คนที่มีอาการลำไส้แปรปรวน หรือไวต่อสิ่งเร้า
แต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน บางคนมีอาการมาก แทบออกสังคมไม่ได้
เพราะรับประทาน อาหารทีไร ต้องเข้าส้วมทุกที...จนเป็นเหตุให้เธอปฏิเสธการออกสังคมไป
สัญลักษณ์ที่สำคัญของอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า
คือ ความรู้สึกไม่สบายในท้องนั่นเอง
นอกเหนือจากนี้ ยังมีอาการอย่างอื่น เช่น:
• ปวดท้อง (abdominal cramping) อาการจะหายไปเมื่อได้ถ่ายอุจจาระ
• มีท้องผูกสลับอาการท้องล่วง
• มีลมในกระเพาะ (flatulence)
• การถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป ไม่สม่ำเสมอเหมือนปกติ
• ถ่ายเป็นมูก (passing mucous from rectum)
• อาการปวดแน่นท้อง (distension)
• รู้สึกเหมือนท้องเต็มไปด้วยอาหาร (bloating)
อาการต่อไปนี้ ไม่ใช้อาการของคนที่เป็นลำไส้แปรปรวน (ไวต่อสิ่งเร้า)
หากท่านมีอาการเหล่านี้เมื่อไร
ต้องสงสัยแล้วละว่า....ท่านมีอะไรสักอย่างซ่อนในตัวของท่าน เช่น
• มีเลือดในอุจจาระ และปัสสาวะ
• อาเจียน (อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วม...น้อย)
• ปวดท้อง หรือท้องล่วง โดยที่เกิดขึ้นในตอนกลางคืน
• มีไข้ (fever)
• น้ำหนักลด (weight loss)
ในการวินิจฉัยภาวะลำไส้ไวต่อสิ่งเล้า นับเป็นเรื่องยาก บางที่แพทย์อาจจำเป็นต้อง
ทำการวินิจฉัยด้วยการพิจารณาแยกโรคอื่น ๆ ออกไปทีละอย่าง สองอย่าง (rule-out) จน กระทั้งเหลือตัวสุดท้าย
และในการกระทำดังกล่าว จำเป็นต้อง:
• อาศัยข้อมูลจาก ประวัติของผู้ป่วย (history) การตรวจร่างกาย (physical examination) และเลือกวิธีตรวจที่เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรค (IBS)
• เราไม่มีวิธีการตรวจโดยเฉพาะ (blood tests & x-rays study) สำหรับการวินิจฉัยโรค IBS
• อาจจำเป็นต้องตรวจพิเศษ เช่น การตรวจด้วยกล้อง sigmoidoscopy, colonoscopy, และ Computerized tomography (CT) scan.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น