วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระดูกพรุนเกิดได้อย่างไร ?

7/27/12

แม้ว่า  พวกเราหลายคนจะคิดว่า... 
กระดูกสันหลังของเราเป็นแกนกลางที่สำคัญของร่างกาย  มีความแข็งแรง 
และไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาที่ผ่านไป...
แต่ตามเป็นจริง  กระดูกของคนเราเป็นสิ่งที่มีชีวิต
มีการเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา

Osteoporsis  ตามความหมาย   แปลว่ามีรู หรือมีช่องว่างให้น้ำ  และอากาศลอดผ่าน
หรือ จะเรียกว่า “พรุน” นั่นเอง  ostoeprosis  แปลเป็นไทยก็ได้ตรงตัวว่า 
กระดูกพรุนนั่นเอง

คนที่เป็นโรคกระดูกพรุน  จะพบว่าตัวกระดูกมีเนื้อกระดูกน้อยลง  มีคุณภาพไม่ดี
และ  เกิดการแตกหักได้ง่าย  เมื่อร่วมกับมีความเสี่ยง ต่อการหกล้มในคนสูงอายุ
ย่อมนำไปสู่ภาวะปวดกระดูกแตกหัก  และปัญหาสุขภาพอย่างอื่นหลาย ๆ  อย่าง

จากสถิติของชาวสหรัฐฯ  ประมาณว่า  มีคนเป็นโรคกระดูกพรุนถึง 10 ล้าน  และ
ในจำนวนนี้  จะเป็นหญิง 8 ล้านคน  และ เป็นชายอีก 2 ล้าน
เป็นโรรที่พบในหญิงได้มากกว่าชาย
นอกจากนั้น  เขายังรายงานต่อว่า  มีชาวอเมริกันอีกถึง 34 ล้านคน  ที่เป็นพวก
ที่มีมวลกระดูกน้อยลง (osteopenia)
ยิ่งคนมีอายุยืนมากขึ้น  เราจะพบคนสงอายุเหล่านั้น  มีแนวโน้มที่จะมีกระดูกพรุน
เพิ่มมากขึ้น  และ คาดว่า  คนสูงอายุเหล่านั้น  มีโอกาสเพิ่มปัญหาแก่สุขภาพมากขึ้น
ลักษณะเฉพาะของกระดูกพรุน  คือ  กระดูกอ่อนแอ  เกิดการแตกหักได้ง่าย

กระดูกพรุนเกิดได้อย่างไร ?....
โรคกระดูกพรุน  เป็นผลมาจากความผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนแปลงตาม
ธรรมชาติของกระดูก...
ปกติ  ภายใต้กระบวนการตามธรรมชาติของกระดูก  กระดูกที่แก่จะแตกสลายไป  และ
ถูกขจัดออกไปด้วยเซลล์ที่มีชื่อว่า  osteoclasts  และจะถูกแทนที่ได้โดยกระดูกใหม่ 
ซึ่งถูกสร้างด้วยเซลล์ที่มีชื่อว่า  osteoblasts

ร่างกายของมนุษย์เรา... 
จะทำหน้าที่รักษาความสมดุลย์ของเนื้อกระดูกเอาไว้
ด้วยการขจัดเอาของเก่าออกทิ้ง  และ สร้างกระดูกใหม่ทดแทนของใหม่...
และเมื่อใดเกิดความไม่สมดุลขึ้น  เช่น  กระดูกถูกทำลายได้มากกว่ากระดูก
ถูกสร้าง    เมื่อนั้นภาวะกระพรุนก็จะเกิดขึ้น...
ตำแหน่งของกระดูกที่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะเช่นนั้น  คือ กระดูกสันหลัง

เมื่อเกิดกระดูกพรุนขึ้น... 
กระดูกจะบางลงทั้งผิวหด้านนอก (cortex)  และ  ส่วนของกะรดูกที่อยู่ภายใน
ซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงร่างของกระดูก (tracbulae)  แตกหัก (ยุบ) ได้ง่าย
ถ้าเป็นกระดูกสันหลัง  จะพบกระดูกยุบตัวลง (compression fracture)
ถ้าเป็นกระดูกบริเวณสะโพก  จะทำให้กระดูกอ่อนแอพร้อมที่จะเกิดการ
แตกหักได้ง่าย

โรคกระดุกพรุน  เป็นโรคที่พบเห็นในคนที่สูงวัย  และในคนทีมีระดับฮอร์
โมนเพศลดลง  โดยปกติแล้ว  ฮอร์โมน estrogen จะถูกพบได้ทั้งในเพศหญิง
และเพศชาย  รวมไปถึงฮอร์โมน terstosterone ในเพศชาย
ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาให้มวลกระดูกอยู่ในสภาพที่สมดุล

กระดูกจะแข็งแรงสูงสุดเมื่ออายุอยู่ในช่วง 30...
การสร้าง estrogen หลังหมดประจำเดือนจะลดลงอย่างรวดเร็ว  เป็นเหตุให้
สตรีเพศเผชิญกับความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน
โดยที่ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน  ภายในสอบปี  จะสูญเสียมวลกระดุกไป
ประมาณ 20 – 30 %


http://www.johnshopkinshealthalerts.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น