วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Giant cell arteritis: Symptoms & Signs (2)

Giant cell arteritis โดยความเป็นจริงแล้ว มักจะเกิดขึ้นกับคนที่สูงอายุตั้งแต่ 55 ขึ้นไป
นอกเหนือไปจากนี้ พบว่า ประมาณ 40 – 60 % ของคนที่เป็นโรคนี้ จะมีภาวะที่เรา เรียกว่า Polymyalgia rheumatica
เราไม่ทราบได้ว่า อะไรทำให้เกิดโรคนี้ได้...

อาการของาคนไข้ ที่เป็นการอักเสบของเส้นเลือดชนิดนี้ มีได้หลายรูปแบบ:

• ที่เห็นเด่นชัดที่สุด เห็นจะเป็นเส้นเลือดเส้นใหญ่ ที่บริเวณศีรษะเกิดการอักเสบขึ้น แล้วทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางที เกิดมีอาการปวดแบบ “ตุบ ๆ” ที่บริเวณขมับ หรือบริเวณท้ายทอย

• เส้นเลือดบริเวณขมับ เมื่อมันเกิดการอักเสบ เวลาสัมผัสถูกจะรู้สึกเจ็บ จะมีอาการบวม ไม่เรียบปรากฏให้คลำได้

• รู้สึกเจ็บบริเวณหนังศีรษะ เมื่อมีการหวีผม

• มีอาการผิดปกติทางสายตา ทำให้เกิดมีอาการตามัว บางทีเห็นภาพซ้อนเกิดขึ้น
อันตรายที่น่ากลัวที่สุด คือ เมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอภาพเกิดการอุดตันขึ้น จะทำให้เกิดตา บอดชนิดถาวร
หากคนไขไม่ได้รับการรักษา คนไข้มีโอกาสตาบอดได้ถึง 20 %

• คนไข้มีอาการปวดเมื่อยที่บริเวณกราม และรู้สึกเหนื่อยเร็วเมื่อเคี้ยวอาหาร
มีอาการปวดที่บริเวณลิ้นเวลารับประทานอาหาร หรือเวลาพูดจา

• อาจทำให้คนไข้รู้สึกเหนื่อยเพลีย น้ำหนักตัวอาจลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ และ

• มีเหงื่อออกมากผิดปกติบางครั้ง เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เกิดการอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือด เกิดอาการสมองขาดเลือดได้ (stroke)

• หากเส้นเลือด aorta เกิดการอักเสบ อาจทำให้ผนังของเส้นเลือดถูกทำลาย และทำให้ผนังของเส้นเลือดเกิดการโปร่งพอง (Aneursysm) ขึ้น

• หากบังเอิญคนไข้รายนั้น มี Polymyalgia rheumatic เกิดร่วมด้วย มันก็จะทำให้คนไข้รายนั้น ๆ มีอาการปวดที่บริเวณ คอ ไหล่ และสะโพกทั้งสอง โดยทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวติดขัด ข้อเหยียด-งอ ได้ด้วยความลำบาก (stiffness) โดยเฉพาะมักจะปรากฏในตอนเช้าของวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น