่งคือ ฟอกเลือด (hemodialysis)
หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต (kidney transplantation)




โดยสรุป  เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคไต...
เราจำเป็นต้องปฏิบัติการตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมา  เพื่อทำให้ไต
ของเราอยู่ในสภาพที่เป็นปกติ และสมบูรณ์อยู่เสมอ
พร้อมกับมีการตรวจเช็คเลือด และปัสสาวะเป็นระยะ...


http://www.cdc.gov/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น