วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Gastroparesis


มีการตั้งคำถามว่า...
ทำไมคนเป็นโรคเบาหวานจึงมักจะมีอาการทางกระเพาะอาหารกัน ?
บางคนมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง,  คลื่นไส้  อาหารไม่ย่อย
บางรายมีอาการของกรดไหลย้อนกลับ  น้ำหนักลด
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวด้วยความมั่นใจว่า...
มันเป็นภาวะแทรกซ้อนของคนเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง 
แพทย์เขาเรียกว่า “gastroparesis” (กล้ามเนื้อกระเพาะทำงานน้อยลง)

Gatroparesis  คืออะไร ?
Gastroparesis เป็นโรคของกระเพาะอาหาร 
ซึ่งมีต้นเหตุมาจากโรคเส้นประสาทของกระเพาะอาหารถูกทำลาย
(nerve damage)  เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อกระเพาะอ่อนแรง  
ทำให้ไม่สามารขับเคลื่อนาหารให้ผ่านไปยังส่วนต้นของลำไส้ (duodenum) ได้  
จึงมีอาหารเหลือตกค้างในกระเพาะอาหาร  
และทำให้เกิดอาการขึ้น

เส้นประสาทที่ถูกทำลาย 
สามารถเกิดจากการมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง
กว่าปกติเป็นเวลานาน   บางคนเรียกว่า  น้ำตาลเป็นพิษ
(glucose toxicity)


การเกิดภาวะอาหารไม่ย่อย หรือการมีอาหารตกค้าง
ในกระเพาะอาหาร  ยิ่งทำให้การรักษาเบาหวานได้ยากขึ้น
ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วย “อินซูลิน”, ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล, ควบคุมอาหาร,
หรือในรายที่เป็นมาก ๆ  อาจให้อาหารผ่านทางสาย (feeding tube)


Gastroparesis เป็นความผิดปกติของกระเพาะ
หรือโรคกระเพาะ  โดยกล้ามเนื้อกระเพาะทำงาน
น้อยลง  ซึ่งเกิดขึ้นในคนเป็นเบาหวานทั้งประเภทหนึ่ง 
และเบาหวานประเพทสอง  เป็นเหตุให้กระเพาะอาหาร
ต้องเสียเวลาเพื่อทำให้อาหารผ่านสู่ลำไส้ 
เป็นเหตุให้มีอาหารเหลือตกค้างในกระเพาะอาหาร

การเคลื่อนไหวของอาหารในกระเพาะลำไส้จะถูกควบคุมโดยประสาท
ที่มีชื่อว่า “vagus nerve” 
และถ้าหากเมื่อใดเส้นประสาทดังกล่าวถูกทำลาย หรือไม่ทำงานขึ้นมา 
ย่อมมีผลกระทบต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร และลำไส้ 
เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อของกระเพาะและลำไส้ทำงานได้ช้าลง
ทำให้อาหารตกค้างในกระเพาะอาหาร  แลก่อให้เกิดอาการขึ้น
ลักษณะของเส้นประสาท vagus ถูกทำลายไป...
จะคล้ายกับเส้นประสาทชนิดอื่น ๆ ถูกทำลาย (neuropathy)  ซึ่งเป็นผลมา
จากโรคเบาหวาน  โดยการมีระดับน้ำตาลสูงในกระแสเลือดเป็นเวลานาน
และจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนี้เอง  ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมีในตัวเส้นประสาท  และทำให้เส้นเลือดที่นำอาหาร 
และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลายไป

อาการอของ gastroparesis

อาการ และอาการแสดงของภาวะ gastroparesis
ได้แก่                                                                                      
·         Heartburn                                    
·         Nausea
·         Vomiting of undigested food
·         Early feeling of fullness when eating
·         Weight loss
·         Abdominal bloating
·         Erratic blood glucose (sugar) levels
·         Lack of appetite
·         Gastroesophageal reflux
·         Spasms of the stomach wall


อาการต่างเหล่านี้  อาจมีอาการไม่มาก (mild) จนกระทั้งถึงอาการรุนแรง
(severe)  ทั้งนี้ขึ้นกับคนไข้แต่ละราย

ผลแทรกซ้อนจาก ภาวะ  gastroparesis:
คนที่เป็นโรคเบาหวานและเกิดภาวะ gastroparesis…
พบว่า  การรักษาโรคเบาหวานจะยากยิ่งขึ้น  ควบคุมระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดได้ไม่ดี  ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะอาการที่ตกค้างใน
กระเพาะอาหาร (delayed)  แต่สุดท้ายอาหารที่ผ่านไปยังลำไส้ใน
ตอนหลังจะดูดซึมสู่กระแสเลือด  เป็นเหตุทำใหระดับน้ำตาลสูงขึ้น

เราจะวินิจฉัยโรคได้อย่างไร ?

การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะเกิดภาวะอ่อนแรง  สามารถ

ยืนยันด้วยการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

 

§  Barium X-ray

เป็นการตรวจกระเพาะอาหารในขณะท้องว่างด้วยการดื่มน้ำที่เป็น
สารทึบแสงเอกเรย์ (barium)  ซึ่งเราจะมองเห็นสารดังกล่าในของ
กระเพาะอาหาร  โดยปกติมันจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง 
หากยังพบสาร barium ตกค้างในกระเพาะอาหารแสดงให้ทราบว่า 
คนไข้น่าจะมีภาวะ gastroparesis

§  Barium Beefsteak Meal
 เป็นการตรวจด้วยการรับประทานอาหารที่มีสาร barium
 ซึ่งอนุญาตให้แพทย์ทำการสังเกตดูกระเพาะย่อยอาหาร  เวลาที่ใช้ใน
 การย่อยอาหารที่มีสาร barium และปล่อยอาหารออกจากระเพาะไป
 ก็สามารถทำให้เราทราบได้ว่า 
 การทำงานของกระเพาะอาหารเป็นเช่นใด

 นอกเหนือจากวิธีดังกล่าว  ยังมีวิธีตรวยอย่างอื่นอีก เช่น Radioisotope
 Gastric-Emptying Scan, Gastric manometry

 นอกเหนือจากโรคเบาหวานที่เป็นเหตุให้เกิด gastroparesis เราสามารถ
 แยกโรคอื่นได้โดยการตรวจ Upper Endoscopy และ Ultrasound

§  Upper Endoscopy
จาการตรวจเครื่องมือที่เรียก endoscope ซึ่งเป็นท่อสอดเข้าไป
ในกระเพาะอาหาร  ทำการตรวจสอบตรวจดูผิวภายในกระเพาะอาหาร
สามารถตรวจความผิดปกติในกระเพาะอาหารได้

·         Ultrasound
เป็นวิธีตรวจดูโรคของถุงน้ำดี (gallbladder) หรือตับอ่อน (pancreatitis)
อักเสบ  ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาได้

การรักษา

เป้าหมายการรักษาคนเป็นเบาหวาน  ซึ่งมีภาวะกระเพาะอ่อนแรง (gastrparesis)

คือการจัดการกับระดับน้ำในกระแสเลือดให้ดีที่สุด

ซึ่งประกอบด้วยการใช้ยา “อินซูลิน”, “ยาเม็ดลดน้ำตาล”, ปรับเปลี่ยนอาหารการกิน 

และในรายที่เป็นมากอาจให้อาหารทางสาย (feeding tube)

หรือให้อาหารทางเส้นเลือด (intravenous feeding)


§  Insulin for blood glucose control

ถ้าท่านมีภาวะ gastroparesis อาหารที่ท่านรับประทาน

จะถูกดูดซึมได้ช้า และในเวลาที่ไม่สามารถคาดคะเนได้

ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดทีดี 

ท่านอาจจำเป็นต้อง:


o   ฉีด “อินซูลินบ่อยขึ้น
o   ฉีด “อินซูลิน” หลังการรับประทานอาหาร (แทนที่จะฉีดก่อนอาหาร) และ
o   ตรวจวัดดูระดับน้ำตาลในกระแสเลือดบ่อยขึ้น 
   โดยตรวจหลังการรับประทานอาหาร  และให้ฉีด “อินซูลิน”  ตามความจำเป็น

§  Medication

 

มียาหลายขนานที่แพทย์สามารถนำมาใช้รักษาภาวะ  gastroparesis

โดยแพทย์อาจลองใช้ยาที่แตกต่างกัน หรือใช้ร่วมกัน

เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่า  ยาชนิดใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด


§  Meal and Food Changes

การปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทาอาหารสามารถช่วยควบคุม
ภาวะกระเพาะอาหารอ่อนแรง (gastroparesis) ได้
เช่น ให้รับประทานอาหารในปริมาณที่น้อยลง 
และให้เปลี่ยนเป็นอาหารประเภทน้ำ ๆ ในทุกๆ มื้อจนกว่าระดับน้ำตาลจะคงที่ 
และอาการของ gastroparesis จะดีขึ้น นอกจากนั้น  แพทย์ยังจะแนะนำ
ให้ท่านรับประทานอาหารประเภทไขมันน้อยลง  และอาหาร
ประเภทใยอาหารน้อยลง

§  Feeding Tube


ถ้าการรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่สามารถประสบผล  ท่านอาจจำเป็น

ต้องรับประทานอาหารทางสาย (feeding tube)

ซึ่งเราเรียกว่า jejunostomy tube เป็นการสอดใส่ท่อผ่านหน้าท้องเข้าสู่ลำไส้

เล็ก  เพื่อให้เป็นทางสำหรับให้อาหารแก่คนไข้

โดยไม่ต้องผ่านกระเพาะอาหาร

 

Jejunostomy tube  จะเป็นวิธีที่ดีสำหรับภาวะ gastoparesis

ซึ่งทำให้เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาล และช่วยให้คนไข้ได้รับอาหารได้

โดยให้อาหาร และยาเม็ดทาง jejusostomy ได้โดยตรง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น