วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เมื่อหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) 1

7/31/12

คนที่สามารถรักษาโรคได้ดีที่สุด...
คือตัวของคนไข้เอง  ซึ่งเขาจะต้องมีความสามารถในการเรียนรู้เรื่องการป้องกัน,  
วินิจฉัยโรค,   และ  การรักษาโรคของเขาเองให้ได้

การที่จะทำเช่นนั้นได้  เขาจะต้องเรียนรู้โรคนั้นในทุกแง่มุม 

เรื่อง “ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ” หรือ ที่เราเรียกว่า   "tachycardia”  .....
Tachycardia…หมายถึงภาวะของการเต้นของหัวใจ  โดยเต้นได้เร็วมากกว่า 
100  ครั้ง / นาที 

โดยปกติหัวใจจะเต้นในอัตรา  60 – 100 ครั้ง ต่อ นาที  ซึ่งสามารถวัดจากชีพจร
ที่บริเวณข้อมือ,  ที่บริเวณคอ  หรือที่อื่น ๆ จะมีค่าเท่ากับการเต้นของหัวใจห้องล่าง
การที่หัวใจของคนเราสามารถเต้นได้เร็วขึ้น 
อาจเป็นผลมาจากการตอบสนองของหัวใจ  ที่มีต่อความเครียด (anxiety),  
ต่ออุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มขึ้น(fever),  สูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว, 
หรือ  ออกกำลังอย่างหนัก (strenuous exercise)

นอกจากนั้น  การเต้นของหัวใจที่เต้นเร็วผิดปกติ  สามารถเกิดจากโรคบางอย่าง 
เช่น   การมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในกระแสเลือดมากผิดปกติ 
ซึ่งเราเรียกว่า  โรคคอพอกเป็นพิษ  หรือ  จะเรียกว่า  hyperthyroidism ก็ไม่เสียหาย

ในคนบางคน  การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ   
ซึ่งเป็นผลมาจากการมีคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจที่ผิดปกติเสียเอง 
จึงเป็นเหตุให้หัวใจเต้นผิดปกติ  อาจเป็นได้ทั้งจังหวะและอัตราการเต้น (rate &rhythm)

นอกจากนั้น  การเต้นของหัวใจผิดปกติ
ยังเกิดจากโรคหัวใจจากหลอดเลือดตีบตัน  หรือ  เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ, 
หรือ  จากโรคของทางเดินหายใจเอง
เช่น โรคปอดอักเสบ (pneumonia) หรือ มีก้อนเลือดในเส้นเลือดแดงของปอด

อีกด้านหนึ่ง  การที่หัวใจมีการเต้นเร็วผิดปกติ 
ยังเป็นผลมาจากผลข้างเคียงจากอาหารบางอย่าง  หรือ  จากเครื่องดื่ม เช่น  การแฟ,  
ชา,  แอลกอฮอลล์, ชอคโคแลท,ยาสูบ,  หรือ ยารักษาโรค

อาการ (Symptoms)
อาการของคนที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ  ได้แก่:
o   วิงเวียน  และ เป็นลม (Dizziness and fainting)
o   เมื่อยล้า (Fatigue)
o   หัวใจเต้นเร็ว (Palpitation)
o   หายใจติดขัด (Breathlessness)


ถ้าหากหัวใจเต้นเร็ว  เป็นผลมาจากโรคทางกาย 
นอกจากหัวใจเต้นเร็วแล้ว  คนไข้ยังต้องมีอาการเฉพาะของโรคปรากฏให้เห็นอีกด้วย 
ยกตัวอย่าง  คนไข้เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperthyroidism) 
จะทำให้คนไข้มีอาการหงุดหงิด (nervousness), นอนไม่หลับ (insomnia), 
เหงื่อออกมาก (sweating),  มือสั่น (tremor), และ อาการอย่างอื่น ๆ 
ที่สัมพันธ์กับโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน

