วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Diabetes and Metabolic Syndrome

7/7/12

นับเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว  ที่เราพบว่า... 
คนมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง  มักจะมีภาวะอย่างอื่นเกิดร่วมด้วย 
เช่น  ความดันโลหิตสูง, ความอ้วน,  และ มีระดับไขมันที่ผิดปกติในกระแสเลือด
การที่คนมีอาการเหล่านี้เกิดร่วมกันในคน ๆ เดียว  เคยถูกเรียกว่า.
Syndrome X,  insulin resistance syndrome, Deadedly Quartet
ซึ่งปัจจุบัน  เรารู้ในชื่อ  metabolic syndrome

Metabolic Syndrome  พบได้บ่อยแค่ใด ?

หน่วยงานหนึ่ง- National Cholesterol Education Program (NCEP)
ได้เสนอข้อบ่งชี้ที่บอกให้ทราบว่า  คนเป็นโรค metabolic syndrome  เอาไว้ว่า 
การที่คนใดคนหนึ่ง  จะเป็นโรค metabolic syndrome…
จำเป็นต้องมีปัจจัยอย่างน้อยสามอย่างในห้าอย่างต่อไปนี้:
  •  อ้วนที่บริเวณรอบเอว (  วัดรอบเอวได้มากกว่า 40 นิ้วในชาย  หรือ  35 นิ้วในหญิง
  •  ระดับ triglyceride 150 mg/dL หรือมากกว่า 
  •  ระดับ HDL cholesterol ต่ำกว่า 40 mg/dL ในชาย หรือ ต่ำกว่า,  50 mg/dL ในหญิง
  •  มีความดันโลหิต 135/85 mmHg หรือสูงกว่า  หรือ รับทานยารักษาโรคความดัน
  •  ระดับนำตาลในกระแสเลือดตอนอดอาหาร  110 mg/dL หรือสูงกว่า

ตามคำจำกัดความดังกล่าว...
ในคนหนุ่มสาว  ที่มีอายุระหว่าง 20 – 29 ปี  จะพบคนที่เป็นโรค metabolic syndrome  เพียง  7 %  แต่พออายุเพิ่มสูงถึง 60 หรือ แก่กว่า  จะพบว่าเป็น metabolic syndrome  ถึง  40 % 
ตามสถิติ  จะพบภาวะ metabolic syndrome ในคนที่เป็น Mexican American  32 %,  คนผิวขาว  24 %  และ เป็นคนผิวดำ 22 %

คำถาม...
อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิด Metabolic Syndrome ?
ตามเป็นจริง  คนไข้ทุกรายที่เป็น metabolic syndrome  จะเป็นพวกทีต่อต้าน "อินซูลิน" (insulin resistance)  ซึ่งเนื้อเยื่อในร่างกายของคนเรา 
ไม่ตอบสนองต่อ “อินซูลิน”

ในคนที่ไม่เป็นโรค... 
“อินซูลิน” สามารถทำให้เซลล์ของคนเรา  รับเอาน้ำตาล glucose จากกระแสเลือด  เพื่อใช้เป็นพลังงาน 
แต่ในคนที่เป็น metabolic syndrome  และ มีสภาพต่อต้าน “อินซูลิน” พบว่า....  เซลล์ทั้งหลายในร่างกายของคนเรา  ไม่สามารถตอบสนองต่อ “อินซูลิน” ได้เท่าที่ควร   เป็นเหตุให้ปริมาณของน้ำตาล glucose เคลื่อนเข้าสู่เซลล์ได้น้อย

ผลที่ตามมา...
ตับอ่อนจะทำงานมากขึ้น  เพื่อสร้าง หรือผลิตฮอร์โมน “อินซูลิน” เพิ่ม
เพื่อช่วยทำให้น้ำตาล  glucose เคลื่อนเข้าสู่เซลล์ได้มากขึ้น  
และขณะเดียวกันจะมีปริมาณของ “อินซูลิน” ในกระแสเลือดในระดับสูงขึ้นด้วย

สุดท้าย... 
ตับอ่อน (pancreas) ไม่สามารถที่จะทำงานชดเชยด้วยการผลิต“อินซูลิน” 
ซึ่งอยู่ภายใต้ภาวะต่อต้านอินซูลินได้ตลอด  เป็นเหตุให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น  และ  เป็นโรคเบาหวานในที่สุด

ก่อนที่โรคเบาหวานจะเกิดขึ้น...
อาจมีระดับของความดันโลหิตสูงขึ้น  และ  ตับทำการสร้าง  triglycerides เพิ่มขึ้น  สามารถนำไปสู่การเกิดความผิดปกติในระดับของไขมันต่าง ๆ ในกระแสเลือดได้ 
ซึ่งได้แก่ triglyceride มีระดับสูง,  HDL cholesterol ระดับต่ำ, อนุภาคของ LDL cholesterol  ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก และ แน่น เพิ่มขึ้น 
ทำให้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการสร้างก้อนเลือดในกระแสเลือดได้มากกว่า 
LDL cholesterol  ชนิดที่มีโมเลกุลจับตัวกันอย่างหลวม ๆ (less-sense LDL-C)

เราไม่ทราบว่า...อะไรคือสาเหตุของ  insulin  resistance
นักวิจัยทั้งหลาย  ต่างรู้ว่า มีปัจจัยหลายอย่าง  ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ 
เช่น  ความอ้วน (obesity), ไม่ออกกำลังกาย (physical inactivity),  อาหาร, 
สูบบุหรี่,  และ อายุที่แก่ (ชราภาพ)  
ซึ่งแต่ละอย่าง (factors) สามารถทำให้เกิดภาวะ insulin resistance ได้
และ  ทำให้เกิดภาวะ metabolic syndrome ได้เช่นกัน

