วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Palindromic Rheumatism Vs Rheumatoid arttritis (4)

เมื่อกลับมาสู่ประเด็นที่เป็นความขัดแย้ง ระหว่างโรค “พาลินโดรมิค รูมาติซึ่ม” กับ โรค “รู มาตอยด์”

• มีรายงานว่า เกือบถึง 50 % ของคนไข้ที่เป็นโรค “พาลินโดรมิค...” เมื่อพัฒนาไปแล้วลงเอยด้วยการเป็นโรค “รูมาตอยด์” ในที่สุด

• คนไข้ที่เป็น “พาลินโดรมิค...” ส่วนมากจะพบว่า มี Rheumatoid factor และ anti-CCPมีตุ่ม (subcutaneous nodule) ในคนที่เป็นโรค “พาลินโดรมิค...”ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค “รูมาตอยด์” แม้ว่าผลจากการตรวจดูเซลล์ด้วยกล้องจะต่างกันก็ตามที

• คนที่เป็นโรค “พาลินโดรมิค...” จะตอบสนองต่อการรักษา แบบเดียวกับคนที่เป็นโรค “รูมาตอยด์” เช่น การรักษาด้วย NSAIDs, antimalarial agents, gold injections และ sulfasalazine

• แต่มีข้อแตกต่างนิดหนึ่ง คือ พวกมี่เป็นโรค “รูมาตอยด์” ตอบสนองต่อการรักษาได้ดีกว่า

นั่นเป็นประเด็น ที่ทำให้เราสนับสนุนว่า โรค “พาลินโตรมิค..” และ “รูมาตอยด์” เป็นพวกเดียวกัน

ด้านที่สนับสนุนว่าโรค "พาลินโดรมิค..." เป็นอีกโรคหนึ่งตากหาก

• รูปแบบของการอักเสบ ทั้งสองโรคจะแตกต่างกัน คนไข้ที่เป็นโรค “พาลินโดรคมิค” จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และหายอย่างรวดเร็ว (remission) โดยไม่มีรอยโรคเหลือให้เห็น

• เป็นข้อเดียว หรือน้อยข้อ กระดูก-ข้อไม่ถูกทำลายโดยโรค

• คนที่เป็นโรค “พาลินโดมิค...” ไม่มีอาการร่วมอย่างอื่นนอกจากจากปวดบวมที่ข้อเท่านั้น

• ไม่มีความสัมพันธุ์กับ HLA

• โรค “พาลินโดรมิค” จะพบในชายมากกว่าหญิง ส่วนโรค “รูมาตอยด์” จะพบในหญิงมากกว่าชาย

กล่าวโดยสรุป โรค “พาลินโดรมิค” มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับโรค “รูมาตอยด์” ซึ่ง เป็นโรคเรื้อรัง และทำลายข้อหลาย ๆ ข้อ
ปัจจุบันนี้ เราไม่มีทางทำนายได้เลยว่า โรค “พาลินโดรมิค” จะพัฒนาไปในทางที่เลวลง หรือไม่

โรค”พาลินโดรมิค” เป็นเหตุให้เกิดมี ข้อบวม ปวดข้อ ได้อย่างเฉียบพลัน โดยเฉพาะจะเกิด ขึ้นกับมือ และเท้า มักจะเป็นข้อเดียวเป็นส่วนใหญ่ การเกิดโรค และหายของโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ละครั้งจะกินเวลาเป็นชั่วโมง ถึงหลายวัน

การเกิดโรค “พาลินโดรมิค.” บางคนอาจเกิดหลายครั้งในหนึ่งอาทิตย์ ส่วนคนอื่นๆ อาจกินเวลานานเป็น ปี จึงจะเกิดครั้งหนึ่ง
หลังจากอาการบวม และอาการปวดข้อหายไปแล้ว ไม่พบความผิดปกติใด ที่บริเวณมีอาการแต่ประการใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น