คนที่มีหัวใจเต้นเร็วจนผิดปกติจากโรคปอด (lung) หรือ โรคหัวใจ (heart)
ส่วนใหญ่  จะมีอาการร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก (chest pain), หายใจลำบาก
(shortness of breath)   


Hyperthyroidism : continued 2

7/31/12


อาการ (symptoms)

คนไข้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์เกิน  มีอาการดังต่อ
  •  ความกังวลใจ (Nervousness)
  • นอนไม่หลับ (insomnia
  •  มีอารมณ์แปรปรวนอย่างมาก  (dramatic  emotional sweing)
  •  เหงื่อออกมาก (Sweating)
  •  มือสั่น (Tremors)
  •  หัวใจเต้นเร็ว (Increase heart rates)
  •  ถ่ายอุจจาระบ่อย (Frequent bowel movement)
  • น้ำหนักลด โดยไม่สามารถอธิบายได้  ทั้งๆ ที่มีการเจริญอาหาร
  •  ขี้ร้อน  ตลอดเวลา (Feeling warm or hot all the time)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness)
  • หายใจติดขัด  หัวใจเต้นเร็วใจสั่นระริก ( shortness of breath and palpitation)
  • ผมล่วง (Hair loss)

หากโรคดังกล่าวเกิดในสุภาพสตรี  เธอจะมีอาการทางประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 
หรือหยุดการมีประจำเดือนโดยสิ้นเชิง 
สำหรับคนที่มีอายุมากเมื่อเกิดโรคดังกล่าว 
อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย  หรือ เจ็บหน้าอกได้

ถ้าต้นเหตุทำให้เกิดโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  หรือมากผิดปกติ...
คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  อาจมีเนื้อเยื่อหลังลูกตาบวม  เป็นเหตุให้ลูกตา
ถูกดันออกมาทางด้านหน้า  ทำให้คนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าวมีเอกลักษณะเฉพาะตัว 
มีตาถลนอออกมา...เห็นแล้วลืมไม่ลง !

การวินิจฉัย (Diagnosis)
เมื่อท่านไปพบแพทย์...
แพทย์จะทำหน้าที่ตรวจต่อมไทรอยด์ของท่าน  เพื่อดูว่ามีก้อนที่ผิดปกติที่บริเวณ
คือหรือไม่  เขาอาจใช้เครื่องตรวจฟัง (stethoscope) ตรวจฟังเสียงการไหลเวียนของ
เลือด ทีไหลผ่านเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ได้

แพทย์จะทำการตรวจหาอาการแสดงอย่างอื่น ของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานเกิน   
เช่น


  • หัวใจเต้นเร็ว (increase heart rate)
  • มือสั่น (Hand tremor)
  • เมื่อเคาะหัวเข่า  จะมีการตอบสนองอย่างแรง
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ (excessive sweating)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness)
  • ตาถลน  (protruding eyes)
ถ้าแพทย์เขาสงสัยว่า  ท่านเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน 
เขา หรือเธอจะทำการตรวจเลือด  เพื่อดูระดับของไทรอยด์ฮอร์โมนว่า
สูงกว่าปรกติหรือไม่ ?

นอกจากนั้น อาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มอีก เช่น
§  ตรวจเลือดดูระดับของภูมิต้านทานบางอย่าง
§  ตรวจ “อัลตราซาวด์”  ดูลักษณะของต่อมไทรอยด์
§  ตรวจ Thyroid scans

ระยะเวลาการเกิดโรคตามคาด (Expected duration)
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  ซึ่งเกิดจากการอักเสบบางชนิด  หรือ
เกิดจากเชื้อไวรัสต่าง ๆ  มันมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่เดือน

ส่วนที่เป็นโรคตอมไทรอยด์ทำงานเกิน  ที่มีต้นเหตุจากโรค  Grave’s disease หรือ
เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันนั้น  มักจะกินเวลาในการรักษาในระยะยาว
บางครั้ง  โรคอาจหายไปได้เองโดยตัวของมัน

