โรคชนิดนี้เคยถูกเรียกว่า fibrositis
เป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก แต่เราไม่ค่อยเข้าใจมันเลย
มันเป็นโรคเรื้อรัง, ความเจ็บปวดกระจายทั่วไป, มีอาการเกร็ง (stiffness) ของ
กล้ามเนื้อ, เอ็น, และ พังผืดต่าง ๆ
ทำให้คนไข้มีอาการเมื่อยล้า ร่วมกับความเจ็บปวดได้บ่อย
ซึ่งเพียงบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดมีอาการเลวลงได้อย่างมาก
จากการตรวจทางข้อ หรือ กล้ามเนื้อ จะไม่พบสิ่งผิดปกติใด
โรค Fibromyalgia จะพบได้ผู้หญิงได้มากกว่าชาย...จะพบมากเมื่อมีอายุมากขึ้น
มันมักจะเกิดร่วมกับโรคอย่างอื่น เช่น rheumatoid arthritis และ lupus
แต่มันจะไม่นำไปสู่การทำลายข้อ หรือกล้ามเนื้อ
สำหรับการรักษาจะมุ่งตรงไปที่ลดอาการของโรคเท่านั้น
§ อาการเจ็บ, ปวด, และ เกร็งของกล้ามเนื้อ
การออกแรง เช่น การออกกำลังกายสามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็งดีขึ้นได้จริง
แต่ จะทำให้ความเจ็บปวดเลวลง อาการแข็งเกร็งตอนตื่นนอนจะแย่มาก
ซึ่งอาจเป็นเช่นนั้นได้ทั้งวัน
§ อาการเมื่อล้าเรื้อรัง ตื่นจากการนอนหลับพักผ่อน แทนที่จะสดชื่น กลับไม่เป็นเช่นนั้น
§ มีอาการแปรปรวนทางกระเพาะลำไส้ เช่น ท้องผูก, ท้องล่วง, ปวดท้อง. มีอาการปวด
ประจำเดือน , ซึมเศร้า, ปวดศีรษะข้างเดียว (migraine) และ
บางทีกระเพาะปัสสาวะแปรปรวนด้วย (irritable bladder)
§ เราไม่ราบสาเหตุของ fibromyalgia
§ การรบกวนการนอนกหลับ โยเฉพาะตอนหลับลึก (stage IV) จะทำให้อาการเกิดขึ้น
§ ภาวะไร้การทำงานของกล้ามเนื้อ, อ่อนแอ, การไหลเวียนเลือดไม่ดี
อาจเป็นตัวกระ ตุ้นให้เกิดภาะวะดังกล่าวได้
§ อารมณ์เครียด อาการซึมเศร้า อาจทำให้อาการเลวลง
§ บางครั้ง บาดเจ็บ หรือ การอักเสบตจิดเชื้อ อาจเป็นตัวนำ... ทำเกิดภาวะ fibromylgia
โดยเราไม่ทราบว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เราจะป้องกันมันได้หรือเปล่า ?
§ เราไม่มีทางทราบว่า จะป้องกันไม่ให้มันเกิดได้อย่างไร ?
§ การรับประทานอหารที่ให้สุขภาพ ให้ครบทุกหมู่เหล่า และ ออกกำลงกายอย่าง สม่ำเสมอ
อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
เนื่องจากอาการของโรค figromyalgia มีลักษณะคล้ายกับโรคหลายอย่าง...
จึงเป็นการยากที่จะทำการวินิจฉัย ซึ่งอาจทำให้ท่านไปพบแพทย์หลายท่าน
ก่อนที่จะรู้ว่า ท่านเป็นโรค fibromyalgia
ไม่มีการตรวจทางเอกซเรย์, ไม่มีการตรวจเลือด, ไม่มีการตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ
เพราะมันไม่สามารถบอกว่าเป็นโรคได้
อย่างไรก็ตาม American College of Rheumatology ได้ให้เกณฑ์การวินิจโรค
Fibromyalgia ว่า เมื่อใดก็ตามที่คนไข้มีสีงต่อไปนี้ให้ถือว่า
เป็นโรค fibromyalgia:
§ มีความเจ็บปวดกระจายทั่วร่างกาย
§ อาการดังกล่าจะต้องเป็นนาน 3 เดือน เป็นอย่างน้อย
§ อาการปวดจะต้องเป็นทั้งสองข้างของร่างกาย
§ อาการปวดจะต้องอยู่เหนือ และ ต่ำกว่าระดับเอว
§ จะต้องมีจุดกดเจ็บ (tender points) อย่างน้อย 11 ถึง 18 จุด
§ ยาแก้ปวด (analgesic) เช่น acetaminophen อาจช่วยได้ ห้ามใช้ narcotic
§ จัดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจช่วยทำให้อาการปวด อาการเกร็ง
และการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ระยะแรก ๆ อาจทำให้อาการแย่ลงได้
แต่ต่อไปอาการจะดีขึ้น ให้เริ่มจากน้อยไปหามาก ทำอย่างช้า ๆ
เช่น เดิน ว่ายนำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
§ ยาประเภท amitriptyline, nortiptyine, doxepine หรือ cyclobenzaprine
อาจช่วยให้คนไข้นอนหลับดีขึ้น
§ อาบน้ำอุ่น นวด สามารถช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้
§ เรียนรู้เรื่องการผ่อนคลาย เช่น การฝึกสมาธิ หรือ ทำ biofeedback
ซึ่งเราจะใช้วิธีฝึกดูกายดูจิตแบบไทยเราได้
§ อย่างไรก็ตาม โรค fibromyalgia แม้ว่าจะยากแก่การควบคุมก็จริง
แต่เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ไม่ทำให้ร่างการเกิดการบาดเจ็บ (damage)
Adapted from
John Hopkins Health alerts
เป็นประโยชน์มากคะ
ตอบลบเป็นประโยชน์มากคะ
ตอบลบ