วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทำความเข้าใจกับ การตรวจดูระดับฮอร์โมน

9/27/12

เพื่อการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง...
การทำความเข้าใจในผลการตรวจเลือดทางหองปฏิบัติการณ์ 
บางครั้งอาจทำให้เราเกิดความสับสนได้  โดยเฉาะผลการตรวจผลเลือดของสภาพสตรี...
ผลการตรวจที่ได้รับ  จะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ทำการส่งตรวจเอง  เป็นผู้อธิบายผลที่ได้
เพื่อนำมายืนยันคำวินิจฉัยที่เราสงสัย,  เพื่อบอกกล่าวว่า  สิ่งที่ปรากฏนั้นไม่น่าจะมี
อันตรายใด ๆ, เพื่อตรวจสอบว่าหลังการรักษาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง, และ อื่น ๆ

ข้อควรรู้:  ไม่มีการตรวจใดที่สามารถบ่งบอกได้ว่า  “การตรวจนั้น ๆ ถูกต้องร้อยเปอร์
เซนต์”   แม้กระทั้งการตรวจเพาะเชื้อโรคจากคอ..ซึ่งเป็นการตรวจที่ตรงไปตรงมาแท้ ๆ
มันยังไม่ได้พิสูจน์ความแม่นยำได้ 100 % เลย....
ในการตรวจหาค่า ฮอร์โมน...
ผลที่ได้รับ  ส่วนใหญ่จะตกอยู่ในกลุ่มที่ยากต่อการเข้าใจ (grey area)
จะปกติก็ไม่ใช้  จะผิดปกติก็ไม่เชิง  ที่เป็นเช่นนี้  เป็นเพราะการตรวจหาฮอร์โมนต่าง ๆ
มีความบกพร่องที่เราไม่สามารถกำจัดออกทิ้งได้
ข้อแรก:  ระดับของโอร์โมนมขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลา  ไม่เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลง
ในระหว่างวันหนึ่ง ๆ  แต่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งเดือน  เช่น ในสภาพสตรี
ที่กำลังมีประจำเดือน  นอกจากนั้น  มีฮอร์โมนหลายอย่าง 
ที่มีระดับสวิงขึ้นลงตามยาที่รับประทานหรือ ตามความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น 
ดังนั้น  ระดับของฮอร์โมนที่มีค่าสูง  หรือ มีค่าต่ำ  อาจปกติก็ได้