ป้องกัน (Prevention)
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  ที่เกิดจากการรับทานไทรอยด์ฮอรโมนมากไป 
สามารถป้องกันได้  ในกรณีเช่นนี้  ท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด 
และ จะต้องมีการตรวจดูระดับไทรอยด์ในกระแสเลือดเป็นระยะ ๆ
ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ไม่สามาระป้องกันได้

การรักษา (Treatment)
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  จำเป็นต้องรักษาด้วย  beta-blockers
เช่น  propranolol (Inderal) หรือ nadolol…
Beta-blockers จะลดอัตราการเต้นของหัวใจลง  และลดอาการสั่นของมือ (termor)

คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน... 
ส่วนใหญ่จะถูกรักษาด้วยยาต้านไทรอยด์ฮอร์โมน( anti-thyroid drug therapy) 
ซึ่งยาตัวหนึ่ง  จะบล็อกการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนขึ้นยาที่เราใช้บ่อยที่สุด 
คือ  methimazole

นอกจากนั้น  ทางเลือกสำหรับใช้ในการรักษาอย่างถาวร 
คือ การใช้  Radioactive iodine  ซึ่ง มันสามารถทำลายต่อมไทรอยด์ได้อย่างถาวร 
เขาจะใช้รักษาโรคต่อมไทรอยด์  ที่เกิดจากโรค Grave’s disease 
นอกจากนั้น  มันยังถูกนำไปใช้ในรายที่เป็นเนื้องอกหลายก้อน 
ซึ่งผลิตสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากเกินปกติ

อีกทางเลือกในการรักษา...
คือการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์บางส่วนออก  เป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้น้อยที่สุด

คนไขทีเป็นต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน 
ซึ่งได้รับการรักษาด้วย radioactive iodine  หรือรักษาด้วยการผ่าตัด 
ส่วนมากจะได้รับการชดเชยด้วย “ไทรอยด์ฮอร์โมน” ไปตลอด

การพยากรณ์โรค (Prognosis)
แน่นอน  เมื่อท่านมีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเมื่อใด 
ท่านต้องพบแพทย์เพื่อการรักษาทันที

ในรายที่เป็นโรคดังกล่าว...
เมื่อคนไข้ที่เป็นโรค Grave’s disease)  เมื่อได้รับการรักษาด้วย anti-thyroid drugs 
อาการของโรคจะหายไปได้เป็นเวลานานทีเดียว

Radioactive iodine  ยังถูกนำไปใช้ในการรักษาคนไข้โรค Grave’s disease ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ 

มีคนเป็นจำนวนไม่น้อย  เมื่อได้รับการรักษาด้วย Radioactive iodine ...
ปรากฏว่า  เกิดภาวะ “ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย”  ซึ่งถูกเรียกว่า  “Hypothyroidism”
ภาวะเช่นนี้  สามารถรักษาได้ด้วยการใช้  “ไทรอยด์ฮอร์โมน” เสริม  ให้แก่คนไข้

คอพอกเป็นพิษ (Hyperthyroidism) (1)

7/31/12


เมื่อต่อมไทรอยด์ของมนุษย์เราทำงานมากเกิน...
มันจะถูกเรียกว่า คอพอกเป็นพิษ หรือเรียกตามภาษาฝรั่งว่า hyperthyroidism 
ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของคนเราสร้าง
ไทรอยด์ฮอรโมน”ออกมาในปริมาณมากเกินปกติ

ไทรอยด์ฮอร์โมนจะถูกสร้างโดยต่อมไทรอยด์ 
ซึ่ง  มันอยู่ตรงตำแหน่งด้านหน้าของส่วนล่างของคอของคนเรา

ไทรอยด์ฮอรโมน  จะหน้าที่ควบคุมพลังงานของร่างการมนุษย์เรา
เมื่อใดก็ตาม ที่ฮอร์โมนตัวดังกล่าวมีมากเกินไป  ร่างกายจะทำการเผาผลาญพลังงาน
ที่มีอยู่ในร่างกายได้เร็วกว่าธรรมดา  พร้อมกับทำให้อวัยวะที่สำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย
ให้ทำงานมากเกินปกติขึ้น...

