วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Polymyalgia Rheumatica- Diagnosis (4)

โดยหลักการทั่วไป ก่อนให้การรักษาโรคใดๆ แพทย์ต้องรู้เสียก่อนว่า
โรคที่ตนเองกำลังรักษานั้น เป็นโรคอะไร

ในปัจจุบันนี้ เรา “ไม่มีการตรวจเฉพาะ” เพื่อการวินิจฉัยโรค polymyalgia rheumatica
ความจริงมีว่า มีหลายโรคนอกเหนือจาก โรค PMR เมื่อเกิดมีอาการอักเสบขึ้น มันเป็นเหตุให้เกิด อาการ “ปวด” (pain) ในกล้ามเนื้อต่างๆ
เมื่อการตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรค มีข้อจำกัด ไม่มากพอที่จะทำการวินิจฉัยได้
ดังนั้น การวินิจฉัยแบบ การตัดโรคออกจากการพิจารณา (rule-out) จึงเป็นวีธีการหนึ่ง
ที่ทำให้การวินิจฉัยโรคแคบเข้า โดยแยกจากโรคที่ไม่น่าจะใช่ออกไป

• โรครูมาตอยด์ (RA) คนไข้พวกนี้จะพบว่า มีการอักเสบเรื้อรังของข้อเล็กๆ ของมือ มีข้อถูกทำลาย (destructive lesion) พบ rheumatoid nodule และอื่น ๆ (ดูเรื่อง Rheumatoid)
• Fibromyalgia พวกนี้อาการมักจะอยู่เป็นกลุ่มไม่กระจายเหมือนพวก polymyalgia rheumatica และโรคอื่น ๆ

คนเป็นโรค polymyalgia rheumatica การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ จะเคลื่อนในวงจำกัด เคลื่อนได้ลำบาก เพราะเมื่อข้อไหล่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น
มีอาการบวมที่บริเวณข้อมือ และมือ ปรากฏให้แพทย์สามารถตรวจพบได้

การตรวจเลือด ที่มีส่วนสัมพันธ์กับการอักเสบ ได้แก่

• Erythrocyte Sedimentation rate (ESR) เป็นการตรวจการตกของเม็ดเลือดแดง ว่ามันตกลงเร็วแค่ใด ถ้าเม็ดเลือดตกลงมากองที่ก้นหลอดแก้วได้เร็ว มักบ่งบอกให้ทราบว่า ร่างกายคนนั้น มีการอักเสบ (ทุกชนิด) เกิดขึ้น
ดังนั้น การตรวจหากค่า ESR จึงไม่ใช้ค่าเฉพาะเพื่อการวินิจฉัยโรค PMR

• C-reactive protein (CRP):

เป็นที่ทราบกันว่า protein ตัวนี้ถูกสร้างขึ้นที่ตับ (liver) โดย ตับจะสร้างตัวนี้ขึ้น เพื่อ เป็นการตอบสนองต่อการที่ร่างกายเกิดการอักเสบ (infection) , ร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ (injury) หรือร่างกายเกิดโรค polymyalgia rheumatica
ดังนั้น การตรวจหาค่า CSR ก็ไม่ใช้การตรวจเฉพาะสำหรับโรค PMR เช่นกัน

• คนไข้ที่เป็น polymyalgia rheumatica บางครั้ง มักจะเกิดร่วมกับการอักเสบของเส้นเลือดที่บริเวณขมับ temporal arteritis
และเพื่อการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว จำเป็นต้องทำการตัดเอาชิ้นเนื้อของเส้นเลือดที่อักเสบ มาตรวจ (biopsy) เพื่อยืนยันคำวินิจฉัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น