วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Fibromyalgia: มันเป็นโรคอะไร?


Aug. 7,2013

เมื่อไม่นานมานี้...
ได้มีโอกาสฟังเพื่อนปรับทุกข์ให้ฟังว่า:
“ผมไม่รู้เป็นโรคอะไร...ทุกเย็นรู้สึกเจ็บปวดทั่วร่างกาย ไม่มีแรง
บางครั้งรู้สึกเสียวซ่า ตั้งแต่ศีรษะลงไป...

หมอที่ว่าเก่งๆ ทั้งหลายไปพบหมด รวมทั้งเพื่อนที่เป็นหมอก็ไม่มีเว้น
ทุกคนให้คำตอบคล้ายๆ กันว่า
ผมเป็นกล้ามเนื้ออักเสบชนิดหนึ่ง”

พูดเสร็จเพื่อนก็หยิบยาจากถุงให้ผู้เขียนดู ปรากฏว่า
ยาส่วนใหญ่เป็นยาเกี่ยวกับการรักษาทางจิตประสาทแทบทั้งนั้น
เป็นต้นว่า valium, neurontin, และยาบำรุง B co

มองหน้าเพื่อนด้วยความเห็นใจ ยังไม่ได้กล่าวอะไร...
เพือนของเราก็พูดต่อว่า...

“ยาที่ผมกินทุกวัน มันก็ยังงันๆ แหละ... อาการเหมือนเดิม เย็นลงเป็น
มีอาการทุกที แต่ผมก็ต้องกินมันตามแพทย์สั่ง...

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ไปพบพระองค์หนึ่ง ทางภาคอีสาน
ท่านสอนให้นั่งสมาธิ ซึ่งทำให้ผมสามารถอยู่ร่วมกับอาการปวดทั่วกาย
ได้ในระดับหนึ่ง โดยที่อาการปวดไม่หายไปใหน... “

ข้อมูลที่ได้จากเพื่อน...
ทำให้นึกถึงโรคหนึ่ง ซึ่งสามารถทำให้ทุกคนรวมทั้งแพทย์ผููู้้ทำการ
รักษาบางท่าน ไม่ค่อยมั่นใจนักว่า มันเกิดขึ้นได้อย่าง ? มีเพื่อแพทย์หลาย
นายโยนความผิดไปที่ จิตประสาทกัน ...
โรคที่ว่า คือ “Fibromyalgia”

ในสมัยก่อน...
Fibromyalgia เป็นภาวะอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดมีอาการเหนื่อยเพลีย
เจ็บปวดทั่วร่างกาย และถูกคิดว่า มันประโรคที่เกี่ยวข้องกับความ
ผิดปกติด้านจิตใจล้วน ๆ

มาในปัจจุบัน แพทย์เข้าใจว่า โรค fibromyalgia ไม่ใช้โรคจิตตามที่เข้าใจ
แต่เป็นโรคทีเกิดจากความผิดปกติในระบบสมองส่วนกลาง
ซึ่งเคยมีรายงานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนานมาแล้ว  (1800s) 
และเราพึ่งมีความเข้าใจว่า มันเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเอกลักษณะเฉพาะของมัน...

คนที่มีอาการเหนื่อยเพลีย (fatigue); ปวดตามกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย,
มีจุดมีอาการเจ็บจากการสัมผัสหลายจุด ซึ่งทำให้คนไข้อ่อนแรง และทรุดโทรม
ต่างเป็นอาการของคนที่เป็นโรค Fibromyalgia

นอกจากอาการทีกล่าวมา คนไข้ยังมีอาการอย่างอื่นอีก เป็นต้นว่า...
โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome) ; ปวดศีรษะ (headache) ,
ปวดกราม (jawache); มีความไวต่อกลี่น, เสียง, แสง และการสัมผัส;
มีอาการซึมเศร้า (depression), เครียด (anxiety), และไม่มีสมาธิ

เราไม่สามารถวินิจฉัยโรค fibromyalgia ได้โดยตรง...
แต่จะวินิจฉัยได้ด้วยการแยกโรคอื่นๆ ออกไปให้หมดเสียก่อน จึงทำให้
เราเรียกโรคชนิดนี้ว่า เป็นโรคแห่งการแยกโรคอื่นออกไป
(disease of exclusion)

เป็นที่ทราบกันว่า มีหลายโรคซึ่งมีอการคล้ายๆ กับอาการของโรค fibromylagia
เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism), โรครูมาตอยดตอยด์(RA);
โรค Lyme disease; โรค Lupus; และโรค polymyalgia rheumatica

โรค Fibromyalgia จะเกิดขึ้นกับสตรีเป็นส่วนใหญ่...
โดยเกิดในช่วงอายุ 20 – 60 , เป็นโรคเรื้อรัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
มีอาการอย่างใด อาการก็ยังคงเป็นเชนนั้น และไม่เป็นอันตรายต่อแม้แต่น้อย

