วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Hyperthyroidism : continued 2

7/31/12


อาการ (symptoms)

คนไข้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์เกิน  มีอาการดังต่อ
  •  ความกังวลใจ (Nervousness)
  • นอนไม่หลับ (insomnia
  •  มีอารมณ์แปรปรวนอย่างมาก  (dramatic  emotional sweing)
  •  เหงื่อออกมาก (Sweating)
  •  มือสั่น (Tremors)
  •  หัวใจเต้นเร็ว (Increase heart rates)
  •  ถ่ายอุจจาระบ่อย (Frequent bowel movement)
  • น้ำหนักลด โดยไม่สามารถอธิบายได้  ทั้งๆ ที่มีการเจริญอาหาร
  •  ขี้ร้อน  ตลอดเวลา (Feeling warm or hot all the time)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness)
  • หายใจติดขัด  หัวใจเต้นเร็วใจสั่นระริก ( shortness of breath and palpitation)
  • ผมล่วง (Hair loss)

หากโรคดังกล่าวเกิดในสุภาพสตรี  เธอจะมีอาการทางประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 
หรือหยุดการมีประจำเดือนโดยสิ้นเชิง 
สำหรับคนที่มีอายุมากเมื่อเกิดโรคดังกล่าว 
อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย  หรือ เจ็บหน้าอกได้

ถ้าต้นเหตุทำให้เกิดโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  หรือมากผิดปกติ...
คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  อาจมีเนื้อเยื่อหลังลูกตาบวม  เป็นเหตุให้ลูกตา
ถูกดันออกมาทางด้านหน้า  ทำให้คนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าวมีเอกลักษณะเฉพาะตัว 
มีตาถลนอออกมา...เห็นแล้วลืมไม่ลง !

การวินิจฉัย (Diagnosis)
เมื่อท่านไปพบแพทย์...
แพทย์จะทำหน้าที่ตรวจต่อมไทรอยด์ของท่าน  เพื่อดูว่ามีก้อนที่ผิดปกติที่บริเวณ
คือหรือไม่  เขาอาจใช้เครื่องตรวจฟัง (stethoscope) ตรวจฟังเสียงการไหลเวียนของ
เลือด ทีไหลผ่านเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ได้

แพทย์จะทำการตรวจหาอาการแสดงอย่างอื่น ของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานเกิน   
เช่น


  • หัวใจเต้นเร็ว (increase heart rate)
  • มือสั่น (Hand tremor)
  • เมื่อเคาะหัวเข่า  จะมีการตอบสนองอย่างแรง
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ (excessive sweating)
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง (muscle weakness)
  • ตาถลน  (protruding eyes)
ถ้าแพทย์เขาสงสัยว่า  ท่านเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน 
เขา หรือเธอจะทำการตรวจเลือด  เพื่อดูระดับของไทรอยด์ฮอร์โมนว่า
สูงกว่าปรกติหรือไม่ ?

นอกจากนั้น อาจมีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มอีก เช่น
§  ตรวจเลือดดูระดับของภูมิต้านทานบางอย่าง
§  ตรวจ “อัลตราซาวด์”  ดูลักษณะของต่อมไทรอยด์
§  ตรวจ Thyroid scans

ระยะเวลาการเกิดโรคตามคาด (Expected duration)
โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  ซึ่งเกิดจากการอักเสบบางชนิด  หรือ
เกิดจากเชื้อไวรัสต่าง ๆ  มันมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่เดือน

ส่วนที่เป็นโรคตอมไทรอยด์ทำงานเกิน  ที่มีต้นเหตุจากโรค  Grave’s disease หรือ
เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันนั้น  มักจะกินเวลาในการรักษาในระยะยาว
บางครั้ง  โรคอาจหายไปได้เองโดยตัวของมัน

ป้องกัน (Prevention)
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  ที่เกิดจากการรับทานไทรอยด์ฮอรโมนมากไป 
สามารถป้องกันได้  ในกรณีเช่นนี้  ท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด 
และ จะต้องมีการตรวจดูระดับไทรอยด์ในกระแสเลือดเป็นระยะ ๆ
ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ไม่สามาระป้องกันได้

การรักษา (Treatment)
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  จำเป็นต้องรักษาด้วย  beta-blockers
เช่น  propranolol (Inderal) หรือ nadolol…
Beta-blockers จะลดอัตราการเต้นของหัวใจลง  และลดอาการสั่นของมือ (termor)

คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน... 
ส่วนใหญ่จะถูกรักษาด้วยยาต้านไทรอยด์ฮอร์โมน( anti-thyroid drug therapy) 
ซึ่งยาตัวหนึ่ง  จะบล็อกการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนขึ้นยาที่เราใช้บ่อยที่สุด 
คือ  methimazole

นอกจากนั้น  ทางเลือกสำหรับใช้ในการรักษาอย่างถาวร 
คือ การใช้  Radioactive iodine  ซึ่ง มันสามารถทำลายต่อมไทรอยด์ได้อย่างถาวร 
เขาจะใช้รักษาโรคต่อมไทรอยด์  ที่เกิดจากโรค Grave’s disease 
นอกจากนั้น  มันยังถูกนำไปใช้ในรายที่เป็นเนื้องอกหลายก้อน 
ซึ่งผลิตสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนออกมามากเกินปกติ

อีกทางเลือกในการรักษา...
คือการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์บางส่วนออก  เป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้น้อยที่สุด

คนไขทีเป็นต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน 
ซึ่งได้รับการรักษาด้วย radioactive iodine  หรือรักษาด้วยการผ่าตัด 
ส่วนมากจะได้รับการชดเชยด้วย “ไทรอยด์ฮอร์โมน” ไปตลอด

การพยากรณ์โรค (Prognosis)
แน่นอน  เมื่อท่านมีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเมื่อใด 
ท่านต้องพบแพทย์เพื่อการรักษาทันที

ในรายที่เป็นโรคดังกล่าว...
เมื่อคนไข้ที่เป็นโรค Grave’s disease)  เมื่อได้รับการรักษาด้วย anti-thyroid drugs 
อาการของโรคจะหายไปได้เป็นเวลานานทีเดียว

Radioactive iodine  ยังถูกนำไปใช้ในการรักษาคนไข้โรค Grave’s disease ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ 

มีคนเป็นจำนวนไม่น้อย  เมื่อได้รับการรักษาด้วย Radioactive iodine ...
ปรากฏว่า  เกิดภาวะ “ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย”  ซึ่งถูกเรียกว่า  “Hypothyroidism”
ภาวะเช่นนี้  สามารถรักษาได้ด้วยการใช้  “ไทรอยด์ฮอร์โมน” เสริม  ให้แก่คนไข้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น