วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สิ่งที่พึงระวังจากการรักษาโรคหลายอย่างพร้อม ๆ กัน

7/28/12

ท่านจะทำอย่างไร ?...
ถ้าแพทย์ผู้ทำการรักษาท่าน  แนะนำให้ท่านรักษาโรคกระดูกพรุนของท่าน 
แต่ปรากฏว่า  การรักษาที่ท่านจะต้องได้รับนั้นเป็นอันตรายต่อการรักษา
โรคอย่างอื่นที่ท่านกำลังรักษาอยู่... เหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้  สามารถเกิด
ขึ้นกับสถานการณ์อื่น ๆ ได้

มีการประมาณการณ์ว่า...
คนที่มีอายุมากกว่า  65 จะมีโรคเรื้อรังสามโรค หรือมาก  และ เขาเหล่านั้น
มีโอกาสได้รับแนะนำ หรือ  ได้รับการรักษาจากแพทย์หลายนายด้วยกัน
และจากการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้  ได้พิจารณาเข้าไปในประเด็นดังกล่าว...
ทำให้เห็นว่า  มันเป็นความท้าทายของคนไข้ หรือแพทย์ผู้ทำการรักษาว่า 
เขาจะปฏิบัติตามแนวทางการรักษาโรคเรื้อรังหลาย ๆ โรค
ในขณะเดียวกันได้อย่างไร ?  โดยไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

นักวิจัยจาก Johns Hopkins….
พบว่า  แนวทางการรักษาส่วนใหญ่  จะเป็นแนวทางการรักษาโรคเฉพาะบางอย่าง
ที่เกิดเป็นคู่กันเท่านั้น  ไม่เกี่ยวกับการรักษาโรคเรื้อรังที่มีจำนวนมากถึงสาม
ซึ่ง เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันเลย

ผลจากการศึกษา...
นักวิจัยทั้งหลาย  ได้พิจารณาโรคที่พบบ่อยในคนชาวอเมริกัน 
โดยทำการศึกษาใน  National Health Interview Survey & Medicare claims
จากนั้น  เขาทำการประเมินแนวทางเวชปฏิบัติในคนไข้ที่เป็นโรคเรื้อรัง  ที่พบบ่อย
จำนวน 15 โรค  เช่น  โรคความดันโลหิตสูง,  โรคหัวใจวาย, โรคเจ็บหน้าอก (angina),
โรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกต (Atril fibrillation),  โรคไขมัน cholesterol ในเลือดสูง, 
โรคเบาหวาน,  โรคไข้ข้ออักเสบ (arthritis), โรคถุงลมโป่งพอง, 
และ โรคกระดูกพรุน

จากตัวอย่างที่ยกมา  อะไรจะเกิดขึ้น  ...
เมื่อนักวิจัยได้ทำการประเมินคนไข้เพศหญิง อายุ 79   
ซึ่งมีโรคกระดูกพรุนพอประมาณ  (moderate osteoporosis)
พร้อมกับมีโรคเบาหวานประเภทสอง, โรคไข้ข้อเสื่อม (arthritis), โรคความดันโลหิตสูง,
และ มีโรคทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease)

การมีคำแนะนำที่อ่านเข้าใจง่าย  ให้แก่คนไข้นำไปปฏิบัติ...
ถ้าคนไข้ปฏิบัติตามคำแนะนำ  คนไข้ที่เสนอมาเป็นตัวอย่าง  จะต้องรับยารักษา 12 ชนิด
วันละ 5  ครั้ง  คิดเป็นเงินถึง  400 ดอลลาร์ ต่อเดือน
นอกจากปฏิบัติตาม 5 คำแนะนำ (guidelines) ถ้ารับประทานพร้อมกันทันที  อาจนำไปสู่
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา  ที่ใช้รักษาโรคแต่ละชนิดได้ 
หรือ เกิดมีปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารที่เธอรับทานได้อีกด้วย

นอกจากนั้น  การรับประทานยาจำนวนมากหลายขนานแล้ว 
คนไข้ยังมีโอกาสรับทานยาผิดอีกด้วย  หรือ  เกิดอาการแพ้ยา 
ถึงกับต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

เพื่อเป็นการดูแล-รักษาที่ดีที่สุด...
ท่านจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาทุกชนิด 
ที่ท่านใช้รักษาโรคของท่านจากแพทย์แต่ละท่านที่ให้การรักษาโรคของท่าน...
หากเมื่อใดก็ตาม  ท่านพบว่า  คำแนะนำจากแพทย์หลายท่านเกิดความขัดแย้งกันเมื่อใด
เป็นหน้าที่ของท่านต้องปรึกษาปัญหานั้นทันที

ตามความเป็นจริง...
ไม่มีใครเหมือนใคร  แต่ละคนจะมีเอกลักษณะของตนเอง 
และ แผนการรักษาของแต่ละคนก็ต้องแตกต่างกัน 
และที่ถูกต้องแล้ว  ท่านควรมีแพทย์คนเดียว  ที่รับผิดชอบต่อการพิจารณายาทุกตัว
ที่ท่านต้องรับทาน  รวมถึงยาที่ท่านซื้อกินเองด้วย
ถ้าท่านทำได้  ความปลอดภัยย่อมเป็นของท่านอย่าง

http://www.johnshopkinshealthalerts.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น