วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Gout vs Pseudogout: อาการ และอาการแสดง (3)

“อาการ และอาการแสดง” ของโรคเก๊าท์ และโรคเก๊าท์เทียม
มีข้อแตกต่างกันไหม ?

คนไข้ที่มาพบเราด้วยข้ออักเสบเพียงข้อเดียว และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
เราไม่สามารถบอกได้ ว่า เขาเป็นโรคเก๊าท์แท้ เก๊าท์เทียม
หรือ เป็นโรคข้ออักเสบติดเชื้อ ?

เพราะทั้งสามโรค จะมาด้วยอาการเหมือนกันทุกประการ

คนไข้ที่มาด้วยการอักเสบที่บริเวณที่บริเวณหัวแม่เท้า (metatarsophalangeal joint) จะชวนให้นึกถึงโรคข้ออักเสบเนื่องมาจากคริสตอล....ชนิดหนึ่ง นั้นคือ โรคเก๊าท์ นั่นเอง

นอกเหนือจากหัวแม่เท้า ข้ออื่นๆ การอักเสบยังเกิดขึ้นกับข้ออื่นๆ ได้ เช่น ข้อเท้า ข้อมือ ข้อ เข่า
สำหรับข้ออักเสบที่เกิดขึ้นกับข้อไหล่ (genohumeral joint)
น่าจะเป็นอักเสบจากโรคเก้าท์เทียมมากกว่า

โรคเก้าท์เทียมมักจะเกิดขึ้นกับข้อเข่า (knee), ข้อมือ (wrist) และข้อไหล่ (shoulder)
เคยมีรายงานว่า คนที่เป็นโรคเก๊าท์เทียม มาด้วยอาการของเส้นประสาทข้อมือถูกกดรัด (carpal tunnel syndrome)

และเคยมีรายงานว่า โรคในเก๊าท์เทียม มีการสะสมของคริสตอล (CPP) ที่บริเวณพังผืด ของกระดุกสันหลัง (ligamentum flavum) แล้วกดประสาทสันหลัง แล้วทำให้เกิด อาการทางประสาทขึ้นหลายระดับ (multiple-level myelopathy)

ข้ออักเสบที่มีสาเหตุจากคริสตอล ส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเพียงข้อเดียว (monarticular)

อย่างไรก็ตาม มันอาจมาด้วยอาการอักเสบอย่างรวดเร็ว แทนที่จะเป็นข้อเดียว แต่เป็นการ อักเสบหลาย ข้อ โดยที่ข้อต่าง ๆ เกิดการอักเสบพร้อมกัน หรือค่อย ๆ เกิดตามกันอย่าง รวดเร็ว

ข้อต่าง ๆ ของแขน-ขาด้านเดียวกันอาจเกิดการอักเสบขึ้นได้ เช่น การอักเสบเกิดขึ้นที่หัวแม่ เท้าก่อน จากนั้น การอักเสบได้คืบหน้าไปเกิดการอักเสบที่กลางเท้า (midfoot) และข้อเท้า (ankle) ตามลำดับ

แม้ว่าเราไม่สามารถแยกโรคเก๊าท์ จากเก๊าท์เทียมทางด้านคลินิก
แต่ก็มีข้อ สังเกต คือ ข้ออักเสบ ที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาเป็นชั่วโมง
ส่วนคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์เทียม การเกิดข้ออักเสบจะเริ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และอาจใช้เวลาหลาย วัน ก่อนที่คนไข้จะมีอาการเต็มที่

สำหรับรายที่มีการอักเสบเกิดขึ้นกับข้อเดิมทุกครั้ง การวินิจฉัยโรคไม่น่ามีปัญหาใด ๆ เพราะ นั่น คืออาการของข้ออักเสบที่เกิดจาก “คริสตอล” แต่ก็ควรระวังเรื่องการอักเสบจากเชื้อ แบคทีเรีย เอาไว้ด้วยทุกครั้ง

ทั้งสามโรค เก๊าท์ เก๊าท์เทียม และข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถมาด้วยอาการไข้, หนาว สั่น และปวดเมื่อยตามตัว (malaise) ได้

จากประวัติจากคนไข้ สามารถแยกโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อได้ เช่น คนไข้มีการเผชิญ กับการติดเชื้อ gonorrhea (เช่น มีเพศสัมพันธุ์กับผู้หญิงโสเภณี) หรือ มีประวัติว่ามีของ แหลมทิ่มตำบริเวณข้ออักเสบ หรือมีอาการแสดงของการอักเสบทั่วไป (systemic signs of disseminated infection)

คนที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ มีระดับไขมันในกระแสเลือดสูง (hyperlipidemia), โรคความดันโลหิตสูง, ระดับ triglyceride ในกระแสเลือดสูง, เป็น โรคไตวาย, โรคอ้วน และเป็นพวกที่ไม่ตอบสนองต่อสาร insulin
และ ปัจจัยทางสังคม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ มีโอกาสเพิ่มอันตรายให้เกิดโรคเก๊าท์ได้สูง

ประการสุดท้าย คนเป็นโรคเก๊าท์เทียม มักจะมีอาการของข้ออักเสบขึ้น เมื่อคนไข้รายนั้น ได รับการรักษาด้วยสาร etidronate disodium และภายหลังการทำการตรวจเส้นเลือดเอกซ์ เรย์ (vascular angiography)

ทั้งคนไข้ที่เป็นโรคเก๊าท์ และโรคเก๊าท์เทียม ส่วนใหญ่จะเป็นข้อเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น