Feb. 10, 2013
สำหรับคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง...
ทุกคนจะได้รับการบอกกล่าวให้ระวังเรื่องอาหาร-การกิน
ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ทำให้คนเป็นโรคเกิดความสับสนได้ไม่มากก็น้อย
บางท่านอาจได้อ่านเอกสารเกี่ยวกับ “ renal diet” สำหรับโรคไตมา
แต่ตามเป็นจริงมีว่า ไม่มีสูตรอาหารสำเร็จสำหรับคนเป็นโรคไต
ไม่มีอาหารเฉพาะ ที่เหมาะสำหรับคนไข้โรคไตทุกรายไป
ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะโรคไตของแต่ละคน มีการดำเนินโรคที่แตกกัน
จึงเป็นการยากที่จะกำหนดให้เป็นสูตรตายตัวลงไป
จะทราบได้อย่างไรว่า...
ท่านควรรับประทามอาหารชนิดใดจึงจะเหมาะกับโรคไตของท่าน ?
คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ น่าจะเป็นหน้าที่ของแพทย์เฉพาะทาง
หรือนักโภชนาการจะเป็นคนแนะนำให้ท่านเอง
ไตของของคนเรามีหน้าที่หลายอย่าง ที่ท่านควรรู้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์
ต่อการนำมาพิจารณาว่า หากท่านเป็นโรคไต...
ท่านควรปฏิบัติตนอย่างไร... โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน
หน้าที่ของไตมีดังต่อไปนี้:
§ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของน้ำที่อยู่ในร่างกาย
§ กำจัดเอาของเสียออกจากร่างกาย
§ สร้างฮอร์โมนขึ้นหลายตัวเพื่อเป้าหมายหลายอย่าง
รวมทั้งการสร้างเม็ดเลือดแดง และควบคุมระดับความดันโลหิต
§ มีส่วนช่วยทำให้ vitamin D ให้มีฤทธิ์ (active)
เพื่อทำให้กระดูกแข็งแรง
§ รักษาความสมดุลของธาตุต่าง ๆ และสารแคมีที่มีอยู่ในร่างกาย
เมื่อใดก็ตามที่ไตของท่านเสื่อมลง ย่อมทำให้การทำงานของมันเสียไป.
และเป็นเหตุให้เสียความสมดุลหลายอย่างขึ้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อโรคไตของท่านพัฒนาถึงขั้นสุดท้าย
ท่านอาจจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินของท่านให้ดี
และการจำกัดอาหารบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างใกล้ชิด
โดยยึดหลักของความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น
สิ่งที่เราควรจำกัด...
Potassium
ในกรณีที่ไตทำงานเสียไป ย่อมเป็นเหตุให้มี potassium ในเลือดสูง
หรือเป็นผลเนื่องมาจากการใช้ยาเป็นเหตุให้มี potassium
ในกระแสเลือดสูงขึ้น...
ในกรณีเช่นนี้ ท่านจำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มี potassium ลง
Phosphorus
ถ้าไตทั้งสองข้างไม่สามารถรักษาความสมดุลระหว่าง calcium
และ phosphorous ในเลือดได้ ท่านอาจจำเป็นต้องจำกัด
อาหารที่มี phosphorous ออกไป
Protein
ถ้าไตของท่านไม่สามารถทำงานกรองเอาของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ
โปรตีนได้ ท่านจำเป็นต้องจำกัดอาหารประเภทโปรตีนลง
เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายมีของเสียจากการเผาผลาญโปรตีนเพิ่มขึ้น...
อย่างไรก็ตาม การจำกัดอาหารประเภทโปรตีนมากเกินไป ย่อมทำ
ให้เกิดการทำลายมวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นได้...
ในกรณีเช่นนี้ นักภาชนากรจะเป็นผู้แนะนำให้แก่ท่านได้ว่า
ท่านควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีนมากน้อยแค่ใด ?
ข้อควรจำ...
อาหารที่มีโปรตีนสูง จะไม่ถูกแนะนำให้คนไข้ที่เป็นไตเรื้อรังรับประ
ทานกัน
Sodium
การจำกัดความเค็ม (sodium salt) จะช่วยควบคุมความดันโลหิต
และรักษาความสมดุลของในน้ำในร่างกายเอาไว้
Fluids
ถ้าไตสูญเสียการทำงานถึงขั้นสุดท้าย (end-stage)
จะพบว่า ไตไม่สามารถสร้างปัสสาวะได้มากพอที่จะขับของเสียออก
จากร่างกายได้ ในกรณีเช่นนี้ การจำกัดน้ำอาจเป็นเรื่องจำเป็น
Saturated and trans fats
ถ้าพบว่าระดับไขมันในเลือดสูง ท่านอาจจำเป็นต้องควบคุมการรับ
ประทานอาหารประเภทอิ่มตัว (saturated fat)
(โรคไตเรื้อรังจะมีความสัมพันธ์กับโรคในระบบหัวใจ และเส้นเลือด)
Carbohydrates
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน...
ท่านจำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภท “คาร์โบฮัยเดรต” ให้สัม
พันธ์กับยาเม็ดลดระน้ำตาล หรือ อินซูลิน เพื่อให้ทำให้ระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดอยู่ในระดับที่ต้องการ
ในคนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง...
ทั้งๆ ที่การเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะ (stage) เดียวกันก็ตาม
ใช่ว่าทุกคนจะต้องจำกัดอาหารเหมือนกัน
แพทย์ผู้ทำการรักษา (nephrologist) จะเป็นผู้ตรวจเลือดทางห้อง
ปฏิบัติการณ์ เพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติในเลือดของท่าน
จากนั้น เขาจะเป็นผู้บอกให้ท่านได้ทราบว่า ท่านจำเป็นต้องจำกัด
อาหารประเภทใดบ้าง เพื่อให้ท่านอยู่ในสภาพที่มีสุขภาพดี
https://www.joslin.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น