วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Diabetes and Exercise : ควบคุมระดับน้ำตาลได้จริงหรือ ?

7/7/12

ในคนเป็นโรคเบาหวาน...
การออกกำลังกาย  สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้จริงหรือ ?

การออกกำลังกาย จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนที่เป็นโรคเบาหวาน 
ทั้งนี้เพราะ  มันสามารถช่วยลดระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดลง
จากการออกกำลังกาย  สามารถทำให้คนเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง 
อาจต้องการฮอร์โมนอินซูลินในปริมาณที่น้อยลง 
ส่วนคนเป็นเบาหวานประเภทสองอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาเลยก็ได้

นอกจากนั้น  การออกกำลังกาย  ยังให้ประโยชน์อย่างอื่นอีก
เช่น  ช่วยทำให้ระบบหัวใจ และเส้นเลือดดีขึ้น (fitness)  และ
ทำให้ความรู้สึกสบายกาย และสบายใจขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม  สำหรับคนเป็นเบาหวาน...
ซึ่งรับทานยาเม็ดลดน้ำตาล  หรือยาฉีด “อินซูลิน” เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
จำเป็นต้องวางแผนการออกกำลังกาย  และตรวจสอบระดับน้ำตาล
ด้วยความระมัดระวัง

ในคนเป็นโรคเบาหวาน  ขณะออกกำลังกาย 
อาจจำเป็นต้องมีการปรับขนาดของยา  และ การรับทานอาหาร 
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดต่ำเกินไป (hypoglycemia)   หรือ  มีระดับสูงเกินไป (hyperglycemia)
ซึ่งหมายความว่า  การออกกำลังกายในคนเป็นเบาหวาน  สามารถทำให้ระดับ
น้ำตาลลดลงต่ำ  หรือเพิ่มสูงขึ้นได้

เพื่อความปลอดภัย  ท่านที่เป็นเบาหวาน... 
ก่อนออกกำลังกายตามแผนที่วางไว้   ควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อน  หรือ อาจมี
การปรับเปลี่ยนการรับทานยา หรือ ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร 

การออกกำลังกายจนเป็นนิสัยนั้น... 
ในตอนแรก ๆ อาจยาก  แต่ประโยชน์ที่ได้ 
มันคุ้มค่า...สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน

การออกกำลังกายควบคุมระดับน้ำตาลอย่างไร ?
ในคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน...
การออกกำลังกาย  สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้
ทั้งนี้เพราะในขณะออกแรง  กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานที่ได้จากน้ำตาล (glucose) 
ที่สะสมภายในเซลล์ของกล้ามเนื้อในรูปของ glycogen

เมื่อพลังจาก glycogen ในกล้ามเนื้อลดน้อยลง   ร่างกายก็จะใช้พลังจากน้ำตาล
ในกระแสเลือดต่อไป  เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลลดลงในระดับหนึ่ง

เมื่อการออกกำลังกายเสร็จสิ้นลง...
ร่างกายจะจัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือด  ให้เขาไปแทนที่น้ำตาล (glycogen)
ที่เคยอยู่ในกล้ามเนื้อ และตับ  เข้าลักษณะ "เอาของเขามา  ก็ต้องชดใช้"
เป็นเหตุให้น้ำตาลในเลือดลดลงไปอีก

หลังการออกกำลังกาย... 
น้ำตาลในกรแสเลือด  จะลดลงไปอีกเป็นเวลาหลายชั่วโมง

นอกจากนั้น  การออกกำลังกายยังมีผลตรงข้าม...
แทนที่จะลดลง  ปรากฏว่า  การออกกำลังกายทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
เพิ่มสูงขึ้นได้  ซึ่งในกรณีดังกล่าว  จะเกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูง 
(เช่น สูงมากกว่า 200 mg/dL) ก่อนมีการออกกำลังกาย
ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า  ฤทธิ์ของอินซูลินต่ำมากนั่นเอง

นอกจากนั้น  การออกกำลังกายด้วยความรุนแรงมากเกินไป (strenuous activity) 
สามารถกระตุ้นให้ “ตับ” ปลดปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสโลหิตได้เป็นจำนวนมาก
ซึ่งเป็นผลมากจากการมี adrenaline  ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นนั่นเอง


เวลาที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย:
ในคนเป็นโรคเบาหวาน...
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลตก (hypoglycemia) 
การออกกำลังกายควรมีสัมพันธ์กับเวลารับทานอาหาร  และ เวลาของการรับทานยา

หลักสำคัญมีมีว่า...
การออกกำลังกาย  ควรกระทำภายหลังการรับทานอะไรบางอย่าง
ประมาณหนึ่งถึงสามชั่วโมง

คนที่ได้รับยาฉีด “อินซูลิน” ไม่ควรออกกำลังกายตอนที่อินซูลิน  ออกฤทธิ์ได้
สูงสุด (peak)   และ เนื่องจากการออกกำลังกาย  สามารถลดระดับน้ำตาลลง
ได้เมื่อเวลาผ่านไปได้หลายชั่วโมง  ดังนั้น  จึงควรหลีกเลี่ยงการออก
กำลังกายก่อนนอน   เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำเกิน
(hypoglycemia) ในตอนเที่ยงคืน

 

