วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Preventing Hypo- or Hyperglycemia During Exercise

7/12/12

เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน....
เชื่อว่า  ท่านรู้เป็นอย่างดีว่า  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น
ต่อการทำให้สุขภาพของท่านดีขึ้น  ซึ่งได้รับการยืนยันจากนักวิจัยที่ทำการศึกษา
อย่างต่อเนื่องว่า  มันเป็นจริงเช่นนั้น

ผลที่ได้จากการวิเคราะห์คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน  จำนวนมากกว่า 100 การศึกษา
โดยมีคนไข้จำนวนประมาณ 10,500  ราย  พบว่า... 
การออกแรงอย่างสม่ำเสมอ  สามารถลดระดับ HbA1c ในกระแสเลือด
ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย 

ถ้าท่านโรคเบาหวาน  ได้รับ “อินซูลิน” หรือยาเม็ดลดน้ำตาล...
ในขณะที่ท่านกำลังกาย  สิ่งที่ท่านต้องทำ  คือ 
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ (hypoglycemia)  และ 
ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นสูง (hyperglycemia)
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นทันทีหลังการออกกำลังกาย

เราจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่ไม่พึงปรารถนาได้อย่างไร ?
สิ่งที่ท่านควรพิจาณา:

§  ท่านต้องตรวจดูระดับน้ำตาลก่อนล่วงหน้า:
ถ้าระดับน้ำตาลของท่าน  มีค่าอยู่ระหว่าง 100 – 130 mg/dL  และ ท่าน
เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...ท่านสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย

§  ถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่าน  ต่ำกวา 100 mg/dL …
ก่อนออกกำลังกาย  ท่านควรรับประทานอาการว่างประเภทแป้ง (carbohydrate  snack) 
ก่อนเริ่มออกกำลังกาย

§  ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดของท่าน  มีค่า  300 mg/dL หรือ สูงกว่า...
ห้ามออกกำลังกายอย่างเด็ดขาด  เพราะสามารถก่อให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด
(ketoacidosis)   มีอันตรายถึงชีวิตได้
(ให้ดูในเรื่อง Diabetes and exercise)

§  ท่านควรมีสิ่งที่สามารถเสริมพลังได้ทันที เมื่อเกิดภาวะตกต่ำ (hypoglycemia)
ซึ่งสามารถเกิดในขณะทำการออกกำลังกาย 
เช่น  ก้อนน้ำหวาน, ทอฟฟี่  เป็นต้น

§  ในระหว่างการออกกำลังกาย  หากมีอาการของระดับน้ำตาลพร่องเกิดขึ้น
เช่น  เป็นลม  ใจสั่น  หรือ เกิดอาการอ่อนแรง...ท่านต้องหยุดการออกกำลังกาย
พร้อมกับตรวจระดับน้ำตาลทันที  และ รับทานอาหารว่าง (snack) หรือน้ำหวาน
เช่น น้ำผลไม้ทันที (หากจำเป็น)

§  เนื่องจากระดับน้ำตาล  สามารถลดลงได้แม้ว่า  เวลาจะผ่านไปแล้วก็ตาม
สิ่งที่ท่านควรทำ  คือ  ตรวจดูระดับน้ำตาลทันที  และ
ตรวจอีกครั้ง  เมื่อเวลาผ่านไปได้ 2 – 3 ชม.

ในคนเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะประเภทหนึ่ง  ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia)
เมื่อได้รับยารักษา...ด้วยการฉีดอินซูลิน....
เมื่อมีการออกกำลังกาย   จะพบว่า  หลังการออกกำลังกาย 
ระดับน้ำตาลมกจะเพิ่มสูงขึ้น  ที่เป็นเช่นนั้น  เป็นผลเนื่องมาจากมีสาร “adrenaline”  หลั่ง
ซึ่งมักจะเกิดขึ้น  เมื่อคนไข้รายนั้นมีการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไป 
และ...หลังจากนั้นสักหลายชั่วโมง  มันจะตามด้วยภาวะน้ำตาลลดฮวบลง (hy[poglycemia)

นั่นเป็นเรื่องราว  ที่เราผู้เป็นโรคเบาหวานควรรู้เอาไว้.....


http://www.johnshopkinshealthalerts.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น