วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Should You Be Taking Insulin for Type 2 Diabetes?

7/8/12

มีคำถามว่า...
เราจะใช้ฮอร์โมน “อินซูลิน”  รักษาคนไข้ที่เป็นเบาหวานกันเมื่อใด ?

ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
การรักษาในระยะเริ่มแรกหลังการวินิจฉัย  มักจะเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
7/8/12


(lifestyle change)  เช่น  ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารให้ดีขึ้น  และ ออกกำลังกาย
ถ้าการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว  ไม่ประสบผล  ไม่สามารถลดระดับน้ำตาลใน
กระแสเลือดที่สูงได้  แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลหนึ่ง หรือสองตัว 
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Metformin (Glucophage) และ/หรือ sulfonylurea 

ในการรักษาคนไข้เป็นโรคเบาหวาน...
เมื่อเวลาผ่านไป  คนเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง  มักจะมีอาการเลวลง
การใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล  จะไม่ค่อยได้ผลตามที่ต้องการ
มีการประมาณกันว่า  หนึ่งในสามของคนไข้เบาหวาน  
จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดสาร  “อินซูลิน”

ผลจากการวิจัยที่ไม่นานมานี้...
ก่อให้เกิดการท้าทายต่อวิธีการรักษาด้วยการฉีดยา  โดยกล่าวกันว่า 
การที่คนไข้ได้รับยาฉีด “อินซูลิน” เพื่อการรักษาในระยะเนิ่น ๆ 
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีกว่า

ทำไมคนเป็นโรคเบาหวานประเภทสองบางคน  จึงต้องการ Insulin ?
คนเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง...
จะมีความแตกต่างจากเบาหวานประเภทสอง 
ตรงที่มันไม่สามารถสร้างฮอร์โมน “อินซูลิน” ได้เอง 
จำเป็นต้องได้ “อินซูลิน” ฉีด  เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอดอยู่ได้

คนเป็นเบาหวานประเภทสอง  สามารถสร้าง “อินซูลิน” ได้เอง...
แต่ปัญหาที่เกิดในเบาหวานชนิดนี้ 
อยู่ตรงที่เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อ “อินซูลิน”
ตัวตับอ่อนเอง  ก็พยายามชดเชยด้วยการสร้างอินซูลินให้มากขึ้น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป  ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ 
ที่จะเอาชนะภาวะ  ที่เซลล์ในร่างกาย  ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินได้สร้าง
ได้มากแค่ใด  มันก็แค่นั้น

เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า...
โรคเบาหวานประเภทสองได้พัฒนาไปในทางที่เลวลงเรื่อย ๆ 
ทำให้ความสามารถของเซลล์ในตับอ่อน  ที่ทำหน้าที่ผลิต “อินซูลิน” เสื่อมลงถึงขั้น
ทำให้ร่างกายไม่มีปริมาณ “อินซูลิน” เพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายน้ำตาลสู่เซลล์ได้

Evidence for Change

ได้ชี้ให้เห็นความจริงอย่างหนึ่งว่า  มีคนเป็นโรคเบาหวานจำนวนไม่น้อย 
หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่า  เป็นโรคเบาหวาน 
ไม่ได้รับการรักษาด้วยการฉีด insulin   จนกระทั้ง 10 -15 ปี  ผ่านไป  และ 
ส่วนใหญ่จะรอจนกว่าภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้เกิดขึ้นแล้ว 
ซึ่ง การกระทำเช่นนั้น เป็นวิธีการที่ล้าสมัย  และ เป็นการกระทำการรักษา
ที่ไม่ได้ผลเลย
จาก The American Journal of Medicine….

