วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Basal-Bolus Insulin Therapy 2


Continued…

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2D)



ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
เป็นภาวะที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถผลิต insulin ได้ในระดับที่เพียงพอ
ต่อการทำงานทั้งสองอย่าง (basal & Bolus) ตามที่กล่าวได้
เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น

การมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นอาจเป็นเพราะระดับอินซูลินในกระแสเลือดสูง
แต่มันไม่สมารถทำงานได้ตามปกติ  ซึ่งเราเรียกว่า insulin resistance
เป็นภาวะที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของ “อินซูลิน”
ที่ไหลเวียนในกระแสเลือดได้

การรักษาด้วย “อินซูลิน” หรือ insulin therapy…
จึงหมายถึงการให้ Insulin เพิ่มขึ้นเพื่อเสริมปริมาณของอินซูลิน 
ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้าง หรือไม่สามารถทำงานได้นั่นเอง

ยกตัวอย่าง....คนที่เป็นเบาหวานประเภทสอง (T2D)
การให้อินซูลิน (insulin)  ที่จำเป็นต่อการสร้างความแตกต่างระหว่าง
“สิ่งที่ร่างกายต้องการ”  และ “ปริมาณอินซูลินที่มี แต่ไม่เพียงพอต่อ
การใช้งาน”

การให้ “อินซูลิน”  อาจแบ่งเป็นกลุ่มที่เข้าไปสรวมบทบาททำงาน
ของ basal role หรือ bolus role

โดยทั่วไปอินซูลินที่ทำหน้าที่เฉพาะ (specific insulin)
จะเหมาะสมกับกับบทบาทเพียงอย่างเดียวมากกว่าที่จะแสดงบทบาทอื่น

Bolus Insulin
  • Aspart (Novolog®)
  • Glulisine (Apidra®)
  • Lispro (Humalog®)
  • Regular
Basal Insulins:
  • Detemir (Levemir®)
  • Glargine (Lantus®)
  • NPH*
หมายเหตุ  ความเข็มข้นสูงสุด ( Peak) ของ insulin NPH
จะอยู่ที่ 6 ชั่วโมงหลังฉีด....


วิธีการรักษาเบาหวานด้วย Insulin ด้วยวิธี Basal-bolus insulin therapy
เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการรักษาเบาหวาน  ด้วยการชดเชยอินซูลิน
ทีขาดหายไป หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

ส่วนมากคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง (T2D)...
สามารถกระทำได้ด้วยการฉีด basal insulin 
เพื่อเป็นการเสริมยาเม็ดลดน้ำตาล(OADs) ให้แก่คนไข้
ซึ่งเคยได้รับอยู่ก่อนแล้ว  แต่ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลสู่เป้าหมายได้
หรือจะกล่าวว่า  ประสบความล้มเหลวก็คงไม่ผิด

ถ้าคนเป็นเบาหวาน (T2D) จำเป็นต้องได้รับ insulin สำหรับอาหาร
ในบางมื้อ  เราอาจให้ insulin ฉีดเสริมให้แก่คนไข้
เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารในมื้อนั้น ๆ 
เราเรียก “อินซูลิน” ที่ให้ในกรณีเช่นนี้  เรียก Bolus insulin




ฟังดูแล้วจะรู้สึกไม่ยุ่งยาก หรือซับซ้อน....
โดยในแต่ละมื้อที่มีการรับประทานอาหารจะต้องฉีด insulin
และตามด้วยการฉีด basal insulin สำหรับจัดการกับน้ำตาลที่ได้จากตับ
รวมกันเป็นการฉีด “อินูซูลิน” 4 ครั้ง ( Bolus 3, Basal 1)

การฉีดยาด้วยวิธีการดังกล่าว  จะมีประโยชน์สำหรับคนเป็นเบาหวาน...
เพราะในคนไข้แต่ละราย  จะรับประทานอาหารในเวลาที่แตกต่างกัน
จึงทำให้การฉีดยาตามปกติจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

ในกรณีกลับกัน...
คนไข้ฉีดยา insulin โดยไม่ได้รับประทานอาหารตามปกติ
ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia) ได้

ดังนั้น  ในการฉีดยาอินซูลินเพื่อจัดการกับต้ำตาลที่ได้จากอาหาร...
ไม่จำเป็นตรงตามเวลา...
และสามารถปรับขนาดยาได้ตามปริมาณอาหารแต่ละมื้อที่คนเรารับประทาน  
ถ้ารับประทานอาหารที่มีปริมาณอาหารน้อย....  ใช้ยาน้อย
ถือเป็นวิธีการที่ดีสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดตามที่ปรากฏ

มีผลของการศึกษาจำนวนมาก ที่ได้เปรียบเทียบวิธี basal-bolus insuin
กับการรักษาเบาหวาน (T2D) ตามรูปแบบอื่น ๆ  ปรากฎว่า
การให้ยา (อินซูลิน”  ตามรูปแบบ basal bolus therapy
จะเกิดภาวะน้ำตาลลดต้ำ (hypoglycemia) ได้น้อย

อย่างไรก็ตาม  การรักษาตามรูปแบบ basal-bolus insuin therapy ไม่ได้
โฟกัสไปที่คุณภาพชีวิตแต่อย่างใด
แต่การให้อินซูลินในรูปแบบดังกล่าว  สามารถช่วยทำให้คนเป็นเบาหวานมีชีวิต
เหมือนคนปกติ  สามารถรับประทานอาหารเมื่อใดก็ได้ 
(เป็นแต่เพียงต้องปรับการใช้ยาทุกครั้งที่มีการรับประทานอาหารเท่านั้นเอง)

โดยสรุป  basal-bolus insulin เป็นวิธีการรักษาเบาหวาน
ที่ทำให้ระดับอินซูลินในกระแสเลือดได้เหมือนกับธรรมชาติ 
ดังนั้น Basal-bolus insulin therapy จึงเหมาะกับคนเป็นเบาหวานในแต่ละคน....


<<  Back


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น