วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Gout vs Psueodogout: Pathophsiology (2)

Pathophysiology หมายถึง การศึกษากลไกการเกิดโรคต่าง ๆ โดยใช้พื้นฐานความ ผิดปกติของวิชาสรีรวิทยา....

เริ่มต้น... เป็นภาษาที่ใช้กับนักศึกษาแพทย์ซะแล้ว
ผู้เขียนไม่ต้องการเช่นนั้นเลย

การที่คนไข้เป็นโรคเก๊าท์ และเก๊าท์เทียม มาพบเราด้วย ด้วยอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลัน เป็นผลเนื่องมาจาก ร่างกายตอบสนองต่อการสลายตัวของเม็ดเลือดขาว ซึ่งได้กิน “คริสตอล” ของสาร monosodium urate monohydrate (MSU) หรือ “คริสตอล” ของ calcium pyrophosphate (CPP) ซึ่งลอยตัวอยู่ภายในน้ำไขข้อ...

มีภาวะหลายอย่าง หรือ ยาหลายชนิด มีส่วนสัมพันธุ์กับการทำให้มี คริสตอล ของสาร urate เกิดในน้ำไขข้อ หรือในกระแสเลือดในปริมาณสูงกว่าระดับปกติ

พันธุกรรมก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดโรคเช่นกัน

คริสตอลของ CPP จะถูกสร้างโดยเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง มีชื่อ คือ “nucleoside triphosphate pyrophosphohydrolase (NTPPPH)” เป็นเอ็นไซม์ ทำหน้าที่ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งเราจะพบเอ็นไซม์ตัวนี้ภายในถุง (vesicle) ที่เกิดขึ้นภายใน กระดูกอ่อนของข้อ อักเสบ (osteoarthritic cartilage)

ทางด้านพันธุกรรม มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าวอยู่แล้ว
แต่กระบวนการที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบจากความเสื่อม (osteoarthritis) นี่ซิ...
มีส่วนทำให้เกิดโรค “เก้าเทียม” ได้เช่นเดียวกัน

กล่าวโดยสรุป การเกิดข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ หรือ เก๊าท์เทียมก็ตาม ต่างเป็นผลจากร่างกาย มีการตอบสนองต่อการสลายตัวของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากมันกินสารที่เป็น คริสตอลเข้าไป... .
นอกจากนั้น ยังปรากกว่า มีปัจจัยอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น.. พันธุกรรม ยาบางชนิด รวมไปถึงการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน....ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคเก้าเทียมใน เวลาต่อมาได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น