Hyperthyroidism  มักเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ผลิต “ไทรอยด์ฮอร์โมน”
ได้มากเกินปกติ  โดยมีต้นเหตุที่สำคัญสามประการดังนี้

§  Graves’s disease.  มันเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคต่อมไทรอยด์ 
ซึ่งสามารถทำงานผลิตฮอร์โมนได้มากเกิน  มันเป็นความผิดปกติของระบบคุ้มกัน  
 โดยร่างกายของเราจะสร้างภูมิคุ้มกัน (antibodies)  เป็นต้นเหตุทำให้ต่อมไทรอยด์
 ผลิต  และปล่อยไทรอยด์ฮอร์โมนออกสู่กระแสเลือดในปริมาณมากจนผิดปกติ  

ถ้าท่านมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรค “Grave’s disease”  ท่านจะมีความเสิ่ยงต่อ
การเกิดโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperthyroidism)

§  Thyroid tumour- เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ (noncancerous) อาจสร้าง
และปล่อยไทรอยด์ฮอรโมนออกมาสฃุ่กระแสเลือดในปริมาณมากได้

§  Toxic multi-nodular goiter – ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น 
โดยมีก้อนเนื้องอก (noncancerous) ที่ไม่ใช้มะเร็งจำนวนหลายก้อน  ซึ่งมันสามารถสร้าง 
และ ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณมากได้

มีภาวะอีกอย่างหนึ่ง  ซึ่งเกิดได้น้อยมาก 
โดยทำให้ต่อมให้ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้าง thyroid stimulating hormone (TSH)
ออกมามากเกินไป  เป็นผลทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้น 
ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น

มีการอักเสบของต่อมไทรอยด์ (thyroiditis) บางชนิด... 
สามารถทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ในระยะสั้น ๆ ได้  เช่น ภายหลังการกำเนิดบุตร 
หรือ ภายหลังการเกิดการอักเสบจากเชื้อไวรัส

ภายใต้ภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก...
นั้นคือ  มีไทรอยด์ฮอร์โมนจำนวนมากในกระแสเลือด  ถูกสร้างนอกต่อมไทรอยด์ได้ 
โดย มีเนื้องอกที่สามารถผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน  ซึ่งเกิดภายในรังไข่ (ovary) เป็นตัวสร้าง
ไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณมาก
นอกจากนั้น   อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานเกินปกติ (hyperthyroidism)
สามารถเกิดได้  โดยการรับทานไทรอยด์ฮอร์โมนเสริมในปริมาณมากเกินไป

Continued 2 : hypethyroidsm- symptoms & managment

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สุขภาพของสตรี: ปัญหาที่เกิดกับระดับฮอร์โมน ?

7/30/12


ฮอร์โมนในร่างกาย...
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับของฮอร์โมนในร่างกาย 
สามารถทำให้เกิดมีอาการได้อย่างมากมาย  ซึ่งมีทั้งร่างกาย  และด้านจิตใจ
เมื่อเราพูดถึงฮอร์โมน  มันหมายถึงแนวทางที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย 
ซึ่งทำหน้าที่ติดต่อ  เพื่อประสานการทำงานต่างๆ ของร่างกาย  ให้เป็นไปตามปกติ
และเมื่อใดก็ตาม  ที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมนขึ้น  ย่อมมีผลกระทบต่อความสม
ดุลที่ตามธรรมชาติภายในร่างกายทันที

