Patients with Diabetes for Kidney Disease
ในการเล่นกอล์ฟ....
ดูลักษณะการเล่น จะเหมือนการรักษาคนไข้ยังไงยังงั้น
ในสนามกอล์ฟ ผู้เล่นพยายามตีลูกกอลฟ์ไปหาหลุม ซึ่งมีระยะห่าง
ประมาณ 300 - 600 หลา และระหว่างทางจะมีอุปสรรคมากมาย
เพื่อให้ผู้เล่นระวัง และแก้ไข เช่น ต้นไม้, สะน้ำ หรือทะเล, บ่อทราบ
ถ้าผู้เล่นตีลูกกอล์ฟลงน้ำไป ก็เสียแต้ไป
แต่หากตีลงหลุมทรายผู้เล่นก็พอจะแก้ไขไม่ใหเสียแต้มมากนัก
จากนั้นก็พยายามทำให้ลูกกอล์ฟลงหลุมด้วยการตีลูกกอล์ฟด้วย
จำนวนครั้งที่น้อยที่สุด
ในการรักษาคนไข้ (อะไรก็ได้) ผู้ทำการรักษาจะต้องทำให้เขาหาย
จากโรคให้ได้ และในระหว่างการให้การรักษามีอุปสรรคเช่นกัน
ถ้าไม่ระวัง แทนที่จะทำให้คนไข้หายจากโรค อาจทำให้คนไข้มีอัน
เป็นไป เหมือนกับ “หวดลูกกอล์ฟ”
เช่น การรักษาคนเป็นโรคเบาหวานเป็นตัวอย่าง
ในการรักษาคนเป็นโรคเบาหวาน...
หากรักษาได้ไม่ดี ไม่ระมัดระวัง ทั้งคนไข้ และผู้ให้การรักษาอาจหล่น
ลงไปในหลุ่มของภาวะแทรกซ้อนได้
เช่น เกิดมีโรคไตวายขึ้นมา
และเพื่อไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว...
ในระหว่างการรักษา ผู้เล่นเกมการรักษาโรค นอกจากจะพยายามควบ
คุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่... หรือใกล้ระดับปกติแล้ว แพทย์เราจะต้อง
หมั่นตรวจดูการทำงานของไตเป็นระยะ ๆ ด้วยกรรมวิธีง่าย ๆ
เรียกว่า การตรวจหาค่า UACR และ eGFR
UACR & eGFR คืออะไรกัน ?
มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์สองอย่างที่เราสามารถนำมาพิจารณาว่า
คนไข้เป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) หรือไม่ นั่นคือการตรวจหา:
“แอลบลูมิน” และ “ครีเอตินิน” ในปัสสาวะ
(urine albumin/creatinin--- mg/g)
และการตรวจการทำงานของตไตด้วย
การหาค่าของกลองเอาของเสียจากร่างกาย โดยการทำงานของไต
เราเรียกว่า estimated Glomerular filtration rate (eGFR)
โดยทั่วไป...
การตรวจทั้งสองจะถูกนำมาใช้ตรวจ & ประเมินการทำงานของไตปีละครั้ง
เพื่อประเมินดูว่า ไตของคนเป็นเบาหวานเป็นอย่างไร ถูกทำลายลงหรือไม่ ?
โดยปกติ จะถูกนมาใช้ตรวจในคนไข้เบาหวานทั้งสองประเภท
(T1D & T2D)
ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน...
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก หรือเกิดการเปลี่ยนหลังการรักษา
เราสามารถตรวจหาค่า urine albumin-to-creatinine ratio (UACR)
โดยการตรวจเพียงครั้งเดียว (spot test) ทำให้เราสามารถประมาณการณ์ได้ว่า
ภายใน 24 ชั่วโมง ไตขับ “แอลบลูมิน” ออกมามากน้อยแค่ใด
โดยไม่จำเป็นต้องรวบรวมปัสสาวะ 24 ชั่วโมง ให้เสียเวลา
ค่าของ urine alubumin creatinine (UACR) สามารถคำนวณได้จาก:
UACR = Albumin (mg/d) / Urine creatine (g)
การตรวจหากค่าของ UACR เป็นการหาค่าที่ได้จากอัตราส่วนของ
สารสองตัวที่ถูกขับออกทางปัสสาวะสองตัว: albumin & creatinine
ซึ่งแตกต่างจากการตรวจ dipstick test
โดย UACR จะไม่ถูกกระทบโดยความเข้มข้นของปัสสาวะเลย
ผลของการตรวจ UACR:
เมื่อใดที่ตรวจพบว่า UACR มีค่ามากกว่า 30 mg/g…
เป็นตัวบ่งบอกให้ทราบว่า ไตของคนไข้เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นซะแล้ว
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล-รักษาต่อไป
Albuminuria เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงalbuminที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ....