ปัจจัยอย่างอื่น ๆ…..
สามารถทำให้เคนเราเกิดภาวะ  insulin  resistance ได้แก่:
ประวัติครอบครัวมีคนเป็นโรคเบาหวาน (เช่น  พ่อ-แม้, พี่สาว  น้องชาย...) 
หรือ เป็นโรค  polycystic ovary syndrome   เป็นภาวะที่ลักษณะเฉพาะ
เช่น ไม่มีประจำเดือน  หรือ ประจำเดือนมาไม่บ่อย,  เป็นหมัน,
และมีขนตามตัวมากเกิน)

ภาวะแทรกซ้อนของ Metabolic Syndrome
ในคนเป็น Metabolic Syndrome….
สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง 
และ เนื่องจากมันมีส่วน  เกี่ยวข้องกับ  Insulin Resistance  ดังนั้น  คนไข้ที่เป็น Metabolic Syndrome   จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นเบาหวาน ประเภทสองได้สูง 
และ  คนที่เป็นโรคเบาหวาน  มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสายตา,  โรคไต, โรคเส้นประสาท,  โรคหัวใจจากหลอดเลือดตีบ,  และ ภาวะสมองถึกทำลาย (stroke)

คนเป็น Metabolic Syndrome  มีความดันโหลิตสูง,  ระดับ triglycerides สูง, 
และ  HDL cholesterol ต่ำ...  ทั้งสามต่างเป็นปัจจัย  ทำให้เกิดความเสี่ยง
ต่อการเกิดเส้นเลือดแข็งได้

การมีระดับ insulin ในกระแสเลือดสูง 
ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน

ผลที่เกิดขึ้น  ทำให้คนเป็น Metabolic Syndrome 
สามารถทำให้เกิดโรคในระบบหัวใจ  และ เส้นเลือดได้ทุกชนิด 
รวมถึง  การทำให้คนเราเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร

การรักษา Metabolic Syndrome
ในคนที่เป็นโรค Metabolic syndrome…
การรักษา  จะมุ่งตรงไปยัง การไม่ตอบสนองของร่างกายต่ออินซูลิน
(insulin resisitance)  นั้นคือ  การเอาชนะภาวะดังกล่าวให้ได้  รวมไปถึงการแก้ไข้ความผิดปกติต่าง ๆ:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม... 
โดยการลดน้ำหนักตัวด้วยการออกกำลังกาย,ลดปริมาณอาหารลง (คาลอรี่) 
และ เพิ่มอาหารที่มีพวกสายใยให้มากขึ้น  ซึ่งไดแก่ อาหารประเภท  ผลไม้  พืชผัก และ เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ

การออกกำลังกาย... 
สามารถช่วยลดน้ำหนัก ,  ทำให้การตอบสนองต่อ “อินซูลิน” ดีขึ้น, 
เพิ่มระดับ HDL-C   และ  ลดระดับความดันโลหิตลง  
ในการออกกำลังกายด้วยการเร็วในแต่ละวัน ๆ ละครึ่งชั่วโมง  สามารถช่วยได้

การลดน้ำหนัก... 
จะช่วยทำให้ร่างกายตอบสนองตัว “อินซูลิน” ได้ดีขึ้น, ลดระดับ “อินซูลิน”
ในกระแสเลือดลง,  ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภทสอง..

อาหารที่มีสายใยสูง... 
เช่น  ผลไม้,  ผัก,  เมล็ดธัญพืชทั้งหลาย  สามารถช่วยลดภาวะ insulin resistqnce
ลงได้
การงดการสูบบุหรี่... 
สามารถลด insulin resistance  ลงได้  และ  สามารถเพิ่มระดับ HDL cholesterol ได้

ถ้าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 
ไม่สามารถแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่อระบบหัวใจ และ เส้นเลือดได้...
จำเป็นต้องใช้ยา (medications) ให้แก่คนไข้
เช่น  ยาลำความดันโลหิต  และ ยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด

ยาขับปัสสาวะ (thiazide diuretics)
เป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโหลหิตสูง 
สามารถป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ  และสมองถูกทำลาย (heart attack & stroke)
นอกจากนั้น   ACE inhibitors  นอกจากจะเป็นยาลดความดนสูงแล้ว 
ยังเป็นยาที่ดีสำหรับใช้ในคนที่เป็น metabolic syndrome 
ซึ่ง เป็นการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทสอง

ยา Statins...
ยา statin ซึ่งสามารถลด LDL cholesterol  และเพิ่มระดับ HDL cholesterol
ส่วนยา  Niacin, gemfibrozil (Lopid), และ fenofibrate (Tricor)…
สามารถเพิ่ม HDL cholesterol  ให้สูงขึ้น  และ ลดระดับ triglyceride ลง

Metformin (Glucophage)  และ thiozolidinediones (Actos)...
จะถูกนำมาใช้ในการรักษาคนไข้เป็นโรคเบาหวาน 
ซึ่งร่างกายต่อต้านอินซูลิน (insulin resistance)

ผลจากการศึกษาใน The New England Journal of Medicine  กล่าวว่า....
คนที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
เช่น  น้ำหนักตัวเพิ่ม, ระดับน้ำตาลในเลือดสูง  สามารถป้องกัน 
หรือชะลอการเกิดเป็นเบาหวานได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น