วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Fracture Hip : การรักษาของแพทย์ (5)

เมื่อญาติของท่านถูกรับไว้เพื่อการรักษา ในโรงพยาบาล
การรักษาที่คนไข้ ญาติของท่านจะได้รับ ส่วนใหญ่แล้ว คนไข้จะได้รับการรักษาต่อไปนี้ เช่น

o การผ่าตัด (surgery)

o การฟื้นฟูสมรรถภาพ (rehabilitation)

o ยา (medication)

อย่างที่ได้กล่าวมาแต่ตอนต้นว่า กระดูกสะโพกแตกหัก ไม่ว่าจะเป็นส่วนใด การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด มียกเว้น กรณีเดียวเท่านั้น คือ คนไข้ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้เพราะโรคประจำตัว ที่มีความสาหัส สากัน
กรณีดั้งกล่าว ทางเลือกที่ปลอดภัย คือการดึงขาไว้ จนกว่ากระดูกจะเชื่อมติดกัน ..ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้มีอันตราย กระโดดเข้าใส่คนไข้...

การผ่าตัดที่แพทย์เขาจะมอบให้แก่คนไข้:

o ผ่าตัด จัดกระดูกให้เข้าที่เดิม แล้วยึดด้วยโลหะ เช่น Metal screws หรือ

o ผ่าตัดใส่สะโพกเทียม ซึ่งอาจเป็นแค่ครึ่งเดียว (Hemi-arthroplasty) หรือในกรณีที่ข้อสะโพกของคนสูงอายุท่านนั้น เสื่อมมาเสื่อมมาก แล้วเกิดการแตกหักทีหลัง กรณีเช่นนี้ แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนสะโพกทั้งเบ้า หรือทั้งหมด เรียกว่า Total hip replacement

ในกรณีที่มีการแตกหักระดับต่ำกว่าคอกระดูกต้นขา (Intertrochanteric fracture)

การผ่าตัดกระดูกหักชนิดนี้ เป็นเรื่องตรงไปตรงมา คือ จัดกระดูกให้เข้าที่แล้วยึดตรึงกระดูกที่แตกหักด้วย metal screws( hip compression screw) และ Plate ซึ่งตรึงกระดูกต้นขาด้วย screws
ที่ทำเช่นนั้น เพื่อให้กระดูกอยู่นิ่งๆ พร้อมให้คนไข้สามารถเคลื่อนไหวได้โดยไว โดยที่กระดูกแตกไม่ขยับเขยื่อนแต่ ประการใด

Rehabilitation

หลังการผ่าตัด สิ่งที่คนไข้จะได้รับ คือ กายภาพบำบัด
o วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้รับผิดชอบ (ทีมงาน) จะช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหว ลุกนั่ง หัดเดินด้วยเครื่องช่วย เช่น ไม้ยันรักแร้ หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน (walker) โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ การเคลื่อนไหวข้อสะโพก ให้เคลื่อนได้เต็มที่- งอ และเหยียด พร้อมกับการเสริมสร้างความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อ

Medication:

หลังการผ่าตัด ยา ที่คนไข้จะได้รับคือ Biphosphonate ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่กระดูก เป็นการลดโอ กาส เกิดการแตกหักเป็นครั้งที่สอง ผลข้างเคียงของยาตัวนี้ คือ คลื่นไส้ ปวดท้อง มีน้ำกระเพาะไหลย้อนกลับ ทำให้เกิดการอักเสบของ oesophagus ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น