วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Diabetic control: During Illness (cold & flu)

7/23/12


เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน...
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงสู่เป้าหมาย  ถือเป็นวิธีการที่เราจะต้องทำให้ได้
แต่เมื่อใดก็ตาม  ที่เราเกิดไม่สบายกายขึ้นมา  การควบคุมระดับน้ำตาลจะลำบากมากขึ้น
การรู้ขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลภายใต้ภาวะดังกล่าว  สามารถทำให้ท่าน
รู้สึกดีขึ้น  และ สามารถทำให้ท่านควบคุมระดับน้ำตาล 
ให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้

เราทุกคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
เมื่อเกิดไม่สบายตัวขึ้นมา  เช่น เป็นหวัด  หรือ เป็นไข้หวัดใหญ่
ท่านต้องทราบว่า  ภาวะดังกล่าว  สามารถกระทบต่อพฤติกรรมหลายอย่าง 
เช่น การรับทานอาหาร,  การนอน,  การออกกำลังกาย,  และ พฤติกรรมต่าง ๆ
ซึ่ง มีส่วนสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านทั้งนั้น...
โดยอาจกระทบต่อตับ (liver) ของท่านในการสร้าง  และปล่อยน้ำตาลสู่กระแสเลือดได้
ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ  ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่ได้รับประทานอาหารเลย
ในขณะเดียวกัน  ภายใต้ภาวะของความไม่สบาย (แค่เป็นหวัด) ...
สามารถทำให้เซลล์ลดความไวต่อ “อินซูลิน” ลงได้อย่างมาก
เป็นเหตุให้เซลล์ในร่างกายของคนเป็นหวัด  ไม่ตอบสนองต่อ "อินซุลิน"
โดยที่ "อินซูลิน" ไม่สามารถนำเอานำตาลในแก่เซลลเพื่อใช้เป็นพลังานได้ตามปกติ 

ในคนทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน...
คนปกติสามารถสร้าง “อินซูลิน” ได้มากกว่าปกติ  สามารถช่วยทำให้ “น้ำตาล” เข้าสู่
เซลล์ได้  แต่คนที่เป็นโรคเบาหวาน  ไม่สามารถสร้าง “อินซูลิน” ได้มากกว่าปกติ
หรือ  ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสมได้  หรือ มีประสิทธิภาพได้

ผลของการมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง...
ถ้าคน ๆ นั้นเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง  จะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (ketoacidosis)
และ  ถ้าเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง  จะเกิดภาวะ hyperosmolar nonketotic state

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวในขณะที่ท่านไม่สบาย...
ระดับน้ำตาลสวิงขึ้นลง (fluctuations) ในกระแสเลือด  อาจก่อใหดอันตรายขึ้นได้
สิ่งที่ท่านจะต้องระมัดระวัง  และควรกระทำในขณะที่ท่านไม่สบาย  มีดังนี้:

§  เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน  ทุกครั้งที่ท่านไม่สบาย  ท่านต้องบอกแพทย์ผู้ทำการรักษาท่าน 
โดยเฉพาะเมื่อท่านไม่สามารถรับทานอาหารได้,  เกิดท้องล่วง,  อาเจียนมามากกว่าหกชั่วโมง 
หรือมีไข้มานานกว่าสองสามวัน   โดยที่อาการของท่านไม่ดีขึ้นเลย

§  ปฏิบัติตามแผนการรักษาโรคของท่าน  เช่น  รับทานยาปฏิชีวนะตามสั่ง  หากท่านพบแพทย์
ที่ไม่ทราบว่า  ท่านเป็นเบาหวาน...อย่าลืมบอกให้แพทย์ได้ทราบด้วย

§  ให้ทำการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดให้บ่อยกว่าปกติ 
ถ้าท่านเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่ง   ให้ทำการตรวจหา ketone ในเลือด และ ปั้สสาวะทุกสี่
ชั่วโมง  ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง  การตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดทุกสี่ชั่วโมง 
น่าจะเพียงพอ  และถ้าระดับน้ำตาลสูงกว่า 250 mg/dL  ให้ตรวจหาสาร ketones ในปัสสาวะ...

ถ้าหากระดับน้ำตาลสูงกว่า 250 mg/dL โดยตลอดเวลา  และมี ketone ในปัสสาวะท่านจะต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างรีบด่วน

§  ให้ท่านรับทานยารักษาเบาหวานตามปกติ  นอกเสียจาก  แพทย์แนะนำเป็นอย่างอื่น  
การที่ท่านไม่สบาย  แม้ว่า  ท่านจะไม่ได้รับทานอาหารใด ๆ 
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของท่านยังมีระดับสูงขึ้นได้

§  ถ้าท่านใช้ insulin  ท่านต้องมียา rapid หรือ very rapid-acting insulin ในมือให้พร้อมที่จะใช้
ได้ตลอดเวลา (อย่าให้ขาด)   แม้ว่า  ท่านจะไม่ได้ใช้ regular insulin อย่างสม่ำเสมอก็ตาม...

§  แพทย์อาจแนะนำให้ท่านใช้ (rapid or very rapid-acting insulin)  ในวันที่ท่านไม่สบาย  หรือ
เพื่อลดระดับน้ำตาลลงทันที่ก็ได้

§  ให้สังเกตดูอาการต่าง ๆ  ของอาการขาดน้ำ (dehydration), ภาวะเลือดเป็นกรด (ketoacidosis) หรือ ภาวะ hyperosmolar nonketotic state

อาการของภาวะขาดน้ำ  ได้แก่ปากแห้ง,  ริมฝีปากแตก (cracked lips),  ผิวหนังแห้ง และ แดง
ท่านสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ (dehydration) โดยการดื่มน้ำให้เยอะเข้าไว้ 
ซึ่ง ท่านสามารถกระทำได้ด้วยการดื่มน้ำเปล่าๆ  หนึ่งแก้วทุกชั่วโมงในระหว่างตื่น
ถ้าท่านสามารถรับทานอาหารได้ตามปกติ  ความไม่สบายของท่าน ไม่สามารถทำให้การเปลี่ยน
แปลงเรื่องอาหารการกินได้  ให้ท่านดื่มน้ำ  ชา  หรือ ทั้งสองตามปกติ  หรือ
เครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ทีไม่มีน้ำตาล

ถ้าท่านไม่สามารถรับทานอาหารได้เลย  ให้สลับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล  และชนิดที่ไม่มีน้ำตาล

§  ให้รับทานปริมาณ”คาร์โบไฮเดรต” ตามปกติในระหว่างที่ท่านไม่สบาย
ให้พยายามรับทานในปริมาณน้อย  แต่บ่อยครั้งในตอนกลางวัน   ให้รับทานอาหารที่ย่อยง่าย 
เช่น ขนมปังกรอบ เป็นต้น

§  พักผ่อนให้มากที่สุดที่จะมากได้  หากเป็นไปได้  ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยดูแลท่าน 
จนกว่าท่านจะหาย....


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น