เมื่อเรากล่าวถึง microalbuminuria เป็นคำที่ใช้อธิบายถึง
ระดับที่ไม่สามารถตรวจสอบโดยวิธีการที่เรียกว่า
dipstick test เช่น มีค่า 30 mg/g- 300 mg/g
ส่วน macroalbuminuria บางครั้งจะถูกใข้อธิบายความว่า
มี albumin ในปัสสาวะในระดับที่มากกว่า 300 mg/g
การเปลี่ยนแปลงในระดับของ albuminuria…
อาจสะท้อนให้เราได้รู้ว่า ภาวะของไตที่เสื่อมไปมีการตอบสนองต่อการรักษา
หรือไม่ ? ….
นอกจาก Urine Albumin…
เรายังสามารถตรวจภาวะของการเกิดโรคไตเรื้อรังได้ด้วยการตรวจหาค่า
estimated glomerular fitration rate (eGFR)
ซึ่งสามารถหาได้จากการคำนวณจากค่า serum creatinine ของคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน
ซึ่งมักจะมีการตรวจกันปีละครั้งในคนทุกราย
การตรวจหาค่า eGFR จะแม่นยำกว่าค่า serum creatinine เพียงอย่างเดียว
เพราะ ค่าของ serum creatinine จะถูกกระทบโดย muscle mass
และปัจจัยอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เชน อายุ, เพศ, เชื้อชาติ
การตรวจค่าของ eGFR จะไร้ประโยชน์ในรายที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ของ serum creatinine level , extreme muscle mass & body size
หรือมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของการรับประทานอาหาร
ค่าของ eGFR ได้จากสมการต่อไปนี้:
eGFR = (140 - Age) x Mass in Kg X (0.85 if female) / 72 x Serum creatinine (g)
โดย NKDEP แนะนำว่า….
คนไข้เบาหวานที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง (CKD)
UACR จะต้องมีค่าต่ำกว่า 30 mg/g และ eGFR จะมีค่าต่ำกว่า 60
โดยสรุป
ในการรักษาคนเป็นโรคเบาหวาน...
เมื่อเราตรวจพบว่า คนไข้เกิดมีภาวะเสื่อมถอยของไต (CKD) เกิดขึ้น
เขาจะต้องได้รับการรักษา โดยเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลอย่าง
ใกล้ชิดเหมือนกับการควบคุมโรคเบาหวาน
http://nkdep.nih.gov/
"โดย NKDEP แนะนำว่า….
ตอบลบคนไข้เบาหวานที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง (CKD)
UACR จะต้องมีค่าต่ำกว่า 30 mg/g และ eGFR จะมีค่าต่ำกว่า 60" จากข้อความนี้ คนไข้เบาหวานที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง (CKD) UACR จะต้องมีค่ามากกว่า 30 mg/g หรือป่าวคะ เพราะรู้สึกว่าจะขัดแย้งกับแหล่งข้อมูลอื่นที่เคยอ่านเจอมาค่ะ
ผลของการตรวจ UACR:
ตอบลบเมื่อใดที่ตรวจพบว่า UACR มีค่ามากกว่า 30 mg/g…
เป็นตัวบ่งบอกให้ทราบว่า ไตของคนไข้เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นซะแล้ว
ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล-รักษาต่อไป
UACR จะต้องมีค่าต่ำกว่า 30 mg/g และ eGFR จะมีค่าต่ำกว่า 60---ท่อนนี้พิมพ์ผิดแต่ท่อนบนอาจารย์กล่าวถูกแล้วค่ะ