นอกจากนั้น  ค่าปกติของระดับฮอร์โมน  อาจมีความแตกต่างระหว่างห้องปฏิบัติการณ์
กับอีกแห่งหนึ่ง....นั่นเป็นเรื่องปกติ
มีการตรวจหลายอย่าง  มีปัญหาโดยเฉพาะหลายอย่าง 
ที่เกิดร่วมกับมันที่จะนำเสนอต่อไปนี้  เป็นการตรวจหาค่าฮอร์โมน  
ที่มีการตรวจบ่อย  และยากต่อการอธิบายผลที่ได้รับ
เพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมไทยรอยด์...
มีการตรวจที่สำคัญสองอย่าง  ที่เราควรทราบเอาไว้  นั้นคือ
thyroid stimulating hormone (TSH)  และ freee thyroxine (T4)
โดยทั่วไป  TSH  จะเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland)
เป็นฮอร์โมนที่ดีที่สุดสำหรับ  สำหรับตรวจหาโรคของตอมไทรอยด์
ค่าของ TSH  จะมีค่าเพิ่มาขึ้นเมื่อต่อมไทยรอยด์ไม่สร้าง thyroid hormone ได้ตามปกติ
และ  ค่า TSH จะลดต่ำลง  เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
ส่วนใหญ่แล้ว  ระดับ TSH  จะบงบอกให้เราได้ทราบว่า  ต่อมไทรอยด์ทำงานปกติหรือไม่,
ทำงานมากเกิน (hyperthyroid) หรือ  ทำงานน้อยเกิน (hypothyroid)
อย่างไรก็ตาม  ภายใต้สภาพบางอย่าง... 
TSH  อาจมีค่าสูง  เมื่อท่านไม่สบายมาก ๆ (very sick)  แม้ว่า 
ต่อมไทรอยด์ของท่านยังทำงานได้อย่างเหมาะสมอยู่ก็ตาม 
ซึ่ง ในกรณีดังกล่าว สามารถตรวจได้ด้วยการตรวจดูระดับ Free T4  
ที่ไหลเวียนในกระแสเลือด
ในการตรวจจากห้องปฏิบัติการณ์ส่วนใหญ่...
ค่าของ TSH  จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.5  - 5.0 milli international units/liter
อย่างไรก็ตาม  แพทย์ส่วนใหญ่  จะพิจารณาว่า  คาปกติจะอยู่ระหว่าง  0.3 – 3.5
ถ้าค่าของ TSH  มีค่าสูงกว่า  10  มักจะบ่งบอกให้ทราบว่า...
คนไข้รายนั้น  ตกอยู่ในภาวะทำงานน้อย (hypothyroid state)  และ จำเป็นต้องได้รับ
การรักษาด้วย thyroid medication….
ถ้าค่า TSH อยู่ระหว่าง  0.5  - 10  แพทย์ของท่านอาจตัดสินใจว่า...
ควรได้รับการรักษาด้วย thyroid pills หรือไม่  หรือ  อาจทำการตรวจหาค่า TSH ซ้ำ
ภายในเดือน หรือ สองเดือน  แล้วค่อยมาพิจารณาว่าควรให้การรักษาหรือไม่ ?
นั่นคือแนวทางที่ควรปฏิบัติ
ฮอร์โมนเพศชายประกอบด้วย testeosterone, androstenedione  และ DHEA-S (dehydroepiandrosterone sulfate)…
แม้ว่าเราจะเรียกว่า  เป็นโอรโทนเพศชายก็ตาม  เรายังสามารถพบฮอร์โมนตัวนี้ในสภาพสตรี
ทีมีสุขภาพดี  สามารถสร้างฮอร์โมนตัวนี้ออกมาได้จำนวนไม่มาก  
แพทย์ของท่านอาจสั่งหาค่าฮอร์โมนเพศชายตัวนี้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน...
ยกตัวอย่าง  สตรีที่มีขนเกิดที่บริเวณใบหน้า  และร่างกายมากผิดปกติ 
แพทย์จะสั่งตรวจหาฮอร์โมนเพศชาย  ซึ่งมันจะมีค่ามากผิดปกติ  และ
สตรีที่ไม่สามารถตั้งท้องได้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง  ที่พบว่า  ฮอร์โมนเพศชายมีค่าสูงผิดปกติ
ปัญหาจะเกิดขึ้น...
เมื่อการตรวจหาค่าฮอร์โมนเพศชาย  ที่มีค่าสูงขึ้น  เมื่อนำมาใช้ประเมินสุภาพสตรี
หลังหมดประจำเดือน  ที่มีอาการเหนื่อยอ่อน (low energy)
และไม่มีความรู้สึกทางเพศ...
ข้อแรก:  ระดับ testosterone ในเลือดของสตรีไม่สามารถจะเชื่อได้เท่าของชาย
การตรวจนี้  เริ่มต้นถูกนำมาตรวจหาระดับ testosterone ที่ต่ำไปในเพศชาย  ไม่ใช้ในเพศหญิง 
ซึ่งในหญิงจะมีระดับฮอรโทนตัวนี้ต่ำมาก  ดังนั้น  จึงไม่เหมาะที่จะนำมาตรวจในสุภาพสตรี

