วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

:Gout vs Pseudogout: Backgroud (1)

มีโรคไข้ข้ออักเสบอยู่สองชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้
โรค “เก๊าท์” (เก๊าท์แท้) และ “เก๊าท์เทียม”
ทั้งสองชนิด เป็นข้ออักเสบ โดยมีสาเหตุมาจาก crystal รวมตัวกันขึ้นภายในข้อที่เกิดการ การอักเสบขึ้น

โรคเก๊าท์ที่เรารู้กัน เกิดจากการมีสารเป็นคริสตอลของ Monosodium urated (MSU) เป็นตัวทำให้เกิดการข้ออักเสบขึ้น...นั่นคือคนที่เป็นเก๊าท์

ส่วนโรคเก๊าท์เทียม (Pseudogout) เป็นการอักเสบของข้อที่เกิดจากคริสตอล ซึ่งเป็น Pyrophosphate บางทีเราเรียกว่า Pyrophosphate crystal disease (CPPD)

ข้ออักเสบที่มีต้นเหตุมากจากสารที่เป็นคริสตอล เป็นข้ออักเสบที่เราพบบ่อย

โดยในราวปี ค.ศ. 1600s นาย Lowenhook เป็นคนแรกที่ได้บอกกล่าวถึงอาการของ คนไข้ที่เป็นโรคชนิดนี้ไว้
ต่อมา ในปี 1848 นาย Alfred Garrod มีศักดิ์ เป็น Sir เขาได้เชื่อมโยงโรคเก๊าท์กับ ภาวะของระดับกรด uric ในกระแสเลือดสูงที่มีความเข็มข้นสูงเอาไว้

จนกระทั้ง ในปี 1962 จึงได้รายงานว่า โรคดังกล่าว มีส่วนสัมพันธุ์กับพันธุกรรม รวมถึงความผิดปกติทาง “เมทตาบอลิซึม” ต่างๆ ด้วย

ปฏิกิริยาอักเสบที่เกิดจากโรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเป็นสองระยะด้วยกัน
ระยะแรก (First stage) มีการกระตุ้นให้มีการสร้าง Interleukin 1B แล้วตามด้วย กระบวนการเกิดการอักเสบหลายอย่าง ซึ่งเป็นระยะที่สอง โดยมี cytokines, kemokines, monocyte kemotactic proteins, และ inflammatory mediators (ตัวเป็นสื่อกลางที่ทำให้เกิดการอักเสบ)

ส่วนเก๊าท์เทียม (Pseudogout) ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งซึ่งเกิดจากการมี “ คริสตอล” เป็นเหตุทำ ให้เกิดการอักเสบเช่นกัน
โดยที่อาการของโรค ปรากฏว่า ไม่สามารถแยกจากโรคเก้าได้

ต่อมาในปี 1962 เราจึงได้รู้ว่า....มันเป็นอีกโรคหนึ่ง ต่างหาก โดยตั้งชื่อว่า เก๊าท์เทียม หรือ Psudogout


การรักษาโรคเก๊าท์เทียม ในระยะที่เกิดโรคอย่างฉับพลันนั้น การรักษาจะเหมือนกับการรักษา โรคเก๊าท์ทุกประการ
ที่แตกต่างจากโรคเก๊าท์ คือ เราไม่มีวิธีการเฉพาะในการรักษา และ ไม่มีวิธีการป้องกันไม่ให้ มันเกิดมีอาการ (attack) เหมือนกับพวกโรคเก๊าท์เลย
ป้องกันไม่ได้

นั่นคือความรู้พื้นฐาน ที่เป็นเบื้องหลังของการเป็นโรคเก๊าท์ และเก๊าท์เทียม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น