วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

How the Pancreas Regulates Blood Glucose

July07,2012

ตับอ่อน (pancreas)…
ตับอ่อนเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์เรา 
ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้

ตับอ่อนของคนเรา  สามารถสร้างสารชนิดหนึ่ง เรียก “อินซูลิน” 
และสารฮอร์โมน  ที่ทำหน้าที่ตรงข้ามอินซูลิน  มีชื่อเรียกว่า glucagon
สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน  ปรากฏว่า...
การทำงานดังกล่าวเกิดบกพร่องไป  ไม่สามารถผลิตสารดังกล่าวได้พอ  หรือ
ร่างกายไม่ตอบสนองต่อสารที่ผลิตขึ้น...

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่มีลักษณะรูปร่างยาว 
วางขวางในช่องท้อง  อยู่ใต้ต่อกระเพาะอาหารของคนเรา 
นอกจากจะทำหน้าทีผลิตเอ็นไซม์  เพื่อใช้ในการย่อยอาหารแล้ว 
ยังทำหน้าที่ผลิตฮิร์โมนหลายตัว  เพื่อใช้ในการควบคุมระดับของน้ำตาลในกระแสเลือด

เมื่อเอาตับอ่อนออกมาผ่า แล้ว แบะออกดู...
จะพบเห็นกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ  รวมตัวเป็นย่อม ๆ กระจายตัวไปทั่วตับอ่อน
นับจำนวนมากกว่าล้าน  ซึ่งเรียกกลุ่มเซลล์ดังกล่าวว่า  islets of Langerhans

แต่ละกลุ่มเซลล์ (isletsof Langernhans)...
จะมีเซลล์ต่างชนิดกัน  ส่วนใหญ่จะเป็นพวก beta cells 
ซึ่งทำหน้าที่ผลิต และ  สะสมฮอร์โมน “อินซูลิน” เอาไว้  รอให้ร่างกายนำเอาไปใช้
เมื่อถึงเวลาต้องการใช้พลังงาน

นอกจาก beta cells  แล้ว...
ยังปรากฏว่า  ภายใน islets of Langehans  ยังมีเซลล์อีกชนิดหนึ่ง เป็น alpha cells  
ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอีกชนิดหนึ่ง ชื่อ glucagon
ซึ่งทำหน้าให้เกิดผลตรงข้ามกับผลที่เกิดจาก insulin

หลังจากที่คนเรารับทานอาหาร...
อาหารประเภท carbohydrate  สูกระเพาะอาหาร  มันจะถูกแตกย่อยให้เป็นโมเลกุล
ที่มีขนาดเล็ก  จากนั้นมันจะถูกทำให้เคลื่อนผ่านเข้าสู่ลำไส้

การย่อยอาหารของคนเรา...
จะเริ่มต้นที่ปาก  มีเอ็นไซม์ที่ได้จากน้ำลาย  ชื่อ amylase 
จะทำหน้าที่ย่อย carbohydrate  ทำให้แตกตัวลงเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจะเคลื่อนผ่านท่ออาหาร (oesophagus),  กระเพาะอาหาร (stomach),
และ ลงสู่ลำไส้เล็ก

ในลำไส้จะมีเอ็นไซม์ amylase  (คนละชนิดจากน้ำลาย) จากตับอ่อน... 
เอ็นไซม์จากลำไส้  จะทำให้อาหารประเภท carbohydrate แตกย่อยเป็นน้ำตาล   
ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก  สามารถซึมผ่านผนังของลำไส้เข้าสู
กระแสเลือดของเราได้

น้ำตาล (glucose)... 
ที่ถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้  จะเป็น simple sugars  จะเดินทางผ่านเส้นเส้น
เลือดดำ portal vein  เข้าสู่อวัยวะอีกชนิดหนึ่ง คือ ตับ (liver)  และ 
ที่บริเวณตับนี้เอง  น้ำตาล (simple sugars)  จะถูกเปลี่ยนให้เป็น glucose 
ซึ่งมันจะถูกปล่อยสู่กระแสเลือดในปริมาณที่ร่างกายต้องการ 
เพื่อใช้เป็นพลังงานต่อไป

สำหรับ glucose ที่ไม่ได้ใช้... 
จะถูกสะสมเอาไว้ในในตับ (liver) และในกล้ามเนื้อในรูปของ  glycogen 
เพื่อเก็บเอาไว้ใช้เป็นพลังงานในยามที่ร่างกายต้องการ
ส่วนที่เหลือไม่ถูกใช้  จะถูกสะสมในเนื้อเยื่อของไขมัน (adipose tissue) 
ในรูปของ triglycerides  ซึ่งเราจะพบเห็นในเพื่อน ๆ ของเรา ทีมีพุงโต... 