ข้อสอง: ผู้เชี่ยวชาญ  ไม่เห็นด้วยว่า  การที่ระดับของ testosterone ต่ำ...
หมายถึงสตรีหมดประจำเดือน  และ การรักษาด้วยการให้ testosterone
จะช่วยทำให้สตรีมีความรู้สึกดีขึ้น  การศึกษาบางแห่งแสดงให้เห็นว่าได้ผล 
และ บางแห่งไม่ได้ผล
เมื่อมีการอธิบายผลที่ได้จากการตรวจเลือดของค่าฮอร์โมน...
ท่านอาจเกิดความสับสนจากผลที่ได้จากห้องปฏิบัติการณ์  เพราะห้องปฏิบัติการณ์
แต่ละแห่งมีค่า (different units) ที่แตกต่างกัน
ซึ่งเหมือนกับการใช้มาตรวัดอะไรบางอย่างที่ต่างกัน  เช่นด้วย “นิ้ว”  กับวัดด้วย “หลา”
ท่านอาจจะคำนวณอะไรบางอย่างว่า  มีค่าระดับปกติ
Menopause
ในการตรวจเลือดสำหรบคน  ที่กำลังมีประจำเดือนต้องกะเวลาให้ถูกต้อง...
การตรวจหาระดับฮอร์โมน  ควรตรวจวัดในวันที่สามของการมีประจำเดือน
เพราะ  ระดับของ follicular stimulating hormone (FSH)
ซึ่งเป็นเวลาที่คาของฮอร์โมนที่เชื่อถือได้  ส่วนเวลาอื่น ๆ  ค่าของฮอร์โมน จะสวิงขึ้นลง...
เป็นค่าที่เชื่อถือไม่ได้
นอกจากนั้น  ยังปรากฏอีกว่า  ช่วงระหว่างที่จะเข้าสู่ระยะหลังหมดประจำเดือน
จะทำให้ระดับของ FSH  จะสวิงขึ้นลง   บางเดือนระดับของฮอร์โมนจะมีค่า
เท่ากับระดับหลังหมดประจำเดือน  เดือนถัดไปรังไข่จะสุก (ovulate) ระดับของFSH 
จะมีค่าปกติ  ถ้าหำค่าของ FSH มีค่าปกติ  ท่านสามารถมีครรภ์ได้จนกว่า
ท่านจะไม่มีประยำเดือนเป็นเวลาหนึ่งปี
สำหรับสตรีที่มีบุตรลำบาก...
การตรวจดูระดับ FSH  ถ้าพบว่า  ค่าของฮอร์โมนตัวดังกล่าวมีค่าสูงในวันที่ 3
ของการมีประจำเดือน  ท่านมีโอกาสที่จะตั้งท้องได้ 
Corticosteroid Hormones
การตรวจดูระดับฮอร์โมนตัวนี้...
เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยต่อมเหนือไต (adrenal gland)
ถ้าระดับ corticosteroids มีค่าสูง  สามารถนำไปสู่การมีน้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้น
เส้นเลือดใต้ผิวหนังเกิดแตกง่าย (easily bruising),  มีความดันโลหิสสูง,
และ  เป็นโรคเบาหวาน
หากฮอร์โมนตัวดังกล่าว  มีค่าต่ำกว่าปกติ  จะนำไปสู่อาการเหนื่อยเพลีย,
เกิดอาการอ่อนแรง,  ความดันโลหิตต่ำ,  น้ำหนักตัวลด, และ ปวดท้อง
ระดับ steroids  จะสูงขึ้นในตอนเช้า  และหลังจากนั้น มันจะค่อยๆ ลดลง
ในตอนกลางวัน  ดังนั้น  เราควรทำการตรวจฮอร์โมนตัวดังกล่าวในตอน
8.00   มากกว่าที่จะตรวจในตอนอื่น
การตรวจหาระดับของ corticosteroid  ที่ดีคือ  ตรวจหาระดับของฮอร์โมน
Corticosteroid ในปัสสาวะที่เก็บไว้ได้ใน 24 ชม.

โดยปกติแล้ว...
ฮอร์โมนของมนุษย์เรา   จะอยู่ในสภาพที่สมดุลโดยการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
อันละเอียดอ่อน  และการตรวจดูระดับของฮอร์โมน  สามารถให้ข้อมูลให้เราได้รู้ว่า 
มีอะไรเกิดขึ้นภายในร่างกายของเรา  และบางครั้ง 
มันสามารถบอกให้เราได้ทราบคำตอบที่แท้จริงได้
หากเมื่อใดเราเกิดความสงสัย  เราสามารถปรกษาผู้ชำนาญการเฉพาะทาง  เช่น
ผู้เชี่ยวชายทางระบบไร้ต่อม (Endocrinologist) หรือ แพทย์ทางนารีเวช (gynecologist)  
ผู้มีความเชี่ยวชาญในปัญหาที่เกิดขึ้นกับฮอร์โมนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น