วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Gout vs Pseudogout: Epidermiolgy (4)

“Epidermiology”

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรค และปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการกระจายของโรคใน คนเรา

จากสถิติของสหรัฐฯ ทุก 1000 คน ที่เดินผ่านหน้าเราไป จะพบคนเป็นโรคเก้า 2.7 คน
ถ้าบังเอิญเขามีประวัติครอบครัวว่า มีคนเป็นโรคเก๊าท์ด้วยแล้ว ลูกหลานมีโอกาสเป็นโรคดัง กล่าวถึง 20 %

สำหรับคนเป็นโรคเก๊าท์เทียม ?
ความถี่ของการเกิดโรค จะผันผวนตามอายุ
จากสถิติ ภายในเวลาหนึ่งปี จะมีการอักเสบจากโรคเก๊าท์เทียมประมาณ 1.3 ต่อคนไข้ จำนวน 1000 คน ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่

คนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบเกิดมีอาการบ่อยในฤดูใบไม่ผลิ และพบน้อยใน ฤดูหนาว..
นั่นมันสถิติของฝรั่งเขา
ซึ่งก็ไม่ใครอธิบายได้ว่า เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ?

เมื่อเรามาพูดเรื่องการเกิดโรค เกี่ยวกับความชุกของโรค แต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน
สำหรับคนอังกฤษ พบคนเป็นโรคเก๊าท์ในผู้ชาย 16.4 คน ในจำนวน 1000 คน ส่วนหญิง พบเพียง 2.9 คนในจำนวน 1000

การอักเสบของไข้ข้อที่เกิดจากสารที่เป็น คริสตอล ทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายได้อย่างรุนแรง (extremely delibitating)

ในกรณีที่ข้อถูกทำลายจากการอักเสบเรื้อรัง มีแนวโน้มที่จะตามด้วยการอักเสบจากเชื้อ แบคทีเรีย (joint infections) ได้

เรื่องอาหารการกิน มีส่วนสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคเก๊าท์ได้

สำหรับเพศ คนเป็นโรคเก๊าท์ จะพบในเพศชายได้มากว่า หญิง ในอัตราส่วน 9 : 1
ส่วนโรคเก๊าท์เทียม จะเป็นในชาย และหญิงในอัตราที่ไม่ต่างกันมากนัก (1.5 : 1)

อายุของคนที่เป็นโรคจะอยู่ระหว่าง 30 – 60 ปี

นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายตัวของโรคทั้งสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น