ภายหลังการรับทานอาหาร...
อาหารที่มี carbohydrates จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล glucose และถูกดูดซึม
เข้าสู่กระแสเลือด  จากนั้น  มันจะกระตุ้นตับอ่อน  (pancreas)  
ตามด้วยการตอบสนองของเซลล์ใน islets of Langerhnans  ให้ทำการผลิต
และ ปล่อยฮอร์โมน “อินซูลิน” ออกสู่กระแสเลือด

Insulin... 
จะทำหน้าที่เคลื่อนย้าย glucose จากกระแสเลือดให้เข้าสูเซลล์ 
ซึ่ง เป็นบริเวณที่น้ำตาลถูกเผาผลาญ  และกลายเป็นพลังงานต่อไป

ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง....
เราจะพบว่า  ตับอ่อนทำการผลิตฮอร์โมน “อินซูลิน” ได้น้อย  หรือไม่ได้เลย
เป็นเหตุทำให้น้ำตาลในกระแสเลือด  ยังคงอยู่ภายในกระแสเลือด 
ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้

ถ้าท่านเป็นเบาหวานประเภทสอง...
ตับอ่อนของท่านยังสามารถผลิต และ ปล่อยฮอร์โทน “อินซูลิน” ได้
แต่  เซลล์ในร่างกายของเรา  ไม่มีความไวเพียงพอที่จะตอบสนองต่ออินซูลินได้
ทำให้น้ำตาล glucose  เหลือค้างในกระแสเลือด 
ทำให้มันเคลื่อนเข้าสู่เซลล์ได้น้อย

จากการมีน้ำตาลเหลือค้างในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก... 
มันจะกระตุ้นตับอ่อนให้มีการสร้าง และ ปลดปล่อยอินซูลินสู่กระแสเลือด
ในปริมาณเพิ่มมากขึ้น  แต่สุดท้าย  ตับอ่อนจะไม่สามารถผลิต “อินซูลิน”
ได้เพียงพอที่จะเอาชนะภาวะของเซลล์  ที่ลดการตอบสนองต่อฮอร์โมนอนซูลินได้

คนปกติ  ไม่เป็นโรคเบาหวาน...
เซลล์ของตับอ่อน – beta cells  สามารถรับรู้การเพิ่มระดับของน้ำตาล
ในกระแสเลือดได้  พร้อมกับมีการหลั่งฮอร์โมน “อินซูลิน”  สู่กระแสเลือด
เมื่อ “อินซูลิน” อยู่ในกระแสเลือด  มันจะทำให้น้ำตาล glucose เคลื่อนเข้าสู่เซลล์ 
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่น้ำตาลถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงาน 
หรือถูกเปลี่ยนให้เป็น glycogen โดยตับ  และกล้ามเนื้อ  เป็นการเตรียมพร้อม
เพื่อให้ร่างกายนำเอาไปใช้เมื่อถึงคราวที่ต้องการต่อไป

ผลจากการทำงานดังกล่าว  จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 
และทำให้การหลั่ง “อินซูลิน”  จากตับอ่อนก็ลดลงตาม
ถือว่า หมดหน้าที่ของอินซูลินไป  ตามที่ธรรมชาติได้กำหนดให้ทำ

ในทิศทางตรงกันข้าม....
นกรณีที่คนเราไม่รับประทานอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมง   จะพบว่า
ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะลดลงจากระดับปกติ
ภายใต้สภาวะดังกล่าว  จะเกิดการกระตุ้น “alpha cell”  ในตับอ่อน 
ทำให้มันหลั่งฮอร์โมนชื่อ  Glucagon  ออกสู่กระแสโลหิต

ฮอร์โมน glucagon  จะส่งสัญญาณให้แก่ “ตับ” ทันที  เพื่อให้ตับทำหน้าที่
เปลี่ยน glycogen ให้กลับมาเป็น glucose  
แล้ว  ปล่อยออกสู่กระแสโลหิตต่อไป

โดยทั่วไป  ในคนปกติ เซลล์ beta และ alpha ในตับอ่อนจะทำงานอยู่ตลอดเวลา  
ด้วยการตรวจเช็ดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับปกติ (สมดุล) หรือไม่ 
ซึ่งเซลล์แต่ละชนิดจะทำหน้าที่ของตัวเอง  ตามความต้องการของร่างกาย
เป็นการทำงาน   เพื่อทำให้เกิดความสมดุลของระดับน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือด
ถ้ามันพบว่า  เกิดความผิดปกติขึ้น  มันก็จะจัดการทันที

สำหรับบางคนที่เป็นโรคเบาหวาน...
ความสมดุลของเซลล์ทั้งสองจะเสียไป  beta cells สร้างสาร อินซูลินได้น้อย
หรือ ไม่สามารถสร้าง” อินซูลิน”ได้เลย,  หรือ เซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนอง
ต่อการทำงานของ “อินซูลิน”  หรือ ทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กัน

การที่น้ำตาล glucose  ไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ย่อมทำให้เกิดมีภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ (hyperglycemia)
ถ้าปล่อยทิ้งไว้  ไม่ทำการรักษา  ย่อมนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน
ที่น่ากลัวได้  เช่น  โรคหัวใจ,  โรคตา, และ โรคไต...
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น