“ไม่บอกก็ไม่รู้...”
เป็นประโยคที่เรา-ท่านต่างเคยได้ยินมาแล้วว่า
โรคไตเป็นโรคหนึ่ง ที่ไม่เหมือนโรคอื่น ๆ เพราะส่วนใหญ่แล้ว
มันไม่ค่อยจะมีอาการปรากฏให้เจ้าตัวได้รู้เลย จนกว่ามันกลายสภาพเป็น
โรคที่อยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว
ด้วยเหตุผลดังกล่าว รวมถึงเหตุผลอื่น ๆ...
ถ้าจะกล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญก็คงไม่ผิดที่จะกล่าวว่า
เราจำเป็นต้องตระหนักรู้ว่า อะไรคือความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคไตได้บ้าง ?
ไม่แต่เท่านั้น เราจะต้องทำให้ไตของเรามีสุขภาพที่ดีได้ยาวนานที่สุดอีกด้วย
โดยมีขั้นตอนสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับตรวจเช็ค
และการตรวจที่ว่า ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง
เช่นคนเชื้อชาตินิโกร...
โดยแพทย์จะทำการตรวจเช็คด้วยวิธีการง่าย ๆ เพื่อตรวจดูว่า เป็นโรคไตหรือไม่
ดังนี้:
§ ตรวจวัดดูระดับของ serum creatinine เพื่อนำไปตรวจสอบดู
การทำงานของไตทำการกรองเอาของเสียออกจากร่างกาย
เรียกว่า estimated glomerular fitration rate (GFR)
§ ตรวจวัดดูระดับของ protein ที่อยู่ในปัสสาวะ การมีระดับของ
Protein ในปัสสาวะสูงย่อมแสดงให้ทราบว่า ไตทำงานได้ไม่
เป็นปกติ
§ ตรวจวัดดูระดับความดันโลหิต (blood pressure)
§ ตรวจตรวจสอบประวัติว่า:
o ท่านมีโรคเบาหวานหรือไม่ ?
o มีความดันโลหิตสูงหรือเปล่า ?
o มีโรคหัวใจไหม ?
o ตลอดรวมถึงประวีติของครอบครัว เช่น พ่อ-แม่ พี่น้องมี
โรคไตหรือไม่ (โรคไตอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
ถ้าท่านตอบว่า “มี” ต่อคำถามข้อใดข้อหนึ่ง...
ท่านตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแล้วละ!
และเป็นเรื่องขอท่านที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจดู
สภาพการทำงานของไต
เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ทำการรักษาท่าน จะทำการสั่งให้มีการตรวจการ
ทำงานของไต (ของท่าน) ด้วยวิธีการง่าย ๆ สองอย่าง
หนึ่ง: เป็นการตรวจดูสมรรถภาพการกรองเอาของเสีย (glomerular
Filtration rate) และ สอง: เป็นการตรวจดูระดับ protein ที่ถูกขับออก
ทางปัสสาวะ (urine protein)
§ GFR (Glomerular filtration rate):
เป็นการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์ ดูการทำงานของไตที่ทำ
การกรองเลือดที่ไหลผ่านไตทุกหนึ่งนาที เราตั้งชื่อว่า
glomerular filtration rate การตรวจชนิดนี้จะบอกให้เราได้ทราบว่า
ไตของเราทำงานได้ดีแค่ใด ?