ในระหว่างช่วงเจริญพันธุ์  ระดับของฮอร์โมนของสตรี 
จะมีการสวิงขึ้นลงตามธรรมชาติทุกเดือน  นอกจากนั้น  ยังมีการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมน
ในส่องช่วงด้วยกัน  ช่วงที่มีการตั้งครรภ์  และ ช่วงหลังหมดประจำเดือน
นอกจากนั้น  ยังมีโรคที่เกี่ยวกับต่อมไรท่อที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนบางชนิด  เช่น 
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย หรือ ทำงานมากเกิน  มักจะพบในสตรีเพศได้มากกว่าเพศชาย

ภายใต้การทำงานชนิดอื่น ๆ ของฮอร์โมน...
มันยังสามารถส่งเสริม  ให้มีการเปลี่ยนแปลงในการเผาผลาญสารเคมีของสตรี  และ
มีการเปลี่ยนแปลงในระบบสืบพันธ์อีกด้วย
ดังนั้น เมื่อระดับฮอร์โมนสูง หรือต่ำในสตรีเพศ  ย่อมนำไปสู่การทำให้เกิดอาการที่มี
ส่วนสัมพันธ์กับการเผาผลาญ (metabolism) และระบบสืบพันธ์ของสตรีด้วย

ข้อมูลต่อไปนี้  เป็นอาการแสดงที่มีส่วนสัมพันธืกับโรคทางฮอร์โมน:

·         Irregular periods - ประจำเดือนของท่านผิดปกติหรือไม่ ?
เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือมามากเกิน?  ปรากฏว่า  มีโรคเกี่ยวกับฮอร์โมน
หลายอย่าง  สามารถทำให้เกิดอาการดังกล่าว

·         Fertility problems. เนื่องจากโรคที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนหลายอย่าง 
สามารถกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนทางด้านสืบพันธุ์  
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เตรียมรังไข่ ให้พร้อมเพื่อการสืบพันธุ์ 

เมื่อท่านมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์  สิ่งที่ท่านจะต้องกระทำ  คือ
ทำตรวจดูระดับของฮอร์โมนต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว

·         Weight changes- เมื่อน้ำหนักของท่านลด หรือเพิ่ม  โดยไม่ทราบสาเหตุ?
สิ่งท่านต้องทราบ  คือ  เมื่อน้ำหนักของท่านลดลง  มีโรคหลายชนิดที่เกี่ยวกับฮอร์โมน 
บางรายอาจไม่เกี่ยวข้องก็ได้

ส่วนกรณีที่มีน้ำหนักเกิน โดยไม่สามารถอธิบายได้ อาจมีต้นเหตุมาจากต่อมไทรอยด์
ทำงานน้อยกว่าปกติ (hypothyroidism)  รวมถึงการมีระดับ corticosteroids
ในเลือดสูงด้วย

·         Mood Changes- ท่านเป็นบุคคลขี้รำคาญ, โกรธง่าย,  ซึมเศร้า,
หรือขี้กังวลหรือไม่?เกิดมีอาการดังกล่าวบ่อยหรือไม่ ?

ระดับฮอร์โมนของท่านจะอยู่ในระดับปกติ  ผิดปกติ...  ต่างสามารถทำให้เกิดอาการ
ดังกล่าวได้ทั้งนั้น  แต่โรคที่พบบ่อยได้แก่ 
ภาวะก่อนหมดประจำเดือน (premenopausal syndrome)

นอกจากนั้น  ภายใต้ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต้ำ  หรือสูง  หรือมีระดับ corticosteroids สูง, 
ตั้งครรภ์  หรือ หลังหมดประจำเดือน  สามารถทำให้เกิดมีอารมณ์แปรปรวนได้ทั้งนั้น

·         Hair changes- ท่านเคยสังเกตุพบว่า  มีขนเกิดตามตัวในตำแหน่งที่ไม่มีควรมีหรือไม่ ?
ภายใต้ภาวะที่มีฮอร์โมนเพศชาย (androgen) สูง หรือสาร steroids สูง  สามารถทำให้มี
ขนเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า, หลัง, และหน้าท้องได้