แม้ว่าเราจะทราบว่า...
คนๆ นั้น เป็นโรค fibromyalagia แต่เราก็ไม่ทราบได้อย่างแน่ชัดว่า
อะไรคือสาเหตุที่แท้จริง

ตามเป็นจริง...
ประสาททั้งหลายที่ทำหน้าที่บันทึกความเจ็บปวด
และสัญญาณของความเจ็บปวดนี้จะเดินทางผ่านเส้นประสาท เข้าสู่ประสาท
ไขสันหลัง และเข้าสู่สมอง

ผลจากการตรวจคนไข้ที่เป็นโรค fibromyalgia
พบว่า ปุ่มปลายประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด (nociceptors) ที่อยู่ในสมอง
จะมีความไวต่อความเจ็บมากเป็นพิเศษ นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า
ภายในสมองเองยังมีสารสื่อประสาท
ซึ่งทำหน้าที่นำส่งคลื่นแห่งความเจ็บวปวดมากผิดปกติอีกด้วย

มีผู้พยายามอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวว่า...
การที่สมองมีความไว (sensitive) ต่อความเจ็บปวด อาจเป็นเพราะกระดูกสัน
หลังได้รับบาดเจ็บ (spinal trauma), อักเสบจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย,
มีความผิดปกติทางการนอนหลับ (sleep disturbance),
มีความผิดปกติในระบบประสาทที่ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นต้น

การรักษา (Treating Fibromyalgia)
ในการรักษาคนไข้ทีเป็นโรค Fibromyalgia...
องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ในปี 2007 ได้รับรองให้ใช้สาร ชื่อ
Pregabalin (Lyrica) เป็นยาสำหรับรักษาคนไข้ที่เป็นโรค fibromyalgia
ซึ่งแต่ก่อน ยา pregabalin เป็นยาสำหรับรักษาโรคชัก (anticonvulsant)
และใช้เป็นยารักษาอารปวดประสาทจากดรคเบาหวาน และโรคงูสวัส
โดยยาดังกล่าว จะทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนสารสื่อประสาทที่อยู่ในสมอง...

นอกจากยา pregabalin แล้ว...
ยังมียาอีกตัว ซึ่งแพทย์ใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรค fibromyalgia ซึ่งได้ผลดี
เช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้รับการรับรองจาก FDA ก็ตาม (off-label)
ยาที่ว่านั้น คือ Gabapentin (Neurontin)

ยาแก้ปวด เช่น acetaminphen อาจช่วยในรายที่ไม่มีความรุนแรงนัก..
ส่วน NSAIDs จะไม่แนะนำให้ใช้ เพราะโรค fibromyalgia เป็นโรคที่ไม่
เกี่ยวข้องกับการอักเสบเลย

ยาคลายประสาท เป็นต้นว่า Benzodiazemines เช่น valium (diazepam)
อาจช่วยให้คนไขผ่อนคลาย และนอนหลับได้ง่ายวขึ้น
แต่เป็นยาที่ไม่ควรใช้ในระยะแรก ๆ เพราะจำทำให้คนไข้ติด (addictive),
ทำให้เกิดอาการง่วงซึม สามารถทำให้เกิดปัญหาด้านการทรงตัว
อาจทำให้เกิดหักลมกระดูกแตกหักได้...

นอกจากการใช้ยารักษาแล้ว...
ยังมีการนำเอาการรักษาแบบผสมผสานอย่างอื่นเข้ามาร่วมด้วย
เป็นต้นว่า การออกกำลังกายสามารถช่วยทำให้อาการของโรค fibromyalgia
เบาลงได้

นอกจากนั้น บางคนได้ผลดีด้วยการฝังเข็ม, นวด, และฝึกการผ่อน
คลายร่างกาย และจิตใจ

Source:
Johns Hopsins Health Alert.

1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นโรคนี้มาประมาณ 6 เดือนแล้ว พยายามบอกหมอแต่ทุกหมอลงความเห็นว่าไม่ใช่เป็นโรคนี้ ตั้งแต่
    หมอด้านmed neuro ทั้งที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตลอดจนโรงพยาบาลจุฬา ต่างก็บอกว่าไม่ได้เป็น โรคนี้ อาการของโรคทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วมากภายในระยะเวลา 3 เดือนสุดท้าย กล้ามเนื้อจะมีก้อนแข็ง เพิ่มขึ้นอีกหลายจุดมาก มีคุณหมอท่านหนึ่งแนะให้ไปปรึกษาคุณหมอทางneuro med ที่ ร.พ พระมงกุฎเกล้าคุณหมอท่านนี้ ซักประวัติอย่างละเอียด ในที่สุดก็ลงความเห็นว่าเป็นโรค Fibromyalgia ซึ่งตัวเองแสนจะดีใจที่พยายามโน้มน้าวคุณหมอหลายๆท่านว่าเราเป็นโรคนี้ มีน้องที่เรียนเภสัชจบปริญญาเอกจาก Pennsylvania อยู่ที่เยอรมันนี ก็ช่วยค้นคว้าแล้วลงความเห็นว่าน่าจะเป็นโรคนี้แน่ๆ

    ตอบลบ