ก่อนการออกกำลังกาย:
เมื่อท่านเป็นโรคเบาหวาน...
ท่านควรตรวจดูระดับน้ำตาลสองครั้ง: 30 นาทก่อนออกกำลังกาย 
และตรวจอีกครั้งก่อนเริ่มออกกำลังกาย  การตรวจเช่นนั้น  สามารถทำให้
เราได้ทราบว่า  น้ำตาลในเลือดของเราเป็นอย่างไร- คงที่ (stable), เพิ่ม
ขึ้น,  หรือลดต่ำลง

ระดับน้ำตาลก่อนออกกำลังกาย  ที่ปลอดภัยควรอยู่ระหว่าง 100 – 250
mg/dL  ถ้าระดับน้ำตาลมค่าต่ำกว่า 100 mg/dL  ท่านควรรับทานของว่าง
เช่น  ผลไม้  หรือ ขนม (crakers) ก่อน  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาล
ลดต่ำไป (hypoglycemia)

ในกรณ๊ที่ท่านเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
ท่านควรจำกัดอาหารว่าง (snacking)  โดยเฉพาะในกรณีที่ท่านต้องการลดน้ำหนัก 
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น  แพทย์จะแนะนำให้ลดขนาดของยาลงในวันที่ท่านจะออกกำลังกาย

ถ้าระดับน้ำตาลของท่านสูงมากว่า 250 mg/dL….

ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง (type I)  ให้ตรวจปัสสาวะหา ketone  ก่อน
ถ้าผลออกมาว่า  ในปัสสาวะมี ketone สูงพอประมาณ หรือสูงมาก
ให้ชะลอการออกกำลังกาบเอาไว้

ถ้าระดับน้ำตาลของท่านสูงถึง  300 mg/dL  หรือสูงกว่า...
ไม่ว่าท่านจะเป็นเบาหวานประเภทใด  ห้ามออกกำลังกาย

ในขณะออกกำลังกาย:
เมื่อท่านออกกำลังกายมากกว่าหนึ่งชั่วโมง  ให้ตรวจดูระดับน้ำตาลทุก 30 นาที
ถ้าพบว่า  ระดับน้ำตาลเริ่มลดต่ำ  ให้รับประทานอาหารว่าง

การตรวจดูระดับน้ำตาลในขณะการออกกำกำลังกาย  จะมีความสำคัญมาก
โดยเฉพาะ  เมื่ท่านต้องการออกกำลังกายในรูปแบบใหม่ 
หรือ ต้องการเพิ่มความเข็มข้นขึ้น  หรือเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกายขึ้น
ในระหว่างการออกกำลังกาย ถ้าท่านเกิดมีอาการของน้ำตาลลดต่ำ
เช่น  จะเป็นลม  ใจสั่น  อ่อนแรง...
ให้หยุดการออกกำลังกายทันที พร้อมกับการตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล
และ รับทานอาหารว่าง  เช่น น้ำผลไม  หรือ ขนมแคนดี้..

หลังการออกกำลังกาย

หลังการออกกำลังกาย...
เรจะพบว่า  เมื่อการออกกำลังเสร็จสิ้นลงไปแล้ว 
ระดับน้ำตาลก็ยังคงลดลงเรื่อยๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง 
ดังนั้น  เขาจึงแนะนำให้ทำการตรวจน้ำตาลในเลือด...โดยให้ตรวจทันทีหลัง
การออกกำลังกาย  จากนั้นให้ตรวจซ้ำอีกครั้งประมาณ 2-3 ชั่วโมงให้หลัง
โดยเฉพาะในรายที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก   จะทำให้เกิดผลของการ
ลดของระดับน้ำในเลือดลง  หลังการออกกำลังงกายนานหลายชั่วโมง
ในกรณีที่มีการออกกำลังกายอย่างหนัก   จะต้องระมัดระวังเรื่องดังกล่าวให้ดี

ข้อควรระวัง:

สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน...
เมื่อมีการออกกำลังกาย มีข้อพึงระดัดระวังเป็นพิเศษดังนี้
o   ถ้าท่านรับทานยารักษาเบาหวาน...ถ้าท่านออกกำลังกาย 
ท่านควรพกสารที่สามารถให้น้ำตาลได้เร็วที่สุด  เช่น ทอฟฟี่,
หรือก้อนน้ำตาล glucose  ซึ่งท่านสามารถใช้ได้ทันทีที่มีอาการของภาวะ
ขาดน้ำตาล-hypoglycemic reaction
o   ให้พกบัตรประจำตัว  ติดตัวไว้ตลอดเวลา  ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า 
ท่านเป็นใคร,   อยู่ที่ไหน,  เบอรโทรฯ.,  ชื่อแพทย์ผู้รักษา, ประเภท และ
ชนิดของยา ที่ท่านใช้ในการรักษาโรคท่าน
o   เมื่อรู้สึกไม่สบายขึ้นมา  ให้เลิกออกกำลังกายทันที 
การออกกำลังกายมากไป  อาจทำให้โรคเบาหวานของท่านเลวลงได้
o   ถ้าเป็นไปได้  จงออกกำลังกายร่วมกับเพื่อน ๆ  หากท่านออกไปคนเดียว
 อย่าลืมบอกใครสักคนว่า  ท่านอยู่ที่ไหน  และ จะกลับเมื่อใด


http://www.johnshopkinshealthalerts.com/reports/diabetes/131-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น