วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อาการวิงเวียนแบบบ้านหมุน(2) : Vertigo (BPPV)

ประสบการณ์จากการดูแลคนสูงอายุ จำนวนหนึ่ง พบว่าหนึ่งในจำนวนนั้น จะมีอาการวิงเวียนแบบบ้าน หมุนด้วย ซึ่งสามารถพบได้ทุกวัน

อาการวิงเวียนแบบบ้านหมุน เชื่อว่า เกิดจากชิ้นส่วน ของ แคลเซี่ยมคาร์บอร์เนต บางทีเรียก otoconia ซึ่งปกติมันอยู่ที่หูชั้นใน ส่วนที่เราเรียกว่า utricle หลุดออกจากที่ๆ มันเคยอยู่ และ เคลื่อนไปอยู่ในหูชั้นใน ส่วนที่เรียกว่า semicircular canal ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว

เมื่อศีรษะถูกกระแทก, เกิดการอักเสบของหูชั้นใน หรือเกิดจากความเสื่อม เนื่องจากอายุมาก (แก่) ขึ้น ทำให้เศษ otoconia หลุดเข้าไปในส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว (simi-circular canals)
เป็นเหตุทำให้เกิดอาการวิงเวียนแบบบ้านหมุนขึ้น

อาการวิงเวียนแบบนี้ เราเรียกว่า Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV)
จากรายงาน พบว่า BPPV เป็นสาเหตุที่ทำให้คนไข้เกิดอาการวิงเวียน
ประมาณว่า ในคนไข้ทุกรายที่มีอาการวิงเวียน 20 % จะมีเหตุมาจาก BPPV
และในคนสูงอายุ ประมาณว่า ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการวิงเวียน จะมีสาเหตุจาก BPPV ถึง 50 %

อาการของคนที่เป็น BPPV นอกจากอาการบ้านหมุนแล้ว ยังมีอาการอย่างอื่นด้วย เช่น อาการ มึนหัว รู้สึกจะเป็นลม (lightheadedness) สูญเสียการทรงตัว (imbalance) และมีอาการคลื่นไส้ (nausea)

อาการพวกนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของศีรษะ โดยสัมพันธ์กับแรงโน้มถ่วง ของโลก

สาเหตุที่ทำให้เกิด BPPV:
ในเด็ก พบว่า สาเหตุของการเกิด BPPV มักจะมาจากการได้รับบาดเจ็บของศีรษะ (head injury) ส่วนในคนสูงอายุ สาเหตุเนื่องมาจาก “ความเสื่อมสลาย” จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
สาเหตุอย่างอื่นก็มีได้ เช่น อักเสบด้วยเชื้อไวรัส ของหัวชั้นใน vestibular neuritis และ meniere’s dsease นอกจากนั้น ยังเกิดจากยาที่คนไข้รับประทานด้วย เช่น gentamycin (แต่ น้อยมาก)
ประมาณว่า 50 % ที่มีอาการ BPPV ไม่ทราบสาเหตุ (no known reason)

การรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด มีอยู่สองแนวทางด้วยกัน วิธีแรกคือ ไม่ต้องทำอะไร (wait and see) แนวทางนี้ กระทำด้วยการรับประทานยา ให้เวลา เมื่อเลาผ่านไป มันจะหายไปเอง อีกวิธีหนึ่ง คือการ บริหารร่างกายด้วยวิธการที่มีชื่อว่า Sermont’s และ Apley maneuvers ซึ่งทั้งสองวิธีได้ผลถึง 90 %

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น