สตรีที่เป็นโรค polycystic ovary syndrome   จะมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูง 
ทำให้คนไข้มีประจำเดือนมาไม่ปกติ และมีถุงน้ำที่รังไข่หลายอัน

ท่านเคยมีประวัติขนล่วงหรือไม่?...มันเป็นอาการแสดงของโรคต่อไทรอยด์

·         Skin changes-  การมีสิวบนใบหน้า  ผิวหนังแห้ง  อาจเป็นอาการที่เกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงในระดับของฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ได้แทบทั้งนั้น

·         Bowel changes- ภาวะท้องผูก  หรือท้องล่วง  อาจเป็นอาการแสดงของโรค
ต่อมไทรอยด์  ซึ่งเป็นได้ทั้งชนิดทำงานมาก หรือ ทำงานน้อยได้

·         Nipple discharge – การมีน้ำไหลออกจากหัวนม...  
 ถ้าอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร  ถือว่าปกติ  แต่หากเกิดขึ้นในเวลาอื่น 
ถือว่าผิดปกติ
ตามปกติ  ต่อมใต้สมอง pituitary gland  จะผลิตฮอร์โมน prolactin ในปริมาณน้อย 
มันเป็นฮอร์โมน  ที่ทำหน้าทีกระตุ้นนมให้สร้างน้ำนม

ในระหว่างตั้งท้อง  หรือให้นมบุตร  เต้านมจะสร้างน้ำนมตามคาด... 
แต่หากเป็นเวลาอื่น  แล้วปรากฏว่ามีน้ำนมถูกขับออกมาจาหัวนม  อาจบ่งบอกให้ทราบว่า 
มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ต่อมใต้สมอง(pituitary gland)  มีชื่อเรียกว่า  prolactinoma
เนื้องอกชนิดนี้  สามารถผลิตฮอร์โมน prolactin  ออกมาในปริมาณสูง 
เป็นเหตุให้มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ (irregular) และทำให้เป็นหมันได้

ถ้ามีน้ำไหลออกมาจากหัวนมข้างเดียว  เช่นเป็นสีชม หรือเป็นเลือด  เป็นอาการที่บ่งบอก
ให้ทราบว่า มันเป็นอาการแสดงของมะเร็งเต้านมได้

·         Change in libido – ความปรารถนาทางเพศ (sex drive)เพิ่ม หรือลด...
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในระดับฮอร์โมน  สามารถทำช่องคลอดแห้ง  ทำให้ความปรารถนา
ทางเพศลดลงได้อย่างมาก

·         Temperature – ภาวะเหงื่อออกมามาก  และ ออกร้อนตามผิวหนัง... 
อาจเป็นอาการของคนหมดประจำเดือน    ส่วนคนที่มีความไวต่ออากาศเย็น 
เป็นอาการบอกให้ทราบว่าเป็นโรคของต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ

หากท่านใดมีอาการตามที่กล่าว...ท่านควรปรึกษาแพทย์   เพราะโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมา 
สามารถเยียวยารักษาได้  ดังนั้น  จึงเป็นหน้าที่ของท่านเอง 
ที่ต้องฟังคำเตือนจากตัวจากตัวของท่านเอง  และ  ร่วมมือกับแพทย์ของท่าน 
พิจารณาตรวจดูความผิดปกติทีเกิดขึ้นกับระดับฮอร์โมนของท่านว่า 

หากมีใครสักคน  เช่น  สมาชิกในครอบครัวของท่านเอง  หรือจากเพื่อนของท่าน
กล่าวว่า....ปัญหาที่เกิดขึ้น  อาจเป็นปัญหาทางด้านฮอร์โมนของท่าน ?
ท่านจะต้องหยุดสำรวจดูว่า...  คนพูดเขาเห็นสิ่งผิดปกติอะไร ?

http://www.intelihealth.com/