วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Focus on Gastroparesis

7/13/12

Gastroperesis….
เป็นภาวะการณ์อย่างหนึ่ง  ที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร 
ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายอาหาร  ที่ได้รับการย่อยสลายจากกระเพาะ
ได้ตามปกติ  โดยมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะเช่นนั้นได้ 
แต่ส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน

Gastroparesis...
ตามตัวอักษร  หมายถึงภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะเป็นอัมพาติ 
ไม่สามารถทำให้อาหาร  ที่ย่อยสลายแล้ว  ผ่านเข้าสู่ลำไส้ได้ตามปกติ

เราไม่สามารถทำให้ภาวะดังกล่าวหายเป็นปกติได้  แต่เราสามารถทำให้
อาหารสามารถเคลื่อนออกจากกระเพาะได้เร็วขึ้น  และ
สามารถทำให้อาการแน่นท้องบรรเทาลงได

Gastroparesis…
ภาวะกระเพาะอาหารอ่อนแรงเป็นอัมพาติ  มักจะเกิดในคนที่เป็นโรคเบาหวาน
โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวาน  มาเป็นเวลานาน
ซึ่งอาการของโรคกระเพาะเป็นอัมพาติอ่อนแรง  จะทำให้คนไข้มีความรู้สึกว่า
หลังรับประทานอาหารเกิดอาการ “แน่นท้อง” ,  เรอ,  แสบหน้าอก,  แน่นท้อง, 
คลื่นไส้,  และอาเจียน  อาการดังกล่าวจะมีอยู่ตลอดเวลา 
หรือ อาจเป็น ๆ หาย ๆ

คนไข้บางคนที่เป็นโรค  gastroparesis...
อาจไม่มีอาการใด ๆ   อาการของโรคกระเพาะอาหารอัมพาติ  อาจเป็นเพียงความ
ล้มเหลวในการควบคุมระดับน้ำตาลเท่านั้นเอง  และ  ถ้าปล่อยทิ้งไว้ 
สามารถนำไปสู่ภาวะขาดอาหาร,  ขาดน้ำ (dehydration),
เสียสมดุลของเกลือแร่ในกระแสเลือด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า  คนเป็นโรค  gastroparesis ?
เรามีวิธีการวินิจฉัยโรคดังกล่าว  เรียกว่า solid-phase gastric scintigraphy
เป็นการตรวจการทำงานของกระเพาะอาหาร  ด้วยการให้คนไข้รับทานอาหารแข็ง
(solid food)  ซึ่งมีส่วนประกอบของสารกัมมันตภาพรังสี... 
แล้วทำการตรวจด้วยเครื่อง scanning  ดูสารที่กลืนเข้าไปผ่านออกจากระเพาะ
หมดเมื่อใด

การตรวจอย่างอื่น... 
เพื่อการตรวจดูการทำงานของกระเพาะว่า  อาหารเคลื่อนผ่านจากกระเพาะจนหมด
(gastric emptying) ได้แก่  radioisotope breath test 
ซึ่งเป็นการดูระดับของคาร์บอนไดออกไซด์  ในลมหายใจ,  และ  
electrogastrogrphy  เป็นการตรวจการทำงานของกระเพาะอาหาร 
ด้วยการตรวจดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร 
ซึ่งสามารถกระทำได้โดยใช้  electrode  วางบนผิวหนังหน้าท้องเหนือกระเพาะอาหาร

นอกจากนั้น  ยังมีการตรวจด้วยวิธีที่กระทำตรวจตามปกติ  เรียกว่า...
Gastrointestinal series (เป็นการกลืนแป้งแบเรียม  แล้วตรวจด้วยเอกซเรย์)

ในการรักษาภาวะgastroparesis…
การรักษาภาวะกระเพาะอ่อนแรง หรืออัมพาติมีสองส่วน:
ส่วนแรก  เป็นการทำให้อาหารเคลื่อนย้ายออกจากระเพาะให้หมด  และทำให้อาการบรร
เทาลง  ส่วนที่สอง  เป็นการรักษาโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะเกิดการอ่อนแรง

เพื่อให้การเคลื่นยายอาหารจากกระพู่ลำไส้ได้เร็ว  สามารถกระทำได้ด้วย
การรับทานอาหารประเภทไขมันต่ำ  และใยอาหารน้อย
และให้รับทานอาหารบ่อย ๆ วันละหกครั้ง  ในแต่ละครั้งจะมีปริมาณอาหาร
ไม่มาก  เป็นการช่วยให้กระเพาะทำงานได้สบายขึ้น

นอกจากอาหารการกินแล้ว...
ยังมียาอีกหลายชนิด  ที่เราสามารถนำมาใช้รักษา  และช่วยทำให้กระเพาะ
อาหารขับอาหารผ่านออกจากกระเพาะได้เร็วขึ้น 
และช่วยลดอาการคลื่นไส้ และ อาเจียน....
ยาที่ใช้  ได้แก่  metoclopramide (Regland)  และ erythromycin 
เพื่อทำให้อาหารผ่านจากกระเพาะได้เร็วขึ้น 
ส่วนยา proclorperazine  ใช้สำหรับแก้อาการคลื่นไส้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น