ถ้าค่าที่วัดได้พบว่า GFR มีค่า 60 หรือมากกว่า
ถือว่าไตทำงานเป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อใดค่าของ GFR มีค่าตำกว่า
60 อาจหมายความว่า ท่านเป็นโรคไตก็ได้
ท่านไม่สามารถทำให้ค่าของ GFR ขึ้นสูงได้
แต่ท่านสามารถทำให้ค่าของ GFR ไม่ลดต่ำลงได้
§ Urine Protein
การตรวจดู protein ที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
ซึ่งอาจเป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบว่า เป็นอาการแสดงของโรคไตได้
โดยที่มี protein รั่วออกทางปัสสาวะเมื่อไตถูกทำลายไป
การตรวจดู protein ที่รั่วออกทางปัสสาวะมีหลายชื่อด้วยกัน
เช่น check fo proteinuria, albumiuria หรือ microalbuminuria
และอาจเรียกว่า urine albumin-to-creatinine ratio ก็ได้
การรักษาโรคไต (Treating Kidney Disease)
โรคไตมักเป็นโรคทีมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งหมายความว่า ไตมีการถูกทำลายและมีแนวโน้มที่จะเป็น
การทำลายอย่างถาวร ไม่มีทางหวนกลับเป็นปกติได้
ยังถือว่าเป็นเรื่องดี ที่เราสามารถรักษาโรคไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่มีข้อแม้ว่า เราจะต้องตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกเท่านั้น
ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก
เพราะโรคไตยังเป็นตัวอันตรายต่อการเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจ
(heart attack) และโรคสมอง (stroke) ได้สูงอีกด้วย
สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
การตรวจดูระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยแพทย์ผู้ดูแลรักษา จะเป็นคนช่วยให้ท่านได้เครื่องมือที่เหมาะที่
ถูกต้องให้แก่ท่าน เพื่อทำการตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเองต่อไป
การควบคุมระดับความดันหิตของท่าน ก็ไม่เป็นเรื่องสำคัญสำหรับ
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยมียาลดความดันโลหิตหลายตัว
ที่สามารถควบคุมระดับความดันหิตได้ดี
มียาลดความดันโลหิตสองตัว ที่ถูกนำมาใช้รักษาความดันโหลิต
ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะยาทั้งสองตัวนอกจากจะลดความ
ดันได้ดีแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้ไตถูกทำลายด้วย
ยาทั้งสองได้แก่ angiotensin converting enzyme (ACEi) และ
Angiotensin receptor blocker (ARBs)
บังเอิญ...เกิดเป็นโรคไตวายขึ้น
แล้วต่อไปจะทำอย่างไร ?
ถ้าไตหนึ่งข้าง หรือทั้งสองถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง
และไม่สามารถทำให้ฟื้นกลับได้เหมือนเดิม เราเรียกว่า
kidney failure หรือ end-stage renal disease (ESRD)
ภายใตภาวะเช่นนี้ ไตไม่สามารถกรองเอาของเสียออกจากร่างกาย
ได้อีกต่อไป เป็นเหตุให้กิดมีอาการอ่อนเพลีย (ftigue),
อ่อนแรง (weakness), คลื่นไส้ (nausea), อาเจียน (vomiting)
และคัน (itching)
ในการรักษาคนไข้ที่ไตวาย (kidney failure)…
ประกอบด้วยการฟอกเลือด (dialysia) และการผ่าตัดปลูกไต
(transplantation) การฟอกเลือด (dialysis) มีสองชนิดดังนี้:
§ Hemodialysis เลือดของคนไข้ถจะถูกทำให้สะอาดโดยให้เลือดผ่านเครื่อง
ที่อยู่นอกกาย เป็นวิธีการที่กระทำนอกร่างกาย
§ Peritoneal dialysis เป็นหารใช้เซลล์บุผิวภายในช่องท้อง ทำหน้าที่กรองเอา
ของเสียออกจากเลือด วิธีการเช่นนี้จำเป็นต้องทำทุกวัน และสามารถกระทำ
ได้เองโดยคนไข้ในขณะที่กำลังนอนหลับ
การปลูกถ่ายไต (Kidney transplantation)
คือการผ่าตัดเอาไตทีดีให้แก่คนไข้แทน หลังการผ่าตัดจะพบว่า
ไตที่เปลี่ยนให้แก่คนไข้จะทำงานแทนไตที่เสียไป
โดยไม่จำเป็นต้องทำการฟอกเลือดอีกต่อไป
http://www.nlm.nih.gov/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น