วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Gout: Treatment (2)

การรักษาคนไข้โรคเก๊าท์ ที่ผ่านพ้นภาวะของข้ออักเสบแบบเฉียบพลัน

หลังการเกิดการอักเสบเฉียบพลัน บางรายยังมีความเสี่ยงต่อการเกิด ข้ออักเสบขึ้นมาอีก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง หรือคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งคนไข้ประเภทนี้ มักจะ ได้รับยาขับปัสสาวะด้วย...

ในคนไข้พวกนี้ ควรได้รับยาตัวใดตัวหนึ่งต่อไปนี้ด้วยขนาดน้อย (low dose) เพื่อป้องกัน ไม่ให้โรคกำเริบขึ้นมาอีก เช่น

• Colchicine

• NSAIDs

ยาพวกนี้ควรให้ประมาณหนึ่ง ถึงสองเดือนหลังการเกิดอาการ(acute attack)
หรือให้นานกว่านั้น หากมีประวัติว่า โรคกำเริบขึ้นบ่อยครั้ง
แต่ยาที่ให้จะไม่ผลต่อระดับของกรด “ยูริค” ที่มีอยู่ในกระแสเลือด แต่อย่างใด

ยาลดระดับของกรด “ยูริค” ในโรคเรื้อรัง
(Drug for reducing uric level)

เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มผู้ทำการรักษาว่า ต้องลดกรด “ยูริค” ในกระแสเลือดให้ต่ำกว่า 6 mg/dl ด้วยการให้คนไข้รับประทานยาลดกรดยูริค (antihyperuricemic drugs)
โดยมีเป้าหมายสองประการ หนึ่ง: ลดการกำเริบของโรค และ สอง: ละลายคริสตอล ของสาร monosodium urate

คนไข้ที่สมควรได้รับยาติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน (long – term treatment) ได้แก่:

o คนไข้ที่มีประวัติว่า มีการอักเสบของข้อ (gout attack) มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป

o ในรายที่มีอาการรุนแรง และเป็นการอักเสบหลายข้อ

o ผลจากภาพเอกซ์เรย์พบว่า มีการทำลายข้อเกิดขึ้นแล้ว

o รายที่ความผิดปกติในเมทตาบอลิซึม ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่วัยเด็ก (inborn metabolic disorders)


ยาที่นำมาใช้ในการลดกรด “ยูริค”
(Agents used to reduce Uric Acid)

มียาจำนวนหลายขนานที่ใช้ลดกรดยูริค โดยขึ้นกับต้นเหตุว่า กรดยูริคในกระแสเลือดมีระ ดับสูง เพราะ มันถูกสร้างมากไป หรือ ถูกขับออกจากร่างกายน้อยไป

ยาที่ใช้ได้แก่:

o Allopurinol. เป็นยาที่ทำหน้าที่ยับยั้ง (inhibit) ไม่ให้มีการสร้าง กรดยูริค จึงเหมาะที่จะใช้กับคนไข้ที่เป็นโรคไต หรือมีก้อนนิ่วในไต

o Uricosuric drugs.(ยาที่ใช้คือ probenecid และ sulfinpyrazone) เหมาะสำหรับรายที่เป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไตขับออกทางปัสสาวะได้น้อย (under-secretion) ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 80 % จึงไม่ควรใช้ในรายที่เป็นโรคไต หรือรายที่เป็น tophaceous gout

ขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้ยา Anti-hyperuicemia

o การอักเสบจะต้องถูกควบคุมได้แล้ว ข้อไม่มีการอักเสบหลงเหลืออยู่
แพทย์บางท่านนิยมที่จะเริ่มให้ยา หลังจากหนึ่งเดือนผ่านไปแล้ว

o ในขณะที่ให้ยาลดกรดยูริค คนไข้ต้องได้รับยา NSAIDs หรือ Clochicine ในขนาด (dose) น้อย ๆ ร่วมไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด gout attack
ต้องระมัดระวัง อย่าใช่ aspirin ร่วมกับการใช้ยาลดกรดยูริค เพราะ aspirin จะมีผลต่อการใช้ยาลดกรด...
ทำให้ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

การใช้ยาลดกรดยูริค (anti-hyperuricemic drugs) จะใช้เมื่อไหร่ อาศัยพื้นฐานอะไร ไม่เป็นที่ทราบชัด:

บางคนจะไม่ให้เลย จนกว่าจะมีการเกิด gout attack สองครั้งขึ้นไป
บางท่านให้คนไข้เริ่มกินยา ภายหลังเกิด gout attack เพียงครั้งเดียว

มีบ่อยครั้ง การรักษาด้วยการลดกรดยูริค หมายถึงการให้ยาไปตลอดชีวิต

ซึ่งเป็นการยากที่ คนไข้จะปฏิบัติตามได้

Resource:
www.emedicinehealth.com>....>arthritis center>arthritis az list

1 ความคิดเห็น:

  1. This is a good post. This post gives truly quality information. I’m definitely going to look into it. Really very useful tips are provided here. Thank you so much. Keep up the good works. What is Gout

    ตอบลบ