7/28/12
เพื่อเป็นการเรียนรู้สำหรับท่านที่เป็นโรคปวดหลัง (เอว)
เพื่อเป็นการเรียนรู้สำหรับท่านที่เป็นโรคปวดหลัง (เอว)
ในเรื่อง การป้องกันวินิจฉัย และการรักษาควรรับรู้เอาไว้
แม้ว่าการดึง (traction) เคยถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดเอวตั้งแต่
สมัยโบราณกาลก็จริง แต่ปรากฏว่า มีหลักฐานไม่มากนักที่สนับสนุนวิธีการรักษาดังกล่าว
คนปวดหลัง (เอว) ส่วนใหญ่ อาการจะหายไปได้เองอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องคำนึงว่า
ท่านจะได้รับการรักษาด้วยวิธีการใด ซึ่งมีน้อยกว่า 5 % ของคนที่มีอาการปวดหลัง
ที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย (medical problem) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาวไจใส่
อย่างต่อเนื่อง (intensive care) หรือ ได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
แต่ท่านมีอาการปวดเอวอย่างรุนแรง...
ภายหลังนอนพัก (bed rest) ได้สองสามวันแล้ว อาการไม่ดีขึ้น หรือ
มีอาการปวดหลังกลับฟื้นคืนมาอีก, หรือมีอาการชา (numbness),
หรือมีอาการเสียว ปวดร้าวไปยังสะโพก หรือ ปวดร้าวไปที่เมื่อใดท่านต้องพบแพทย์ทันที
หรือมีอาการเสียว ปวดร้าวไปยังสะโพก หรือ ปวดร้าวไปที่เมื่อใดท่านต้องพบแพทย์ทันที
ถ้าท่านมีอาการปวดหลัง ทานควรรักษาด้วยการถึง (traction) หรือไม่ ?
หลักฐานเกี่ยวกับการใช้ (traction) หรือ ใช้เครื่องประคับ (corset) เพื่อการรักษา
อาการปวดหลังนั้น ปรากฏว่ามีน้อยมาก แต่อาจนำมาใช้ในระยะสั้นภายหลังการ
ผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ แต่ เครื่องประคับหลัง (back brace) จะมีประโยชน์ต่อ
การรักษาอาการปวดหลังหรือไม่ยังเป็นปัญหา
จาก Journal Spine (Volume 31, page 1591)…
ในสมัยกรีกโบราณ ได้มีการใช้ traction เพื่อทำการรักษาอาการวปวดเอว (low
back pain) ซึ่งในขณะนี้ยังคงมีใช้กัน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า…
การดึง (traction) สามารถลดความเจ็บปวดได้เลย ซึ่งได้รับการยืนยันจากการศึก
ษาในคนจำนวน 2,177 คน ที่มีอาการปวดเอว ไม่มีผลลดการเจ็บปวดจากการดึง
โดยสรุป การดึง traction เพียงอย่างเดียว ไม่ทำให้อาการปวดดีขึ้น ไม่ลดความพิการ
หรือ ช่วยทำให้คนไข้สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ
นอกจากนั้น ยังมีการวิจัยอย่างน้อยหกชิ้น ที่ยืนว่า...
การรักษาด้วยการดึง (traction) นอกจาจะทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้นแล้ว
ยังทำให้อาการทางระบบประสาทเลวลงไปอีกด้วย
http://www.johnshopkinshealthalerts.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น