วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Diabetes and exercise: When to monitor your blood sugar

7/14/12

การออกกำลังกาย...ใครว่าไม่สำคัญ ?...
การออกำลังกายถือว่า  เป็นส่วนสำคัญต่อการรักษาโรคเบาหวาน  และ...
เพื่อการหลีกเลี่ยงปัญหาอันพึงเกิด....อย่าลืมทำการตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือด 
ทั้งก่อน, ระหว่าง, และ หลังการออกกำลังกาย

ในคนเป็นเบาหวาน...
คนเป็นโรคเบาหวาน  และ การออกกำลังกายจะต้องดำเนินไปด้วยกัน
โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาล  ให้ได้ตามเป้าหมาย
ซึ่งนอกจากจะทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสูระดับปกติแล้ว  การออกกำลังกายยังเพิ่ม
ความแข็งแกร่งให้แก่ร่างกาย  และ ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจ  และ
เส้นประสาทไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย

เหรียญย่อมมีสองด้าน...
การกระทำที่ดี ๆ ทั้งหลาย  ย่อมมีสองด้านเช่นกัน  ผู้ใช้ต้องระมัดระวังให้ดี...
ยกตัวอย่าง  โรคเบาหวาน  และ การออกกำลังกายก็เป็นเรื่องท้าทายของผู้เล่นเช่นกัน
หากไม่ระมัดระวังให้ดี  ผลของการออกกำลังกาย  สามารถทำให้ระดับน้ำตาล
ในกระแสเลือดสวิงขึ้น- ลง    สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อคนไข้เป็นโรคเบาหวานได้ 
ด้งนั้น  การตรวจดูระดับน้ำตาลทั้ง “ก่อน”, “ระหว่าง” และ “หลังการออกกำลัง” 
สามารถป้องกันอันตรายได้....(เป็นการป้องกัน  ดีกว่าแก้ภายหลัง)


ก่อนออกกำลังกาย: ตรวจเลือดก่อนออกกำลังกาย
ก่อนที่ท่านจะออกกำลังกาย  ท่านต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ก่อนว่า...
โดยเฉพาะที่ทำงานนั่งโต๊ะ  ไม่เคบออกกำลังกายมาก่อน
ก่อนจะเริ่มออก...ควรให้แพทย์ได้ทำการตรวจการทำงานของระบบหัวใจก่อน

ในการก่อนออกกำลังกาย...
ท่านควรปรึกษาแพทย์ด้วยว่า  ควรออกกำลังกายรูปแบบใด  เมื่อใด 
ตลอดรวมถึงผลกระทบ ที่อาจมีต่อยาที่ท่านกำลังรับท่านรักษา  เพื่อรักษาตัวท่านเอง 
รวมถึงความหนัก-เบา ของการออกกำลังกายด้วย

เพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพ...
ผู้ชำนาญการทั้งหลาย  แนะนำให้ทำการออกกำลังกายด้วยความเข็มข้น
พอประมาณ  (Moderate exercise)  อาทิตย์ละ 150 นาที  เช่น: 
§  เดินเร็ว
§  ว่ายน้ำ
§  ปั่นจักรยาน

ถ้าท่านกำลังได้รับ insulin หรือ ยาเม็ดลดน้ำตาล...
Insulin  ที่ท่านกำลัใช้นั้น  มันสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของท่านได้อย่างมาก
หรือ สูง  จนก่อให้เกิดอันตรายต่อท่านถึงขั้นชีวิตได้
ดังนั้น  เพื่อความปลอดภัย  ท่านควรตรวจวัดระดับน้ำตาล 30 นาที ก่อน, 
และตรวจอีกครั้งทันที  เมื่อท่านจะเริ่มออกกำลังกาย
การตรวจเลือดเช่นนั้น  สามารถทำให้ท่านทราบว่า... 
ระดับน้ำตาลของท่าน  มีความเสถียรหรือไม่...ขึ้น หรือ ลง  และ
ปลอดภัยที่จะออกแรงหรือไม่ ?

ผลจากการตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (mg/dL)

§  ระดับน้ำตาล ต่ำกว่า 100 mg/dL. 
ถ้าระดับน้ำตาลของท่านต่ำกว่าระดับนี้  มันอาจต่ำไปที่จะออกกำลังกาย
ก่อนที่ท่านจะออกกำลังกาย  ท่านควรรับประทานของว่าง เชน  ผลไม้ 
หรือ ขนมปังกรอบสัก้อนสองก้อน

§  ระดับน้ำตาล  250 mg/dL.
เป็นระดับน้ำตาลที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย  เป็นระดับที่ปลอดภัย

§  ระดับน้ำตาล 250 mg/dL หรือสูงกว่า  เป็นระดับที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ก่อนออกกำลังกาย  ควรตรวจหา ketones ในปัสสาวะ...
การมีระดับน้ำตาลในเลือดสง  และมีสาร ketone ในปัสสาวะ  ย่อมบอกให้เรา
ได้ทราบว่า  ร่างกายของคนเรามระดบ insulin ไม่เพียงพอต่อการควบคุมระดับน้ำตาล
(ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้)  ดังนั้น  ร่างกายจึงหันไปใช้พลงงานจากที่อื่นแทน...
เป็นการใช้ไขมันที่สะสมในกาย...
และ สาร Ketones ที่ตรวจได้  คือ ผลที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันนั้นเอง

ถ้าท่านออกกำลังกายในขณะที่มีระดับ ketones สูง...
ท่านมีโอกาสเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ketoacidosis   ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตราย 
เป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วนที่สุด

§  ระดับน้ำตาล 300 mg/dL. หรือ สูงกว่า
ท่านไม่ควรออกกำลังกาย  เพราะการออกกำลังกายในระดับนี้  จะทำให้เกิด
ภาวะเลือดเป็นกรด ketoacidosis  มีอันตรายถึงชีวิตได้

ในระหว่างการออกกำลังกาย  ระดับน้ำตาลจะลดต่ำลงในบางครั้ง (hypoglycemia)
ถ้าหากท่านยังต้องการออกกำลังกายต่อไป  ให้ตรวจระดับน้ำตาลทุก 30 นาที
(โดยเฉาะหากท่านต้องเพิ่มความรุนแรง  หรือ เพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกาย)
หลังการออกกำลังกาย...
หลังการออกกำลังกาย  ควรตรวจเช็คดูระดับน้ำตาลอีกครั้ง  เมื่อการออกกำลังเสร็จสิ้น
ลงภายใน 2 – 3 ชม.

ยิ่งมีการออกกำลังกายอย่างหนัก (strenuous)   และ เป็นเวลานานด้วยแล้ว
จะกระทบกับระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้อย่างมาก  โดยเฉพาะหลังการออกกำลัง
แม้ว่า  เวลาจะผ่านไปเป็นชั่วโมงก็ตาม  ยังสามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงได้มาก

ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหลังการออกกำลังกาย...
ท่านสามารถแก้ไขได้โดย  รับประทานอาหารขนาดน้อย ๆ ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล
เช่น  ผลไม้  น้ำผลไม้ และขนามปังกรอบ

การออกกำลังกาย  สามารถให้ประโยชน์ได้หลายทาง
โดยเฉพาะ  ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวาน  การตรวจสอบระดับน้ำตาลก่อน,  ระหว่าง, และหลัง
การออกกำลังกาย  อาจมีความสำคัญเท่า ๆ กับการออกกำลังกาย

http://www.mayoclinic.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น