วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Hip Fracture: เมื่อแพทย์ถูกขีดเส้นให้เดิน (1)

“คุณแม่ของผม อายุ 84 ปี หกล้มกระดูกสะโพกส่วนคอ (fracture neck of femur) หัก... ปัญหามีว่า...เราไม่ต้องได้รับเลือดในระหว่างผ่าตัด...เพราะขัด ต่อหลักศาสนา ของเรา ....คุณหมอช่วยจัดการให้ได้ไหม ?”

นี้คือปัญหาที่ผู้เขียนพบ
ถ้าท่านเป็นแพทย์ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการรักษาคนไข้ ท่านจะทำอย่างไร ?

หลักความจริงมีว่า:
เมื่อคนไข้ ประสบอุบัติเหตุ จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม เกิดกระดูกแตกหักขึ้นมา สมมุติเป็นกระดูกสะ โพกแตกหัก มันจะทำให้คนไข้รายนั้น มีอาการเจ็บปวด ไม่สามารถใช้ขาด้านนั้นได้ ไม่สามารถลุก ขึ้นเดินได้เหมือนปกติ
หน้าที่ของผู้ทำการรักษา คือทำให้กระดูกที่แตกหักนั้น หายเหมือนปกติ จะทำให้เขาใช้ชีวิตได้ เหมือนเดิม

ในกรณีของคนไข้วัย 84 ปี หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ลูกเต้า ญาติพี่น้องทุกคน รวมไปถึงแพทย์ พยาบาล ต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้คนไข้รายนี้ หายจากความเจ็บปวด และสามารถเดินเหินได้ เร็วที่สุดที่จะเร็วได้

ในการผ่าตัดใส่สะโพกเทียม มีความเสี่ยงไหม?
...มีความเสียงสูงมาก ๆ
เสียงต่อการดมยาสลบ เสียงต่อการเสียเลือด บางรายร่างกายไม่สามารถทนสภาพบาดเจ็บที่เกิดขึ้น และอื่น ๆ
บางรายไม่สามารถทนต่อสถานการณ์ หัวใจเกิดการหยุดเต้น ไปเฉยๆ ก็ปรากกว่ามีให้พบเห็น

ดังนั้นเพื่อให้การรักษาบรรลุเป้าหมาย ทำให้คนไข้หายจากความเจ็บปวด สามารถดำเนินชีวิตต่อไป อย่างมีคุณภาพเหมือนเดิม
คนไข้รายนี้ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ใส่ข้อสะโพกเทียมอย่างแน่นอน

ก่อนผ่าตัดต้องมีการเตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อความปลอดภัยของคนไข้...คนไข้มีสุขภาพดีพอที่จะรับ การผ่าตัดได้ ตลอดรวมไปถึงการเตรียมเลือดให้พร้อม หากจำเป็นต้องได้รับเลือดในขณะผ่าตัด ไม่มีข้อจำกัดใด เกี่ยวกับสุขภาพของคนไข้ ซึ่งป้องกันไม่ให้คนไข้ผ่าตัดได้ และ....
คนไข้รายที่กล่าวมา ถือว่า มีข้อจำกัดอย่างหนึ่ง ซึ่งป้องกันไม่ให้แพทย์ ...กล้าเสี่ยงต่อการผ่าตัดแก่ คนไข้ได้

คนไข้รายนี้ คงลงเอยด้วยการปล่อยให้คล้อยตามธรรมชาติเท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น