สำหรับการรักษาที่ถูกต้อง... 
ควรเป็นการรักษาด้วยการใช้ insulin แต่เนิ่น ๆ
เพื่อ ช่วยคนไข้ให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ ป้องกันไม่ให้เกิด
ความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้...นั้นคือ แนวโน้มของการรักษาโรคเบาหวาน

เป้าหมายของการเสนอบทความนี้...
เพื่อเป็นการแจ้งให้ท่านที่เป็นโรคเบาหวานได้ทราบว่า 
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (lifestyle changes)  และ รับทานยาเม็ดลดระดับน้ำตาล...
ไม่เพียงพอต่อการรักษาอย่างแน่นอน

ผลของการศึกษาอย่างต่อเนื่อง...
จาก United Kingdom Prospective Diabetes Study
ซึ่งได้ทำการเปรีบเทียบผลของการรักษาคนเป็นเบาหวานด้วยการควบคุมอาหาร
และ การออกกำลังกาย  กับพวกที่ได้รับเม็ดลดน้ำตาล

พบว่า... หกปีหลังการวินิจฉัย... 
มีคนไข้จำนวนมากกว่า 50% ได้รับการรักษาด้วยยา sulfonylurea drug 
เพียงอย่างเดียว  จำเป็นต้องได้รับ insulin ฉีดเพื่อทำให้ระดับน้ำตาล
ลดลงสู่ระดับที่ต้องการได้

ส่วนคนไข้ที่ได้รับ sulfonylurea drug  ร่วมกับยาฉีด insulin…ปรากฏว่า 
ผลของการรักษาเป็นที่พอใจ  ภายในเวลา  6  ปี  สามารถทำให้ระดับของของ   
HbA1c  (โดยเฉลี่ย) อยู่ที่ 6.7 %

มียา insulin ตัวใหม่  คือ insulin glargine…
เป็นยาที่ให้ความสะดวกต่อการใช้  ไม่ค่อยจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ
ถึงขึ้น  Hypoglycemia  ซึ่ง เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่กังวลเมื่อเริ่มทำการรักษา
ด้วย  Insulin therapy

สิ่งสำคัญสุดสำหรับ Insulin และ โรคเบาหวานประเภทสอง

จาก The American Journal of Medicine…
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย  ต่างให้คำแนะนำในเรื่อง “การรักษา” คนเป็นเบาหวาน
ประเภทสองเอาไวว่า...

การรักษาเบาหวานประเภทสอง  ที่เหมาะสมนั้น 
น่าจะเป็นการรักษาในเชิงรุก  และควรให้ระดับ HbA1c มค่าตำกว่า 7 %
ตลอดชีวิตให้ได้

ในด้านปฏิบัติ...
คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่า  เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง 
แผนการรักษายังคงเป็นเช่นเดิม  นั้นคือ  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ,
ตามด้วยยาเม็ดรับทานลดน้ำตาล  และ ตามด้วยการการฉีด insulin

แต่ละขั้นตอนของการรักษา... 
อาจใช้เวลาหลายเดือน  จนกว่าผลจะปรากฏให้เห็น 
ถ้าผลของ HbA1c ไม่บรรลุตามเป้าหมาย...เราจะต้องใช้การรักษาขั้นต่อไป

มีคนเป็นโรคเบาหวานจำนวนไม่น้อย... 
ไม่อยากเริ่มต้นใช้ยาฉีด insulin  เพื่อรักษาโรคเบาหวานของตนเอง 
ที่เป็นเช่นนั้น อาจเป็นเพราะกลัวเข็มฉีดยา
เขาอาจรู้สึกว่า  โรคของเขาเลวลง  หรือ การรักษาไม่ประสบผล
นอกจากนั้น  เขายังมีความกลัวอย่างอื่น  เช่น 
กลัวระดับน้ำตาลลดลงสู่ภาวะ hypoglycemia,  และกลัวน้ำหนักเพิ่ม

สุดท้าย  ผู้เชี่ยวชาญจาก Johns Hopkins ยังคาดหวังว่า...
การรักษาด้วย insulin therapy  ควรนำไปใช้รักษาคนไข้เป็นเบาหวาน
ตั้งแต่เริ่มมีการวินิจฉัย  โดยไม่ต้องกังวลว่า 

ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด  จะถูกควบคุมด้วยการรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม
ซึ่ง  คนไข้จะต้องยึดมั่นในกรรมวิธีการรักษาดังกล่าว
นั้นคือ  ให้ใช้ insulin therapy เป็นการรักษาคนไข้เป็นเบาหวานในเชิงรุก 
โดยเริ่มให้การรักษาทันทีที่ได้รับการวินิจฉัย

http://www.johnshopkinshealthalerts.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น